ประวัติ Gmail จีเมล์อีเมล์ยอดนิยมของคนใช้ Android

thumbnail default

ประวัติ Gmail


วันนี้จะมาพูดถึงอีเมล์กันบ้างดีกว่า อีเมล์ที่จะมาพูดถึงก็คือ Gmail ซึ้งจริงๆแล้วย่อมาจาก Google Mail และแน่นอนว่าเป็นอีกหนึ่งบริการจาก Google สำหรับ Gmail นั้นสาวก Android คงจะรู้จักเป็นอย่างดี เพราะทุกคนที่ดาวน์โหลด Google Play จำเป็นต้องมี Gmail นั้นเอง แต่อย่าเพิ่งคิดอย่างนั้น เพราะจริงๆแล้ว Gmail ได้รับความนิยมมาก่อนหน้านั้นที่จะเกิด Android เสียอีก เรามาเรียนรู้ประวัติของอีเมล์ยอดนิยมของโลกกันดีกว่า

จีเมล (Gmail) เป็นบริการอีเมลฟรีของกูเกิลผ่านทางระบบเว็บเมล POP และ IMAP โดยในขณะที่โปรแกรมยังอยู่ในระยะพัฒนา (เบต้า) จีเมลเปิดให้ผู้ที่ได้รับคำเชิญทดลองใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 และให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หลังจากนั้นจึงออกจากระยะพัฒนาพร้อมกับบริการอื่น ๆ ของกูเกิล แอปส์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปัจจุบันจีเมลรับรองการใช้งาน 54 ภาษารวมถึงภาษาไทย

จีเมลเป็นผู้บุกเบิกการใช้ AJAX ที่ใช้งานจาวาสคริปต์และการใช้งานผ่านทางคีย์บอร์ด ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ปัจจุบัน จีเมลเป็นบริการอีเมล์บนเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก กล่าวคือมากกว่า 425 ล้านคน

ภาษาพัฒนา

การเริ่มโครงการจีเมลของ กูเกิลนั้นเริ่มพัฒนาขึ้นมาหลายปีก่อนที่จะเปิดให้บริการ โดยในระยะแรกเริ่มของการเปิดให้บริการ จะให้สิทธิ์ในการสมัครจีเมลโดยแจกจ่ายสิทธิทางอีเมลเชิญชวนเท่านั้น จนกระทั่งต่อมาจึงได้ยกเลิกการสงวนสิทธิ์ดังกล่าว โดยเปิดให้สมัครได้กับทางเว็บไซต์โดยตรง โดยหลักแล้วภาษาที่ใช้พัฒนาคือ AJAX เป็นภาษาที่ใช้ในเว็บรุ่น 2.0 (เน้นหนักไปที่ AJAXSLT framework) นอกจากนี้จะมีการเรียกใช้คุณสมบัติของ JavaScript ภายในเครื่องเพื่อการรับค่าแสดงผล จีเมลสามารถรับภาษาได้มากกว่า 52 ภาษาทั่วโลก

ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 จีเมลได้มีการทดลองก่อนที่ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในญี่ปุ่น 3 กันยายน พ.ศ. 2549 และในอียิปต์ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2549 นอกจากนั้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 เปิดให้ลงทะเบียนทั้งในยุโรป อเมริกากลาง และแอฟริกา จนกระทั่งระบบรองรับการใช้งาน ทำการเปิดให้ลงทะเบียนใช้งานได้ทั่วโลกโดยไม่ได้ติดป้าย ทดลองใช้ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

เครื่องบริการ

ระบบปฏิบัติการที่ให้บริการจีเมลคือ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล GFE/1.3 server พร้อมระบบปฏิบัติการลินุกซ์[7][8]

พื้นที่เก็บอีเมล

ในระยะแรก จีเมลให้พื้นที่เก็บอีเมล 1 จิกะไบต์ต่อหนึ่งอีเมลของจีเมล และตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา[9] จีเมลจะเพิ่มพื้นที่ให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน จีเมลให้พื้นที่เก็บอีเมลมากกว่า 10 จิกะไบต์ และยังคงเพิ่มขึ้นทีละน้อยอยู่ตลอดเวลา โดยหากมีการใช้งานมาก ต้องการความจุเพิ่มขึ้นจากที่ทางจีเมลให้บริการฟรี สามารถอัปเกรดได้โดยเสียค่าบริการเพิ่ม โดยความจุที่เพิ่มขึ้นจะใช้ร่วมกันระหว่างบริการ ปีกาซา กูเกิล ด็อกส์ และ จีเมล [10]

รูปร่างหน้าตา

โดยเริ่มแรก จีเมลยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลได้ แต่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2008 จีเมลได้เพิ่มชุดรูปแบบกราฟิกการแสดงผล (สกิน) ของกูเกิลให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้

โปรแกรมท่องอินเทอร์เน็ตที่รองรับ

จีเมลสามารถแสดงผลได้ดีตามรายชื่อต่อไปนี้ : อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 5.5+, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ 1.0+, Safari 1.2.1+, K-Meleon 0.9+, Netscape 7.1+, Opera 9+, กูเกิล โครม โดยมีการเพิ่มโค้ดในการรองรับ Firefox 2.0+ และ Internet Explorer 7 / 8

จีเมลสามารถใช้งานแบบไม่มีการใช้จาวาและอาเจ็คได้โดยมีชื่อว่า “Basic HTML view” หรือแสดงผลแบบเอชทีเอ็มแอลปกติ ในกรณีที่ไม่สามารถใช้งานในแบบปกติได้ เช่น ใช้เว็บเบราว์เซอร์รุ่นเก่า หรือไม่ได้เปิดการทำงานของจาวาสคริปต์ไว้ จีเมลจะเข้าระบบเอชทีเอ็มแอลปกติ

ประวัติ

ความคิดในการสร้างอีเมล์ถูกเสนอขึ้นระหว่างการสัมภาษณ์งานกับกูเกิลโดยRajen Sheth จากนั้นโครงการจึงเริ่มโดยนักพัฒนาของกูเกิลชื่อ Paul Buchheit เขาใช้เวลาพัฒนามาหลายปีก่อนจะเปิดเป็นสาธารณะ โดยแรกเริ่ม จีเมลถูกใช้สำหรับพนักงานในบริษัทกูเกิลเท่านั้น ต่อมากูเกิลจึงเปิดเผยต่อสาธารณะในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2004 [11] (วันเมษาหน้าโง่) ซึ่งทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องโกหก

การรองรับภาษา

จีเมลในปัจจุบันมีการรองรับภาษาทั่วโลกได้ 52 ภาษาแล้ว ดังนี้: อาหรับ, บัลแกเรีย, คาตาลัน, จีนตัวย่อ, จีนตัวเต็ม, โครเอเชีย, เช็ก, เดนมาร์ก, ดัตช์, อังกฤษ (UK), อังกฤษ (US), เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, กรีก, กูจาราติ, ฮีบรู, ฮินดี, ฮังการี, ไอซ์แลนด์, อินโดนีเซีย, อิตาลี , ญี่ปุ่น, กันนาดา, เกาหลี, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, มาเลย์, มาลายาลัม , มราฐี, นอร์เวย์ (Bokmål), โอริยา, โปแลนด์, ปัญจาบ, โปรตุเกส (บราซิล), โปรตุเกส , โรมาเนีย, รัสเซีย, เซอร์เบีย, สิงหล, สโลวัก, สโลวีเนีย, สเปน, สวีเดน, ตากาล็อก, ทมิฬ, เตลูกู, ไทย, ตุรกี, ยูเครน, ไทย, อูรดู และ เวียดนาม

การใช้งานร่วม

จีเมลมีความสามารถในการใช้งานระหว่าง Blogger หรือระบบโทรศัพท์มือถือได้หลายอย่าง โดยสามารถใช้งานได้โดยไม่มีการเรียกใช้โปรแกรมภายในเครื่องจะเป็นระบบข้อความ text messagingในเฉพาะโทรศัพท์ที่มีระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต [12]

คุณสมบัติอื่น ๆ

คุณสมบัติของจีเมล

  • รับรองระบบ POP3 IMAP และ SMTP รองรับการเพิ่มบัญชี 5 ชื่อ
  • มีระบบการค้นหาภายใน ทั้งที่เป็นอีเมลเฉพาะหมวดหมู่ที่ผู้ใช้กำหนดขึ้น และอีเมลทั้งหมด
  • สามารถแท็ก อีเมลเพื่อแยกเป็นหมวดหมู่ได้ มีป้ายกำกับให้โดยเฉพาะ
  • มีระบบป้องกันสแปมและป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์และระบบคัดกรองจดหมายขยะด้วยตนเองได้
  • มีบริการแชทจากหน้าจอเว็บเบราว์เซอร์ ที่เรียกว่า กูเกิลทอล์ก โดยรองรับการเชื่อมต่อด้วยกล้องแล้ว
  • มีระบบบันทึกอีเมลก่อนส่ง และระบบบันทึกอัตโนมัติ (auto-save) สามารถเซฟอีเมลที่ เรากำลังพิมพ์อยู่ได้ ทำให้ถึงแม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีปัญหา หรือเกิดไฟดับ เราอาจจะไม่ต้องมาพิมพ์ใหม่ทั้งหมดพร้อมทั้งการเก็บบันทึกไว้เป็บแบบร่างได้ ทันที
  • สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบหน้าต่างของจีเมลได้
  • บริการทั้งหมดเป็นบริการฟรี ยกเว้นการซื้อพื้นที่เก็บอีเมลเพิ่มขึ้นจากพื้นที่ที่จีเมลจัดให้

การใช้ชื่อ

กูเกิลใช้ชื่อบริการอีเมลนี้ว่า จีเมล (Gmail) เกือบทั่วโลก ยกเว้นในประเทศเยอรมนี สหพันธรัฐรัสเซีย และสหราชอาณาจักร โดยเลือกใช้ชื่ออื่นคือ “กูเกิลเมล” (Google Mail) เนื่องจากชื่อ Gmail ซ้ำกับชื่อที่มีอยู่แล้วขององค์กรอื่น จึงได้เปลี่ยนชื่อเพื่อความเหมาะสมในการให้บริการ และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาลิขสิทธิ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

รางวัลที่ได้รับ

จีเมลได้รับการจัดอันดับเป็นลำดับที่สองจากนิตยสาร PC Worldใน “100 Best Products of 2005” โดยอันดับที่ 1 คือ มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์นอกจากนี้ นิตยสาร PC World ยังได้มอบรางวัล “Honorable Mention” ใน The Bottom Line Design Awards 2005แก่จีเมลอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีรางวัลอื่น ๆ ที่ทางจีเมลได้รับ โดยจะมีการบันทึกข้อมูลไว้ในเว็บไซต์ของจีเมลเอง

การเล่นตลกในวันเมษาหน้าโง่

กูเกิลเป็นบริษัทที่ชอบนำเสนออะไรแปลก ๆ เพื่อความสนุกในวันเมษาหน้าโง่ ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษา ของทุกปี

ค.ศ. 2007

ในปี 2007 กูเกิลแนะนำบริการ “จีเมลกระดาษ” (Gmail Paper) ผู้ใช้สามารถส่งอีเมลเป็นกระดาษถึงหน้าบ้านผู้รับได้ฟรี แต่มีโฆษณาติดมาด้วย

ค.ศ. 2008

ในปี 2008 กูเกิลได้นำเสนอบริการปลอม ๆ “ตั้งเวลาได้” (Custom Times) ให้ผู้ใช้ตั้งเวลาว่า ส่งเมล์มากี่ชั่วโมงแล้ว

ค.ศ. 2009

ในปี 2009 กูเกิลนำเสนอบริการ “ตอบกลับอัตโนมัติ” (AutoPilot) ซึ่งจะทำการวิเคราะข้อความแล้วตอบกลับอัตโนมัติ

ค.ศ. 2011

ในปี 2011 กูเกิลนำเสนอบริการ “Gmail Motion” ผู้ใช้สามารถออกท่าทางสำหรับควบคุมอีเมลผ่านเว็บแคม เช่นก้มหัว จะทำการส่งอีเมล แต่ผู้ใช้ต้องไปขอใช้บริการที่หน้าเว็บ ถ้าผู้ใช้กด Try It Now ก็จะมีข้อความขึ้นมาว่า “April Fools”

หมายเหตุ : หลังจากนั้น กลุ่มนักวิจัยจากแคลิฟอร์เนียทำให้เรื่องตลกเป็นจริงด้วย Kinect

ที่มา – wikipedia

About modify 4842 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

1 Comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.