ประวัติ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส บน Doodle Google วันนี้

นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส


มาอีกแล้วสำหรับ  doogle วันสำคัญต่างๆของปี วันนี้ 19 กุมภาพันธ์ ตรงกับวันเกิดของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส เขามีความสำคัญอย่างไร ทำไม Google จึงให้เกรียติ ขึ้นเป็น Doodle ครบรอบ  540 ปีของนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส มารู้จักเขากันดีกว่า

นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส Doodle by Google
นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส Doodle by Google

นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (ละติน: Nicolaus Copernicus Torinensis; โปแลนด์: Mikołaj Kopernik) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ (บางท่านบอกว่าเป็นชาวปรัสเซีย) เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 เสียชีวิต 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543 โคเปอร์นิคัสเป็นนักดาราศาสตร์ที่เปลี่ยนโฉมความรู้ของมวลมนุษย์ ด้วยการเสนอทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งขัดกับทฤษฎีโลกเป็นศูนย์กลางของอริสโตเติลและทอเลมี โดยนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ถือว่าการเสนอทฤษฎีนี้ เป็นการปฏิวัติทางความรู้ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ เทียบเท่ากับการเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของชาลส์ ดาร์วิน

วันเกิดปีที่ 540 ของนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส

การปฏิวัติทางดาราศาสตร์ของโคเปอร์นิคัส

ในเวลานั้นโคเปอร์นิคัสได้เสนอให้ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาลแทนโลกในแนวความคิดเดิม โดยให้ดาวเคราะห์ต่างๆ เช่น โลก ดาวศุกร์ หรือ ดาวพุธ โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม (ในเวลาต่อมาโยฮันเนส เคปเลอร์ได้เสนอว่าควรเป็นวงรีดั่งโมเดลในปัจจุบัน) ถึงแม้ว่าความแม่นยำในการทำนายด้วยทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสนั้นไม่ได้ดีกว่าทฤษฎี เก่าของอริสโตเติลและทอเลมีเลย (ไม่ได้ให้ผลการทำนายตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ แม่นยำกว่าทฤษฎีเก่า) แต่ว่าทฤษฎีนี้ ถูกใจนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังในยุคนั้นหลายคน เช่น เดส์การตส์ กาลิเลโอ และเคปเลอร์ เนื่องจากว่าทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสนั้นเข้าใจง่ายและซับซ้อนน้อยกว่ามาก โดยกาลิเลโอกล่าวว่าเขาเชื่อว่ากฎต่างๆ ในธรรมชาติน่าจะเป็นอะไรที่สวยงามและเรียบง่าย ทฤษฎีโลกเป็นศูนย์กลางดูซับซ้อนมากเกินไปจนไม่น่าเป็นไปได้ (ดูทฤษฎีความอลวนเพิ่มเติม) แนวคิดของกาลิเลโอนี้ ตรงกับหลักการของออคแคม (Ockham’s/Occam’s razor) ในปรัชญาวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยด้านการเรียนรู้ของเครื่องในปัจจุบัน

เกียรติยศ

โคเปอร์นิคัสได้รับเกียรติจากประเทศโปแลนด์ ให้เป็นชื่อมหาวิทยาลัยในเมืองทอรูน ตั้งในปี ค.ศ. 1945 ได้รับการตั้งชื่อ ชื่อของเขาเป็นชื่อธาตุตัวที่ 112 ที่ IUPAC ได้ประกาศไป

ประวัติโดย
http://th.wikipedia.org

 

About modify 4842 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.