X
MODIFY: Technology News
Technology, Innovation, and Education เทคนิดการใช้งาน สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ เรื่องไอที

AntiVirus (แอพแสกนไวรัส) จำเป็นหรือไม่กับ Android อ่านสักนิดมีประโยชน์

เป็นอีกหนึ่งคำถามสำหรับคนที่ใช้งานสมาร์ทโฟน และ ไวรัส ที่หลายคนกลัวเครื่องจะโดนไวรัส เพราะกลัวทำให้เครื่องช้า หรืออื่นๆ จึงเกิดคำถามว่าตกลง Android มันมีไวรัสหรือ Malware หรือไม่ (วันนี้ขอพูดถึง Android ก่อน) และเราจำเป็นต้องติดตั้งแอพแสกนไวรัสไว้ในเครื่องหรือไม่ ก่อนจะตอบคำถามพวกนี้ ผมขอเขียนอะไรเล็กๆน้อยๆ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ที่มาของ Apps ของ Android กันให้ฟังก่อนดีกว่า

ปกติแล้ว แอพต่างๆที่จะขึ้นไปยัง Google Play ของ Android นั้นจะถูกระบบที่เรียกว่า Google Bouncer จะเป็นระบบที่กันแอพที่ไม่พึงประสงค์ก่อนที่จะขึ้นให้ดาวน์โหลดบน Google Play โดยรูปแบบของมันคือจะเอาข้อมูลของแอพดังกล่าวไปเทียบกับฐานข้อมูลไวรัสหรือมัลแวร์ต่างๆที่ Google มีอยู่ หากพบว่ามีบางโค้ดหรืออะไรตรงกับไวรัส ก็จะระงับแอพดังกล่าวไม่ให้ขึ้นไปให้คนทั่วไปดาวน์โหลด

แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับ Android ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังคงมีแอพบางแอพหลุดรอดออกมาได้ แต่ Google ก็มีระบบหนึ่งที่สามารถลบแอพนั้นๆ หากพบว่าแอพดังกล่าวเป็นแอพที่อัตรายภายหลังที่ดาวน์โหลดไปแล้ว (หากเครื่องต่อเน็ต)

แต่ก็อย่าเพิ่งวางใจคนที่โดนมัลแวร์หรือไวรัสส่วนใหญ่จะโดนแอพที่เรียกว่า แอพโฆษณา หรือแอพที่ดาวน์โหลดมาเป็นแอพเสริมหรือแอพอื่นๆ ประมาณว่าโหลดแอพหนึ่งมาแล้ว (แอพตัวแรกไม่มีไวรัส) แต่แอพ ร้องขอให้ดาวน์โหลดอีกแอพ หรือแนะนำให้ดาวน์โหลด หลายคนดาวน์โหลดโดยไม่รู้ตัว (อาจจะขึ้นข้อความหลอกอะไรบางอย่าง) แอพพวกนี้ถือว่าเป็นแอพภายนอกที่ไม่ได้ผ่าน Google Play ดังนั้น Google จึงไม่สามารถรองรับได้ แต่ Google ก็เห็นถึงปัญหาในข้อนี้ จึงพัฒนาระบบปฏิบัติการที่สามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ไว้ได้ และเพิ่มการแจ้งเตือนว่าคุณต้องการที่จะลงแอพดังกล่าวจริงๆหรือไม่ (ข้อความอาจจะเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษบางคนไม่อ่านให้ดีๆ กดผ่านๆไป อันนี้ต้องระวัง) สำหรับการแจ้งเตือนดังกล่าวจะรองรับตั้งแต่ Android 4.2 ขึ้นไป

การอนุญาติการเข้าถึง

เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งถือว่าสำคัญมาก เพราะแอพต่างๆ ที่ขอสิทธิการเข้าถึงโดยไม่จำเป็น (เช่นแอพถ่ายภาพ แต่ขอสิทธิการใช้ Internet) อันนี้ผู้ใช้ควรอ่านให้ดีก่อนจะอนุญาติสิทธิ ซึ่งปกติแล้ว Android จะปรับพวกนี้ไว้รวมกัน คือยอมกับทีเดียว ขอสิทธิตั้งแต่ตอนดาวน์โหลด คนกดก็ไม่รู้เลยว่ายอมรับอะไรไปบ้างกดๆให้ผ่านๆไปเพื่อจะได้ดาวน์โหลดได้ แต่รู้สึกว่ารุ่นใหม่ล่าสุด อย่าง Android M (น่าจะมาเร็วๆนี้) จะปรับให้สามารถกดยอมรับเมื่อแอพใดแอพหนึ่งกำลังขอใช้สิทธิการเข้าถึงอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นครั้งแรก (เหมือน iOS) ไม่ได้ร้องขอแค่เฉพาะตอนดาวน์โหลด อย่างที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่นแอพถ่ายรูป เมื่อใช้แอพครั้งแรก แอพจะขอเข้าใช้งานกล้อง ต้องให้เราอนุญาติ ก่อนเป็นครั้งแรก ถือว่าเป็นการป้องกันได้ในระดับหนึ่ง เพราะบางครั้งหากแอพใดๆขอสิ่งที่ไม่น่าขอ ทำให้ผู้ใช้สามารถสงสัยได้ว่าแอพดังกล่าวเป็นแอพที่ไม่น่าพึงประสงค์และเราสามารถปฏิเสธการเข้าถึงได้

การเข้าถึง SMS

คงจะเคยได้ยินข่าวกันมาบ้างว่าแอพบางแอพแอบส่ง SMS ทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่รู้ตัว ปัญหานี้เหมือนว่าจะถูกแก้ไปแล้วแต่ตั้ง Android 4.2 โดยเมื่อก่อนเคยได้ยินข่าวว่าแอพแอบส่ง SMS โดยทีเราไม่รู้ตัว (ส่งแบบแอพเบื้องหลัง)

แอพเบื้องหลัง (background app)

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าแอพเบื้องหลังกันมาบ้าง แอพพวกนี้เป็นแอพที่ทำงานอยู่ ในขณะที่เราเปิดเครื่อง เรียกง่ายๆ ว่าเป็นต่างๆที่ทำงานอยู่ด้านหลัง เพื่อให้เครื่องทำงาน นั้นอาจหมายรวมถึงแอพของระบบ หรือพวกโซเชียลต่างๆ แอพพวกนี้ส่วนใหญ่จะรันและทำงานไม่หนักแต่จะทำอยู่ตลอดเวลา เพื่อเอาไว้สำหรับการเรียกใช้งานของเรา อาทิเช่น Facebook มีการอัพเดทต่างๆ หากมีการแจ้งเตือนมาเราก็จะรับทราบ หรือแอพต่างๆที่เราเปิดทิ้งเอาไว้ แต่ข้อเสียของมันคือเราไม่สามารถรู้ได้ว่ามันทำอะไรไปบ้าง สิ่งนี้ Android ก็คิดถึงเรื่องดังกล่าว จึงไม่อนุญาติหลายอย่างให้แอพเบื้องหลังทำงานได้ เช่นการตรวจจับการกดคีย์ใดๆบนเครื่อง หรือสามารถตรวจสอบข้ามแอพ เพื่อแอพบางแอพอาจจะมาขโมยคีย์ที่กำลังกดรหัสผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่เป็นการ Spy เครื่องได้โดยเจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว

นี้เป็นส่วนถึงของ Android ที่ผมอาจจะพูดไม่ครบ ไม่หมด หรือไม่ถูกต้องนัก ที่ผมพยามจะบอกก็คือ  Google ก็มีระบบการป้องกันให้เราพอสมควรแล้ว เราก็สามารถสะบายใจได้ในระดับหนึ่งนั้นเอง

แล้วไวรัสหรือมัลแวร์มาจากไหน?

หากจะถามว่ามันมาจากไหน ก็อย่างที่ทราบๆกันนะครับ ไม่มีอุปกรณ์ไหนที่ไม่มีช่องโหว่ จะบอกว่า Android ไม่มีไวรัส ก็คงบอกไม่ได้ เพราะเอาจริงๆแล้วก็มีแน่นอน แต่จะมาจากรูปแบบไหน และคนติดตั้งไวรัส จะหลอกล่อให้เหยื่อติดตั้งแอพที่มีไวรัสหรือมัลแวร์ของตัวเองได้อย่างใดนั้นเป็นอีกเรื่อง (เรื่องพวกนี้ไม่มีที่สิ้นสุด) หลายคนที่คุ้นเคยกับการติดตั้งแอพจากภายนอกจำพวก .apk แน่นอนว่าหากใครที่ต้องติดตั้งแอพจากภายนอก ต้องไปเปิดให้สามารถดาวน์โหลดแอพจากที่ไม่รู้จัก ในส่วนของความปลอดภัย

ซึ่งก็ต้องรองรับความเสี่ยงกันเอาเอง ในส่วนนี้แหละ AntiVirus อาจมีความสำคัญในการแสกนแอพดังกล่าว และการเลือกแอพแสกนไวรัสก็ควรเลือกแอพที่มีความน่าเชื่อถือ ให้ดูจากประวัติการดาวน์โหลด ความคิดเห็นหรือค้นหาข้อมูลให้ดีๆก่อนจะดาวน์โหลดแอพพวกนี้มา เพราะแอพพวกนี้เปรียบเหมือนด่านป้องกันเครื่องของเรา ต้องหาแอพที่น่าเชื่อถือได้สุดๆ

หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงจะได้คำตอบแล้ว ว่าเราควรจะใช้แอพป้องกันไวรัสหรือไม่ ผมจะขอสรุป และเขียนวิธีการใช้งานมือถือ Android อย่างไรให้ปลอดภัย ให้ทราบสรุปตอนท้ายดังนี้ครับ

  • แอพต่างๆใน Android ถูกป้องกันแล้วในระดับหนึ่งจาก Google ก่อนที่จะให้เราดาวน์โหลด
  • หากตรวจสอบพบว่าแอพที่เราดาวน์โหลดผ่าน Google Play ไปแล้วเป็นแอพอัตราย Google สามารถสั่งลบได้ (ต้องเป็น Android 4.2 ขึ้นไป)
  • ระวังเรื่องแอพแถม แอพแนะนำ จากแอพอื่นๆให้ดี ๆ ส่วนตัวแล้ว ผมจะไม่ดาวน์โหลดแอพแนะนำเลย และหากแอพไหนถึงขนาดเด้งแจ้งเตือน popup มาหลอกให้ดาวน์โหลด ผมจะลบแอพนั้นทิ้งทันที
  • ระวังไฟล์ apk ที่ดาวน์โหลดมาจากที่อื่นๆ เพราะพวกนี้แหละอาจจะทำให้เครื่องมีปัญหาได้
  • เลือกดาวน์โหลดแอพแสกนไวรัสที่น่าเชื่อถือ มีชื่อเสียงดี (ให้ดูจากประวัติการดาวน์โหลดและคอมเม้นท์ต่างๆ)
  • จากสถิติแล้วแอพที่ส่วนใหญ่เป็นอัตรายต่อเครื่องจะเป็นแอพที่หลอกว่าเป็นแอพจริงแต่จริงๆแล้วทำมาเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง พวกนี้ส่วนใหญ่จะทำหน้าเว็บไซต์เป็นทางการเหมือนแอพต้นฉบับแล้วให้ดาวน์โหลดไฟล์ .apk มาติดตั้งเอง
  • แอพ Launcher พวกแต่งธีม ไอคอน หน้าตาต่างๆ แอพพวกนี้บอกเลยว่า ต้องดูให้ดีๆมากๆเลย เพราะมีหลายแอพมาแฝงมากับความอยากได้เครื่องสวย บางคนหน้ามืดตามัวโหลดจากที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะแค่ต้องการให้มือถือของตัวเองสวย แน่นอนว่ามันอาจะสวยโดนใจเรา แต่อาจจะมีของแถมมาที่คาดไม่ถึงก็เป็นไปได้ คนใกล้ตัวผมนี้ ป๊อบอัพเด้งกันให้วุ้ยวายเพราะดาวน์โหลดแอพลักษณะนี้มันนั้นเอง ระวังกันด้วยนะครับ

จริงๆการตรวจสอบเครื่องมีหลายอย่าง ไว้ว่างๆผมจะมาเพิ่มเติมให้อีกนะครับ