X
MODIFY: Technology News
Technology, Innovation, and Education เทคนิดการใช้งาน สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ เรื่องไอที

ชื่อกลาง คืออะไร Middle Name

Middle Name คืออะไร ชื่อกลางคืออะไร

สำหรับผู้ที่สงสัยความหมายของคำว่า Middle Name หรือชื่อกลาง ซึ่งบางครั้งไปอ่านเจอมาหรือกรอฟแบบฟอร์มในการสมัครหรือรายละเอียดข้อมูลของเราในที่ต่างๆ อาจมีให้เราระบุชื่อกลาง แต่หลายคนไม่ทราบว่าชื่อกลางคืนอะไร และมีความจำเป็นอย่างไรกับชื่อของเรา ความหมายของมัน

ชื่อกลาง หรือ Middle Name เป็นเหมือนชื่อสำรองเพื่อระบุความชัดเจนของการระบุตัวตน ส่วนใหญ่ใช้กันเฉพาะในต่างประเทศ สาเหตุเกิดจากชื่อที่เหมือนกันซ้ำกันเยอะ เป็นเหตุต้องให้มีการระบุชื่อกลาง เพื่อช่วยแยกความแตกต่างของชื่อเพื่อระบุตัวตนได้ง่ายยิ่งขึ้น จะขอยกตัวอย่างชื่อบุคลที่หลายคนรู้จักอย่างดาราชื่อดัง ชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต ซึ่งชื่อเต็มของเธอคือ อารยา อัลเบอทา ฮาร์เกท ซึ่งชื่อกลางของเธอก็คือ อัลเบอทา เราอาจคุ้นเคยชื่อของเธอคือ อารยา เอ ฮาร์เก็ต ก็ต้องแปลชื่อของเธอเป็นภาษาต่างประเทศจะได้ Araya A. Hargate อักษร A ก็ย่อมาจาก Alberta เพราะชื่อ อารยา เอ ฮาร์เก็ต เป็นชื่อที่สาวชมพู่ย่อมาจากตัว A เพื่อใช้ในวงการบันเทิงดังเท่านั้น

ชื่อกลางในประเทศไทยมีพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕ ว่า”ชื่อรอง” หรือ “ชื่อกลาง”  หมายถึงชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว และต้องมีการบันทึกอยู่ในระบบทะเบียนราษฎรหรือในบัตรประชาชน

อาจทำให้หลายคนหายความสงสัยไปบางว่าในฟอร์มบางฟอร์มที่เป็นของคนไทย แต่ทำไมจำเป็นต้องมีช่องใส่ชื่อกลางทั้งๆที่ไม่มีในประเทศไทย แต่ที่ต้องมีในฟอร์มต่างๆด้วย เพราะอาจรวมไปถึงบุุคลที่เป็นลูกครึ่งไทยและต่างประเทศซึ่งบุคลดังกล่าวอาจจะมีชื่อกลางด้วยดังตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้นเอง

หากไม่มีชื่อกลางต้องทำอย่างไร

หากคุณกรอกเองสารและไม่มีชื่อกลาง หรือไม่แน่ใจให้ตรวจสอบที่บัตรประชาชนของคุณ แต่ปกติคนที่มีก็จะทราบอยู่แล้วเราว่ามีชื่อกลางหรือไม่ หากใครที่ไม่มีและมีฟอร์มเอกสารให้กรอก ก็ให้เว้นช่องเอาไว้ไม่จำเป็นต้องกรอก

เราหรือคนไทยสามารถตั้งหรือขอใช้ชื่อกลางได้หรือไม่

คนไทยสามารถที่จะตั้งชื่อกลางได้ โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการยื่นคำขอ และในการพิจารณาอนุญาต

  • ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินีหรือราชทินนาม
  • ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  • ผู้ที่ได้รับหรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ แต่ได้ออกจากบรรดาศักดิ์นั้นโดยมิได้ถูกถอดถอน สามารถใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์นั้นเป็นชื่อตัวหรือชื่อรองก็ได้
  • ชื่อรองที่จะขอตั้งต้องไม่พ้องกับชื่อสกุลของบุคคลอื่น ยกเว้นการใช้ชื่อสกุลของคู่สมรสเป็นชื่อรองแต่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสที่ใช้ชื่อสกุลนั้นอยู่
  • กรณีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิใช้ชื่อสกุลเดิมของมารดาหรือบิดาเป็นชื่อรองได้
  • ต้องไม่มีเจตนาทุจริต
  • กรณีนายทะเบียนไม่อนุญาต พร้อมแจ้งเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ แจ้งสิทธิอุธรณ์ ภายใน 30 วัน

ช่องทางการให้บริการ

  • ติดต่อด้วยตนเอง
  • สำนักงานเขตในพื้นที่ กทม. ที่ว่าการอำเภอ ทุกอำเภอ
  • เปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 – 16:30 น. (มีพักเที่ยง)

เอกสาร/หลักฐาน

  • บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง 1 ฉบับ)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง 1 ฉบับ)
  • เอกสารอื่น (ถ้ามี) เช่น สูติบัตร ทะเบียนชื่อตัวชื่อรอง ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ซึ่งระบุอำนาจการปกครองของบุตร (ฉบับจริง 1 ฉบับ)

ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 บาท (อาจเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา)