ชัชชาติ ฟีเวอร์ ทำไมถึงดังในโลก Social ถึงขนาดทำภาพแซว ไม่พอมีเกม ชัชชาติ ด้วย

ชัชชาติครัช


ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่เขียนข่าวการเมืองในเว็บไอทีนะครับ แต่อันนี้คงไม่น่าจะเกี่ยวกัน ช่วงนี้เราคงเห็นชื่อของ คุณ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ บนโลก Social Network มากมาย ส่วนใหญ่จะเป็นรูปภาพแบบแซวๆสะมากกว่า โดยภาพที่เป็นตำนานไปแล้วดูเหมือนจะเป็นภาพที่ คุณ ชัชชาติ กำลังถือถุงเพื่อไปใส่บาตรพระที่จังหวัดสุรินทร์ในช่วงที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีไปทัวร์นกขมิ้นที่ภาคอีสาน โดยมีการโพสเกี่ยวกับการรับมือสถานการณ์ชัทดาวน์กรุงเทพของทางกลุ่ม กปปส. ดังภาพด้านล่างครับ

chatchart

ด้วยความน่ารักและขยันเป็นกันเองของคุณ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ทำให้ถูกพูดถึง อย่างมาก จนสร้างกระแสว่าประเทศไทยต้องการคนทำงานจริงจังแบบนี้ ทั้งนี้มีภาพต่างๆที่แซว คุณ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ออกมาในรูปแบบน่ารักๆ แนว ซุปเปอร์ฮีโร่ดังภาพด้านล่างครับ

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

นี้เป็นส่วนหนึ่งของความฟีเวอร์ของคุณ ชัชชาติ เท่านั้น ไม่เพียงแต่ภาพรูปภาพแซวการทำงานว่ามุ่งมั่นเหมือน ซุปเปอร์ฮีโร่ ยังมีเกมที่ทำจากหน้าของคุณ ชัชชาติ เป็นรูปแบบแอพพลิเคชั่นอีกด้วย

แอพนี้มีชื่อว่า “ชัชชาติครัช”

ชัชชาติครัช

โดยรูปแบบเกมเป็นแบบ Candy Crush Saga แต่มีหน้าของคุณ ชัชชาติ เต็มไปหมด  ดาวน์โหลดแอพนี้ได้ที่ Google Play

ชัชชาติครัช ชัชชาติครัช

ไม่เพียบเท่านี้ “MOLOME” แอพการถ่ายภาพ มีสติ๊กเกอร์ของคุณ ชัชชาติ ให้ดาวน์โหลดกันอีกด้วย

แบบนี้เรียกว่าคนทำงานดี ขยันทำงานให้บ้านเมือง ก็มีคนจับตามองและคอยชื่นชมอยู่นะครับ แบบนี้ซินักการเมืองที่ประชาชนรอคอย ^^

ประวัติ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (ชื่อเล่น: ทริป) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.ชัชชาติ เป็นบุตรของพลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กับนางจิตต์จรุง สิทธิพันธุ์[1] มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา คือ

  1. ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ – อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ – อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พี่ฝาแฝด)

ดร.ชัชชาติ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[2] ระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ด้วยทุนอานันทมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2530

ดร.ชัชชาติ สมรสกับนางปิยดา สิทธิพันธุ์ (สกุลเดิม: อัศวฤทธิภูมิ) พนักงานบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) มีบุตรชาย 1 คน

ดร.ชัชชาติ เคยทำงานเป็นวิศวกรโครงสร้างในบริษัทเอกชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายจัดการทรัพย์สิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 นอกจากนั้นยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจหลายแหล่ง อาทิ บริษัท ขนส่ง จำกัด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

ดร.ชัชชาติ ในฐานะนักวิชาการ ได้มีโอกาสเข้ามาช่วยงานและให้คำปรึกษาแก่กระทรวงคมนาคม ในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 และรัฐบาลสมัคร โดยที่ไม่ได้มีตำแหน่งใดๆ จนกระทั่ง พ.ศ. 2555 เขาได้รับการทาบทามทางโทรศัพท์จากนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แม้ทางมารดาจะไม่เห็นด้วย แต่เขาก็ตกลงเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 จาการที่เขาเข้ามารับงานทางการเมืองเป็นครั้งแรก ทำให้ในช่วงแรกในตำแหน่งรัฐมนตรี เขากลายเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จักมากที่สุด  และจากการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งต่อมา เขาก็ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555

ดร.ชัชชาติ ในฐานะรัฐมนตรีคมนาคม ถือเป็นบุคคลระดับหัวกะทิของรัฐบาลในด้านการวางยุทธศาสตร์ของประเทศ เขาได้รับการกล่าวถึงในฐานะรัฐมนตรี “ดูโอเศรษฐกิจ” ของรัฐบาล คู่กับ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และ “ดูโอระบบราง” คู่กับ ประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟฯ ที่นโยบายของ ดร. ชัชชาติให้ความสำคัญกับการขนส่งระบบรางเป็นพิเศษ ซึ่งโครงการในระบบรางสำคัญที่เดินหน้าอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาการเป็นรัฐมนตรีของเขา อาทิ รถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย,โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

ประวัติโดย – wikipedia

About modify 4842 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.