PromptPay (พร้อมเพย์) คืออะไร

PromptPay (พร้อมเพย์)


ช่วงนี้หลายคนคงได้ยินคำว่า “พร้อมเพย์” ในบ้านเราหนาหูพอสมควร หลายคนสงสัยว่าบริการ PromptPay (พร้อมเพย์) คืออะไร และจำเป็นอย่างไร มันดีอย่างไร ใช้งานอย่างไร แน่นอนว่าคำถามหลายสิ่งคงเกิดขึ้นมากมายสำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับบริการ PromptPay (พร้อมเพย์) กันครับ

เป็นที่ทราบกันว่าบริการ PromptPay (พร้อมเพย์) จะเป็นรูปแบบการเงินรูปแบบใหม่ของประเทศไทย โดนความโดดเด่นของมันที่สือต่างโฆษณากันว่า สามารถโอนเงิน โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีเลขบัญชีธนาคาร ใช้เพียงแค่เบอร์โทรศัพท์มือถือ หรือหมายเลขบัตรประชาชนเท่านั้น

PromptPay (พร้อมเพย์)

PromptPay (พร้อมเพย์) คืออะไร

อย่างที่บอกไปแล้วว่า PromptPay (พร้อมเพย์) คือความสะดวกที่หลายคนต้องการ ที่สามารถโอนเงินได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องยุ่งยาก ใช้เพียงแค่เบอร์โทรศัพท์มือถือ หรือหมายเลขบัตรประชาชนเท่านั้น  ความร่วมมือนี้เกิดจากธนาคารเอกชน 15 แห่ง และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ 4 แห่ง ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อว่า Any ID

นอกจากนั้นรูปแบบการโอนเงินยังสามารถโอนผ่านช่องทางอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องไปธนาคารอาทิเช่น ผ่านโทรศัพท์มือถือ ตู้เอทีเอ็ม หรือผ่านอินเทอร์เน็ต

ข้อดีอีกหนึ่งข้อของ PromptPay คือเสียคาธรรมเนียม น้อยมาก ซึ่งหากโอนเงินไม่เกิน 5,000 บาท จะไม่เสียค่าธรรมเนียม โดยแบงออกเป็นค่าบริการดังต่อไปนี้

  • โอนเงินไม่เกิน 5,000 บาท ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียบ
  • โอนเงินมากกว่า 5,000-30,000 บาท ค่าธรรมเนียมรายการละไม่เกิน 2 บาท
  • โอนเงินมากกว่า 30,000-100,000 บาท ค่าธรรมเนียมรายการละไม่เกิน 5 บาท
  • โอนเงินมากกว่า 100,000-วงเงินสูงสุดตามแต่ละธนาคารกำหนด ค่าธรรมเนียมรายการละไม่เกิน 10 บาท

จะใช้ PromptPay ต้องทำอย่างไร

PromptPay (พร้อมเพย์)

PromptPay จะเปิดให้ลงทะเบียนเริ่มต้นวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 แต่ถ้าธนาคารไหนพร้อมก็ให้เปิดลงทะเบียนได้ (1 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป) โดยผู้ที่จะลงทะเบียนต้องไปลงทะเบียน เพื่อผูกบัญชีไว้กับเบอร์โทรศัพท์และหมายเลขบัตรประชาชน และทำการผูกไว้กับบัญชีธนาคารที่เราต้องการ โดยการผูกกับบัญชีสามารถเลือกได้ 1 บัญชีเท่านั้น แต่เราสามารถใส่หมายเลขโทรศัพท์ที่ผูกกับบัญชีนั้นๆได้ 3 หมายเลขด้วยกัน

PromptPay ให้บริการเมื่อไหร่

คาดว่าบริการ PromptPay จะเปิดให้บริการประมาณเดือนตุลาคม แต่ทั้งนี้ก็ต้องรอดูความคืบหน้าต่างๆเกียวกับบริการนี้อีกหน่อย เพราะดูเหมือนว่าบริการนี้ยังติดๆขัดๆอยู่บ้างจากที่ตามๆข่าวมา

รายละเอียดเพิ่มเติมจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่31/2559
เรื่องบริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่“พร้อมเพย์–PromptPay”

นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงข่าวบริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่“พร้อมเพย์–PromptPay”ซึ่งเป็นบริการที่ภาคธนาคารร่วมมือกันพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุน
โครงการระบบการช าระเงินแบบAny IDภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการช าระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติของรัฐบาล
พร้อมเพย์เป็นบริการที่จะช่วยให้ประชาชนและภาคธุรกิจสามารถโอนเงินได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้นโดยใช้หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่และ/หรือ
เลขประจ าตัวประชาชนแทนการระบุเลขที่บัญชีเงินฝากของผู้รับเงินทั้งนี้ในระยะแรกจะเปิดให้บริการโอนเงินระหว่างบุคคลทั่วไปก่อนและสำหรับนิติบุคคลจะเปิดให้บริการในช่วงต่อไปและในอนาคตหน่วยงานภาครัฐจะสามารถโอนเงินสวัสดิการ เงินช่วยเหลือ และเงินคืนภาษีให้กับประชาชนผ่านบริการพร้อมเพย์ด้วย
หากสนใจใช้บริการพร้อมเพย์ ผู้ใช้บริการต้องลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีเงินฝากธนาคาร กับหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่และ/หรือเลขประจำตัวประชาชนที่ต้องการโดยเลือกบัญชีเงินฝากธนาคารที่ต้องการใช้เป็นบัญชีในการรับเงินและแจ้งลงทะเบียนกับธนาคารผ่านช่องทางที่ธนาคารแต่ละแห่งเตรียมไว้ให้บริการ เช่น
เอทีเอ็ม,Internet Banking,Mobile Bankingหรือที่สาขาธนาคารและจัดเตรียมเอกสารประกอบการลงทะเบียนตามที่ธนาคารกำหนดเช่นสมุดบัญชีหรือเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคารบัตรประจ าตัวประชาชน โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต้องการลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือเลขประจ าตัวประชาชนหนึ่งหมายเลขจะสามารถใช้ผูกหรือจับคู่กับบัญชีเงินฝากปลายทางได้หนึ่งบัญชีและประชาชนสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการผูกบัญชีได้ตลอดเวลา โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่ธนาคารแต่ละแห่งกำหนดทั้งนี้ธปท. ยึดหลักในการให้บริการของธนาคารโดยค านึงถึงสิทธิของประชาชนที่จะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน สามารถเปลี่ยนแปลงยกเลิกการผูกบัญชีได้ง่าย และสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างอิสระระบบกลางของบริการพร้อมเพย์จะพร้อมให้บริการลงทะเบียนส าหรับทุกธนาคารได้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี ธนาคารที่มีความพร้อมสามารถเปิดให้ลงทะเบียนก่อนก าหนดได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559
บริการพร้อมเพย์ถือเป็นก้าวส าคัญในการพัฒนาบริการชำระเงินของประเทศซึ่งจะช่วยลดการใช้เงินสดเพิ่มความรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถตรวจสอบรายการย้อนหลังได้และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยนมาใช้e-Paymentในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนของระบบการชำระเงินโดยรวมและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศธนาคารแห่งประเทศไทย 15 มิถุนายน255

นี้เป็นข้อมูลที่ผมพยามหามาให้อ่านกัน อย่างไร หากมีรายละเอียดเพิ่มเติมกว่านี้จะนำมาบอกกันนะครับ

ที่มา – ศคง. 1213, ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

About modify 4842 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

1 Comment

ส่งความเห็นที่ นิรนาม ยกเลิกการตอบ

Your email address will not be published.