[PR] มูลนิธิอาเซียน ประกาศความร่วมมือกับ เอสเอพี มุ่งสร้างผลกระทบด้านบวกต่อสังคม เพื่อประชาคมอาเซียน

เอสเอพี (NYSE: SAP) ผู้นำในด้านซอฟแวร์ระบบการจัดการองค์กร


มูลนิธิอาเซียน ประกาศความร่วมมือกับ เอสเอพี มุ่งสร้างผลกระทบด้านบวกต่อสังคม เพื่อประชาคมอาเซียน

 (จากซ้ายไปขวา) ฯพณฯ ท่าน ดร. เอ.เค.พี ม็อคแทน รองเลขาธิการ ASEAN for Community & Corporate Affairs, เอเลน ทัน ผู้อำนวยการมูลนิธิอาเซียน, สก๊อต รัสเซล ประธานและกรรมการผู้จัดการของเอสเอพี เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และยูจีน โฮ ผู้อำนวยการฝ่าย Corporate Affairs ของเอสเอพี เอเซียตะวันออกเฉียงใต้

  • การร่วมมือดังกล่าว มุ่งให้ความสำคัญด้านการศึกษา การมีจิตอาสา และสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
  • การร่วมมือดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันให้เยาวชนอาเซียนตระหนักถึงความสามารถของตนเอง ด้วยทักษะที่จำเป็นต่อการเติบโตในยุคเศรษฐกิจดิจิตอล
  • การร่วมมือดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองการครบรอบ 50 ปี ของประชาคมอาเซียน

จาการ์ต้า, อินโดนีเซีย 15 พฤษภาคม 2560  เมื่อเร็วๆนี้ มูลนิธิอาเซียน และ เอสเอพี เอสอี (NYSE: SAP) ได้ประกาศความร่วมมือเพื่อสร้างผลกระทบทางบวกต่อสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการร่วมมือดังกล่าวจะมุ่งให้ความสำคัญกับภาคการศึกษา การมีจิตอาสา และสร้างความเป็นผู้ประกอบการ ทั้งยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความสนับสนุนแก่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) ในการสร้างชุมชนระดับภูมิภาคที่มีความเหนียวแน่น และมีผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจร่วมกัน โดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านการวางกลยุทธ์และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ของเยาวชนและผู้ประกอบการเพื่อสังคม

บันทึกความเข้าใจระหว่างทั้งสององค์กร ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านการรับผิดชอบต่อสังคมของเอสเอพี ในการเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนในด้านทักษะที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม และเจริญเติบโตในระบบเศรษฐกิจดิจิตอล ผ่านการสร้างขีดความสามารถของกิจการเพื่อสังคมอย่างมีนวัตกรรม ที่ช่วยพาเยาวชนเข้าสู่เส้นทางความสำเร็จด้านอาชีพ พร้อมทั้งสร้างแรงงานภาคไอทีที่มีทักษะผ่านการฝึกอบรมและเข้าโครงการพัฒนาบุคลากรต่างๆ           สำหรับโครงการริเริ่มหลักๆที่จะเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว จะมุ่งให้ความสำคัญในการผลักดันการเพิ่มความรู้ด้านดิจิตอล เพื่อสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนของชุมชนที่จะได้ประโยชน์โดยตรงจากโครงการเหล่านี้

เอเลน ทัน ผู้อำนวยการมูลนิธิอาเซียน กล่าวว่า “ชุมชนอาเซียนที่ยั่งยืนอยู่ในมือของเยาวชนอาเซียน ดิฉันเชื่อว่า การร่วมมือกับเอสเอพีในครั้งนี้ จะเพิ่มการมีส่วนร่วมของเยาวชนอาเซียนต่อกิจกรรมต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ถือเป็นการมอบโอกาสให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมในชุมชนอาเซียนมากยิ่งขึ้น”

การผลักดันให้เยาวชนตระหนักถึงความสามารถของตนเองนั้น ถือเป็นประเด็นสำคัญของประชาคมอาเซียน นับตั้งแต่การประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือด้านเยาวชน “Declaration of Principles to Strengthen ASEAN Collaboration on Youth” ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2526 “ สามโครงการเริ่มต้น ที่อยู่ภายใต้การร่วมมือระหว่างมูลนิธิอาเซียน และเอสเอพีนั้น ล้วนให้ความสำคัญต่อ 5 ประเด็นหลักของแผน ASEAN Work Plan on Youth 2016-2020 ได้แก่ การเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ การจ้างงานเยาวชน การตระหนักรู้ของเยาวชน การมีจิตอาสาและการเป็นผู้นำของเยาวชน ตลอดจนพลังของเยาวชน” เอเลน ทัน กล่าวเสริม

สก๊อต รัสเซล ประธานและกรรมการผู้จัดการของเอสเอพี เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ประชาคมอาเซียน ไม่ได้เป็นเพียงแค่ชุมชนเศรษฐกิจอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นเครือข่ายทางสังคมอีกด้วย จากการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีแห่งความสามัคคีที่แข็งแกร่งและความสำเร็จที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ของประคมอาเซียน เราตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งสำหรับโอกาสมากมายที่จะเกิดขึ้นสู่การเป็นภูมิภาคแห่งการเติบโตในอนาคต ด้วยสัดส่วนประชากรเกือบครึ่งของภูมิภาค จะเป็นกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ภายในปี พ.ศ. 2563 นั่นหมายถึงบุคลากรที่มีความสามารถจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เราสามารถลงทุนในด้านบุคลากรได้มากขึ้น เพื่อการทำงานที่ดีขึ้นในอนาคต จากการร่วมมือกับมูลนิธิอาเซียนในครั้งนี้ เรามุ่งมั่นในการช่วยเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนในยุคเศรษฐกิจดิจิตอล และสนับสนุนประชาคมอาเซียนให้สามารถผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืนสำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4”

“วิสัยทัศน์ของเอสเอพีคือการช่วยให้โลกนี้ดำเนินไปได้อย่างดีขึ้น และช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น นี่คือจุดประสงค์อันยั่งยืนของเรา ในการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่สูงขึ้นนี้ เราได้มีการลงทุนในโครงการด้านการรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนในด้านทักษะต่างๆที่พวกเขาจำเป็นต้องมีเพื่อการช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขชึ้นในสังคม และเจริญเติบโตในระบบเศรษฐกิจดิจิตอล ผมเชื่อว่า การร่วมมือกันในครั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถขยายขอบเขตการรับผิดชอบสังคมไปได้กว้างขวางยิ่งขึ้น และสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อประชาชนในภูมิภาคนี้ได้มากขึ้นด้วย” สก๊อต รัสเซล กล่าวเสริม

ภายใต้การร่วมมือในครั้งนี้ มูลนิธิอาเซียน และเอสเอพี จะเปิดตัว 3 โครงการแรกในปี พ.ศ. 2560 เพื่อเน้นย้ำความสำคัญต่อปัญหาด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ผ่าน 3 ภาคสำคัญคือ ภาคการศึกษา การมีจิตอาสา และความเป็นผู้ประกอบการ

การศึกษา

เริ่มต้นด้วยโครงการ “ASEAN Data Science Explorers” (ASEAN DSE) การแข่งขันด้าน data analytics ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มความตระหนักและเห็นคุณค่าของประชาคมอาเซียน ในหมู่เยาวชนอาเซียนกันเอง โดยการแข่งขันดังกล่าว มุ่งเจาะกลุ่มไปที่นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ ผ่านการใช้ SAP BusinessObjects Cloud เป็นเครื่องมือหลัก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นปัญหาหลักที่กำลังเกิดขึ้นในประชาคมอาเซียน ซึ่งล้วนอยู่ภายใต้ 6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (United Nation Sustainable Development Goals) ได้แก่ (1) การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (2) การศึกษาที่เท่าเทียม (3) ความเท่าเทียมทางเพศ (4) การจัดการน้ำและสุขาภิบาล (5) การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ (6) เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การแข่งขันดังกล่าว จะถูกจัดขึ้นในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ และรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค จะจัดขึ้นที่เมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤศจิกายน 2560

การมีจิตอาสา

โครงการอาสาสมัครสหประชาชาติ (UNV), Federal Ministry for Economic Cooperation and Development of Germany, สำนักเลขาธิการอาเซียน, มูลนิธิอาเซียน และเอสเอพี และพาร์ทเนอร์อื่นๆ ได้ร่วมมือกันเปิดตัวโครงการ Youth Volunteering Innovation Challenge (YVIC) สำหรับประชาคมอาเซียน ภายใต้แนวคิด “Impact ASEAN” คือโครงการริเริ่ม ที่ช่วยสนับสนุนอาสาสมัครเยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อกระตุ้นพวกเขาสู่เส้นทางการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะสร้างผลกระทบต่อสังคมและก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต YVIC จะทำหน้าที่มอบความรู้ด้านการประกอบการและทักษะอันจำเป็นผ่านการทำเวิร์คช็อปต่างๆ ซึ่งผู้ชนะจากกิจกรรมเวิร์คช็อปในแต่ละประเทศจะได้รับเงินทุนสนับสนุนเพื่อต่อยอดไอเดียริเริ่มของตน พร้อมทั้งได้เข้าร่วมกิจกรรมระดับภูมภิภาคที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ในลำดับต่อไป นอกจากนี้ บุคลากรจากเอสเอพี จะพร้อมให้การสนับสนุนและคำแนะนำตลอดโครงการ

ความเป็นผู้ประกอบการ

ด้วยประสบการณ์ และประสิทธิภาพการทำงานระดับสูง บุคลากรจากเอสเอพี พร้อมเป็นสื่อกลางในการสนับสนุนด้านการสร้างผลกระทบต่อสังคม ผ่านการให้คำชี้แนะ และให้คำปรึกษาแบบไร้ค่าใช้จ่าย โดยโครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างพาร์ทเนอร์หลายราย ซึ่งจะส่งผลประโยชน์ต่อองค์กรเพื่อสังคมเกือบ 20 องค์กรในประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2560

 (จากซ้ายไปขวา) มาห์มูดี ยุสบี ผู้จัดการโครงการ MME ของมูลนิธิอาเซียน, ฯพณฯ ท่าน ดร. เอ.เค.พี ม็อคแทน รองเลขาธิการ ASEAN for Community & Corporate Affairs, เอเลน ทัน ผู้อำนวยการมูลนิธิอาเซียน, สก๊อต รัสเซล ประธานและกรรมการผู้จัดการของเอสเอพี เอเซียตะวันออกเฉียงใต้, ยูจีน โฮ ผู้อำนวยการฝ่าย Corporate Affairs ของเอสเอพี เอเซียตะวันออกเฉียงใต้, เอเลน เหลียว รองประธานกรรมการ ฝ่าย Channels, Alliances and General Business ของเอสเอพี เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และ เมกาวาตี คีห์ รองประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ ของเอสเอพี อินโดนีเซีย

 

###

About modify 4842 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.