ประวัติ Dtac โครงสร้างองค์กร ดีแทค

ประวัติความเป็นมาของ ดีแทค


ริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Total Access Communication Public Company Limited; ชื่อย่อ: TAC) หรือในชื่อการค้าว่า ดีแทค (dtac) เป็นผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย เดิมเป็นบริษัทในเครือยูคอมปัจจุบันถือหุ้นใหญ่โดย บีซีทีเอ็น โฮลดิง

ปัจจุบัน เมื่ออิงตามยอดผู้ใช้งาน ดีแทคเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อันดับที่ 3 ของประเทศ รองจากทรูมูฟ เอช[2][3] โดยให้บริการในช่วงความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (เดิมคือการสื่อสารแห่งประเทศไทย) ภายใต้ระยะเวลา 27 ปีตามสัญญาสัมปทาน พร้อมทั้งให้บริการ 3 จี ในช่วงความถี่ 850 เมกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีบริการ 3 จี ในช่วงความถี่ 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ (2.1 กิกะเฮิร์ตซ์) ซึ่ง กสทช.ออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ให้แก่บริษัท ดีแทคไตรเน็ต จำกัด ภายใต้ชื่อสินค้า ดีแทคไตรเน็ต มียอดผู้ใช้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2549 อยู่ที่ 12,225,498 คน โดยแบ่งเป็นระบบสมาชิกรายเดือนประมาณ 2 ล้านคน และระบบเติมเงินประมาณ 10 ล้านคน

ประวัติ Dtac

ทคเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2532 เพื่อเข้ารับสัมปทานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในช่วงความถี่ 800 และ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ในประเภทสร้าง-โอน-ดำเนินการ (Build-Transfer-Operate) ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2533 และจดทะเบียนเข้าซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2538

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ได้ยืดสัญญากับ กสท. ไปเป็น พ.ศ. 2561 หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ได้เริ่มต้นขายหุ้นบางส่วนให้กับเทเลนอร์ และเปลี่ยนชื่อทางการค้าจาก “แทค” เป็น “ดีแทค” ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544

ตระกูลเบญจรงคกุล ผู้ถือหุ้นใหญ่ในยูคอมซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแทค ได้ขายหุ้นให้กับเทเลนอร์ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2548

วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555 ทางดีแทคได้มีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ โดยมีบริษัทบีซีทีเอ็น โฮลดิ้ง ของตระกูลเบญจรงคกุล ที่มีนายบุญชัย เบญจรงคกุลผู้ก่อตั้งดีแทคเป็นผู้บริหารอยู่ถือหุ้นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 มาเป็นเป็นร้อยละ 51 และกลุ่มเทเลนอร์ถือหุ้นที่เหลืออีกร้อยละ 49 เพื่อลดข้อครหาในการเป็นบริษัทต่างชาติ ที่จะเข้าร่วมประมูล 3 จีได้ ทำให้ปัจจุบันผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของดีแทคคือบีซีทีเอ็น โฮลดิ้ง

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ Dtac

ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 TELENOR ASIA PTE LTD 1,009,172,497 42.62%
2 THAI TELCO HOLDINGS LIMITED 356,000,000 15.03%
3 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 286,345,164 12.09%
4 บริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด 175,001,300 7.39%
5 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) 132,145,250 5.58%
6 THE HONGKONG AND SHANGHAI BANKING CORPORATION LIMITED, FUND SERVICES DEPARTMENT 43,464,400 1.84%
7 STATE STREET BANK EUROPE LIMITED 24,196,063 1.02%
8 LITTLEDOWN NOMINEES LIMITED 23,550,000 0.99%
9 สำนักงานประกันสังคม (2 กรณี) 21,133,500 0.89%
10 บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 12,005,000 0.51%

คลื่นความถี่ในการให้บริการของดีแทค

 
คลื่นความถี่ หมายเลขช่องสัญญาณ จำนวนคลื่นความถี่ เทคโนโลยี ประเภท สถานะบริการ เปิดให้บริการ ระยะเวลาดำเนินการ
1800 MHz 3 5 MHz GSM/GPRS/EDGE 2G กำลังให้บริการ 1 ก.ย. พ.ศ. 2532 สิ้นสุด พ.ศ. 2561 (สัมปทาน)
1800 MHz 3 20 MHz LTE 150Mbps 4G พ.ศ. 2558
1800 MHz 3 20 MHz ไม่ได้ใช้งาน
850 MHz 5 10 MHz UMTS/HSPA+ 42Mbps 3G กำลังให้บริการ 8 พ.ค. พ.ศ. 2556
2100 MHz 1 10 MHz UMTS/HSPA+ 42Mbps 3G กำลังให้บริการ 8 พ.ค. พ.ศ. 2556 สิ้นสุด พ.ศ. 2570 (ใบอนุญาต)
2100 MHz 1 5 MHz LTE 42Mbps 4G 8 พ.ค. พ.ศ. 2556

โครงสร้างของกลุ่มบริษัทในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

โครงสร้างของกลุ่มบริษัทในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

ที่มา – วิกิพีเดีย, Dtac [1, 2]

About modify 4850 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.