AHCI คืออะไร (Advanced Host Controller Interface)

SATA MODE AHCI และ IDE

รู้จัก AHCI ย่อมาจาก Advanced Host Controller Interface


สำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ แล้วมีการเชื่อมต่อ HDD เวลาตั้งค่า bios แล้วอาจจะเคยได้ยินคำว่า AHCI และ IDE กันมาบ้าง และเกิดความสงสัยว่ามันคืออะไร บทความนี้จะพูดถึงการเชื่อมต่อข้อมูลแบบ AHCI ว่ามันคืออะไร และแตกต่างจาก IDE อย่างไร

SATA MODE AHCI และ IDE

คุณอาจจะเคยได้ยินคำว่า AHCI, IDE หรือ RAID กันมาบ้าง ทั้งหมดนี้เป็น SATA Controller Mode หรือถ้าแปลเป็นไทยก็ประมาณว่า โหมดสำหรับควบคุม SATA ซึ่งทั้ง 3 โหมดมีหน้าที่คล้ายๆกันคือเป็น Controller สำหรับควบคุมการทำงานของที่เก็บข้อมูลที่เชื่อมต่อกับสาย SATA

SATA Controller Mode

IDE

เป็นโหมดที่ใช้งานตั้งแต่สมัย Parallel ATA (PATA) และ IDE ATA ทั้งนี้หากอุปกรณ์ของคุณเป็นแบบ SATA ก็สามารถปรับให้ใช้งาน Mode แบบ IDE ได้เช่นเดียวกัน (แล้วแต่เมนบอร์ด) โหมดนี้จะมีความสามารถในการอ่านเขียนข้อมูลได้ต่ำที่สุดใน 3 โหมดที่พูดถึงมาเพราะเป็นรูปแบบเก่า แต่ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องเปิดใช้งานโหมดดังกล่าวเพราะอาจมีความจำเป็นต้องใช้งานกับอุปกรณ์รุ่นเก่าบางรุ่น ถึงแม้จะใช้การเชื่อมต่อแบบ SATA แต่อาจต้องปรับโหมดควบคุม SATA ให้เป็นแบบ IDE

AHCI

AHCI ย่อมาจาก Advanced Host Controller Interface เป็นโหมดควบคุมที่ออกแบบมาใช้งานกับ SATA โดยเฉพาะในตอนต้น ช่วยให้สามารถใช้คุณสมบัติขั้นสูงในไดร์ฟ SATA เช่น Hot Swapping Hot Plug และ Native Command Queuing (NCQ) นอกจากนั้น AHCI ยังช่วยให้ฮาร์ดไดรฟ์ทำงานที่ความเร็วสูงกว่าในโหมด IDE

RAID

RAID ย่อมาจาก Redundant Array of Independent Disks จำเป็นต้องใช้ Disk มากกว่า 1 อุปกรณ์ เพื่อเพิ่มพื้นที่จัดเก็บหรือเพื่อเอาไว้สำรองข้อมูล RAID มีหน้าที่หลายอย่างแล้วแต่การตั้งค่า อาจทำให้สามารถเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลในกรณีที่มีมากกว่า 1 ให้อยู่ในจัดเก็บข้อมูลชุดเดียวกัน (array) หรือโหมดที่เอาไว้สำหรับสำรองข้อมูลทำหน้าที่เหมือน mirror หรือเพื่อเพิ่มความสามารถในเรื่องของความเร็วได้ RAID จำเป็นต้องเปิดใช้งานโหมดควบคุม SATA แบบ AHCI
About modify 4842 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.