มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เตือน ซิมการ์ดแจกฟรี อาจเป็นหนี้ค่าบริการโดยไม่รู้ตัว

thumbnail default

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค


ซิมมือถือเดียวนี้ก็หลายรูปแบบการหักตังจากลูกค้า มีหลายคนบ่นมาแล้วว่าเจอโดนพวกซิมฟรีหลอก เสียค่าบริการทั้งๆที่ยังไม่ได้แกะซิมออกมาใช้งาน หลายท่านโดนเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไม่ได้อ่านข้อตกลงหรือสัญญาให้ดีก่อนว่าซิมเป็นแบบประเภทไหน รายเดือนหรือเติมเงิน อาจมีการให้เอกสาร เซ้นอะไรไป ต้องระหวังให้มากก่อนจะรับซิมฟรีนั้นๆมา เรามาดูกันว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เตือนอะไรเรา

เตือนซิมฟรี
โดยรายละเอียดมีดังต่อไปนี้

รู้ไว้ก่อนรับซิมฟรี

          1.สอบถามรายละเอียดของซิมให้เข้าใจ เช่น โครงข่ายสัญญาณอะไร ครอบคลุมพื้นที่ใช้บริการของท่านหรือไม่ เป็นซิมรายเดือนหรือเติมเงิน และมีโปรโมชั่นแบบไหน
2. หากคุณตัดสินใจรับซิม ก็อย่าให้เอกสารสำคัญกับใคร จนกว่าจะได้อ่านสัญญาครบถ้วน เพราะหากส่งสำเนาบัตรประชาชนให้กับผู้หนึ่งผู้ใดไปแล้ว เขาอาจจะกรอกข้อมูลและอาจจะเซ็นชื่อแทนเราได้ทันที
3. ต้องอ่านเอกสาร และทำความเข้าใจให้ชัดแจ้งจนหมดความเคลือบแคลงสงสัย ก่อนลงมือเซ็นชื่อในเอกสารนั้น
4. หลังจากเซ็นสัญญาแล้วต้องเก็บสำเนาเอกสารสัญญา และเก็บข้อมูลที่อยู่ของผู้ประกอบการเป็นหลักฐานว่าได้รับซิมจากใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ รูปแบบการให้บริการเป็นอย่างไร
5. เก็บใบเสร็จ ใบแจ้งหนี้ ใบปลิวโฆษณา แผ่นพับช่วงที่รับซิมฟรีนั้นไว้ด้วย เพราะเป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานที่สามารถใช้สืบพยานได้ หากต้องมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย

วิธีแก้ปัญหาซิมฟรีแถมค่าบริการ

          1. ทำหนังสือบอกเลิกสัญญา และปฏิเสธการจ่ายเงินตามใบแจ้งหนี้ โดยส่งหนังสือถึงกรรมการผู้จัดการของบริษัทเจ้าของซิม เพื่อขอให้ยุติการเรียกเก็บค่าบริการ พร้อมระบุเหตุผล เช่น ยังไม่ได้ใช้ซิม แต่กลับมีใบแจ้งหนี้มา หรือการให้บริการผิดไปจากเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้
2. ส่งจดหมายแบบลงทะเบียนตอบรับไปยังบริษัทของซิมฟรีที่เราไปรับมา
3. แจ้งยกเลิกบริการที่ศูนย์บริการของซิมฟรีนั้น หรือส่งอีเมลไปยังศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของซิมนั้น เช่น ซิมของทรู [email protected] ซิมของดีแทค [email protected]  ซิมของเอไอเอส [email protected]
4. ร้องเรียนไปที่ 1200 สายด่วน กสทช. หรือร้องเรียนไปที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค [email protected]

จะใช้ของฟรีก็ควรดูให้ดีๆนะจ๊ะ จำเอาไว้ว่า “ของดูถูกมักไม่ดี ของฟรีไม่มีในโลก”

ด้วยความหวังดีจาก
http://www.consumerthai.org
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

About modify 4842 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.