Vsync คืออะไร เปิดยังไง

Play Game Nvidia

Vsync (vertical synchronization) เปิด Vsync เปิดหรือปิดดี


สำหรับคอเกมในคอมพิวเตอร์ น่าจะเคยได้ยินคำว่า Vsync กันมาบ้าง เพราะเวลาเล่นเกมอาจมีเกมบางเกมแนะนำให้เปิด Vsync  จึงเกิดคำถามว่า Vsync  คืออะไร เปิดหรือไมเปิดดีกว่ากัน บทความนี้จะมาหาคำตอบกัน

Steaming

Vsync คืออะไร

VSync ย่อมาจาก Vertical Synchronization มันซอฟแวร์ที่เอาไว้ควบคุมภาพ Refresh Rate ของการ์ดจอในขณะใช้งาน ให้กับ เฮิรตซ์ (hertz ย่อว่า Hz) Monitor หรือจอที่เราใช้งานอยู่ เพื่อไม่ให้ภาพหรือ Refresh Rate  ที่ออกมาจากการ์ดจอมากเกินไปเกินกว่าจอจะรับไหว ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการภาพขาดเพราะจอไม่สามารถผลัดรีเฟรชภาพทันตามที่การ์ดจอส่งมาได้ VSync จึงมาควบคุมให้การ์ดจอส่ง Refresh Rate ลดลงเพื่อให้เข้ากันได้กับจอ

ยกตัวอย่างเช่น การ์ดจอสามารถทำเฟรมเรทได้ 120 FPS แต่จอของเราเป็นแค่แบบ 60 Hz การที่จะให้การจอขับออกมาเต็มๆที่ 120 FPS ก็ทำให้จอรับไม่ได้จึงเกิดปัญหาภาพขาดสดุด จึงลดการขับเฟรมเรทของการ์ดจอลง เพื่อให้สมดุลกับความสามารถของจอ เพราะถึงให้ขับออกมาที่ 120 FPS ไปทำให้ภาพขาดแล้วก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆเพราะจอก็รับได้แค่ 60 Hz อยู่ดี

ข้อดีและข้อเสียของ Vsync

  • ข้อดีของ Vsync – แน่นอนว่าช่วยให้การ์ดจอส่งเฟรมเรทมาหาจอให้เหมาะสมกับ Refresh Rate ของเจอ ทำให้ภาพไม่เกิดอาการขาด หรือรับภาพไม่มทัน
  • ข้อเสียของ Vsync – ถึงแม้ว่าจะมีข้อดีตรงนี้แต่ข้อเสียของ Vsync ก็คือการปรับ Vsync จะไม่เท่ากับ Refresh Rate แบบตรงไปตรงมมา Vsync จะมีช่วงหรือขั้นของการลดเฟรมเรท ทำให้บางครั้งมีการลดเฟรมลดมากว่าปกติ ทำให้ภาพที่ได้มาไม่ตรงกับความสามารถสูงสุดที่จอจะรับได้ อาจทำให้เกมที่เช่นอยู่กระตุกได้ และอีกหนึ่งเหตุผลก็คือ ถ้าจอมีอัตรา Refresh Rate มากกว่าการ์ดจอ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ Vsync

ควรเปิดหรือไม่ควรเปิด Vsync ดี

  • ควรเปิดก็ต่อเมื่อ – จอของคุณมี Refresh Rate ต่ำกว่า เฟรมเรท FPS ของการ์ดจอ
  • ควรปิดก็ต่อเมื่อ – จอของคุณมี Refresh Rate มากหรือเทียบเท่า เฟรมเรท FPS ของการ์ดจอ
  • หากเล่นเกมแล้วเกิดอาการกระตุก ให้ลองปิด Vsync ดูเพราะอาจมีการปรับเรทให้ต่ำกว่าปกติ

คงจะพอทราบกันแล้วใช่ไหมว่า Vsync คืออะไร แล้วเราจะควรจะเปิดหรือไม่เปิดก็ต้องดูว่าสเปคของเครื่องและจอเราเป็นแบบไหน ก็ปรับให้เหมาะกับการใช้งานของเรานั้นเอง

About modify 4842 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.