X
MODIFY: Technology News
Technology, Innovation, and Education เทคนิดการใช้งาน สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ เรื่องไอที

ประวัติ AEC ความเป็นมาของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ประวัติ AEC

เรียกได้ว่าตอนนี้น้องๆที่เรียน หรือ นักธุระกิจมากมายให้ความสนใจกับเรื่องของ AEC  หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่รวมตัวกันเพื่อทำให้เศรษฐกิจ ที่ดีขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน และแน่นอนว่าหลายคนอยากรู้ความเป็นมา ว่ามันเกิดอะไรขึ้น และ ทำไมถึงเกิดเป็นข้อตกลง AEC  เรามาดูประวัติของ  AEC หรือ ประวัติประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กันดีกว่า

ความเป็นมาของ AEC

ภายหลังที่การดำเนินการไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตาได้ บรรลุเป้าหมายในปี 2546 อาเซียนยังคงให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกัน อย่างต่อเนื่อง ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ณ ประเทศกัมพูชา ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC) ในระยะแรกเริ่ม เพื่อดำเนินการตามมติดังกล่าวของผู้นำอาเซียน รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ได้เห็นชอบให้มีการจัด จ้างบริษัท McKinsey ทำการศึกษาการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน (ASEAN Competitiveness Study) ซึ่งผลการศึกษาได้เสนอแนะให้อาเซียนเร่งรัดการรวมกลุ่มในสาขา อุตสาหกรรม/บริการที่มีศักยภาพของ อาเซียน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านสินค้าอุปโภค/บริโภค ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่อาเซียนมีการค้าระหว่างกันในอาเซียนสูงสุด และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงสุดของอาเซียน ในขณะเดียวกัน อาเซียนต้องปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนในปี 2546 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนได้ออกแถลงการณ์ Bali Concord II เห็นชอบให้มีการรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ภายในปี 2563 และให้ เร่งรัดการรวมกลุ่มเพื่อเปิดเสรีสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขาสำคัญ (priority sectors) ได้แก่ การท่องเที่ยว การบินยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร และประมง เทคโนโลยีสารสนเทศและ สุขภาพ ต่อมาได้เพิ่มสาขาโลจิสติกส์ เป็นสาขาที่ 12 โดยผู้นำอาเซียนและรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงและ พิธีสารที่เกี่ยวข้องแล้ว ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ปลายเดือนสิงหาคม 2548

เป้าหมายของ AEC

อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) โดยจะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวร่วมกัน (single market and single production base) มีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี เพื่อมุ่งให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวร่วมกัน ต่อมาผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนภายในปี ค.ศ. 2015 และเพื่อเร่งรัดเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี

แนวทางดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การเป็น AEC

นอกจากการดำเนินการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนระหว่างกันตามกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิม เช่น การเร่งลดภาษีสินค้าระหว่างกันให้เหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2553 สำหรับสมาชิกเดิม และปี 2558 สำหรับสมาชิกใหม่ภายใต้กรอบอาฟตา การยกเลิกข้อจำกัดการประกอบการด้านการค้าบริการในอาเซียน ภายในปี 2563 ภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าบริการอาเซียน (AFAS) การเปิดให้มีการลงทุนเสรีในอาเซียนและการให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติต่อนัก ลงทุนอาเซียนภายในปี 2553 ภายใต้เขตการลงทุนเสรีอาเซียน (AIA) เป็นต้น แล้ว อาเซียนได้ตกลงที่จะการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้าและการค้าบริการให้เร็วขึ้น กว่ากำหนดการเดิม ในสาขาสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา ต่อมาได้เพิ่มสาขาที่ 12 คือสาขาโลจิสติกส์ เพื่อเป็นการนำร่อง และส่งเสริมการ outsourcing หรือ การผลิตสินค้า โดยใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตภายในอาเซียน ซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนิน การเพื่อมุ่งไปสู่การเป็น AEC และได้มอบหมายให้ประเทศต่างๆ ทำหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานหลัก (Country Coordinators) ดังนี้

– พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร (Agro-based products) และสาขาประมง (Fisheries)
– มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง (Rubber-based products) และสาขาสิ่งทอ (Textiles and Apparels)
– อินโดนีเซีย สาขายานยนต์ (Automotives) และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้ (Wood-based products)
– ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
– สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) และสาขาสุขภาพ (Healthcare)
– ไทย สาขาการท่องเที่ยว (Tourism) และสาขาการบิน (Air Travel)
– เวียดนาม สาขาโลจิสติกส์ (Logistic)

การ ที่ไทยได้รับเป็นประเทศผู้ประสานงานหลักในสาขาการท่องเที่ยวและการบินนั้น สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของการท่อง เที่ยวและการบินในภูมิภาคนี้

———————
ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
Asean Economic Community History
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Association of Southeast Asian Nations หรือ
ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฎิญญากรุงเทพ ( The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ โดย
สมาชิกผู้ก่อตั้งมี ๕ ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งมีผู้แทนทั้ง ๕
ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน
(รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี กลาโหมและรัฐมนตรี กระทรวง พัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รา
มอส (รัฐมนตรีต่างประเทศ ฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์) และพันเอก
(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรี ต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมา ได้มีประเทศต่าง ๆ เข้าเป็นสมาชิก
เพิ่มเติมได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิก เมื่อ ๗ มกราคม ๒๕๒๗) เวียดนาม (วันที่ ๒๘ กรกฎาคม
๒๕๓๘) ลาว พม่า (วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๐) และกัมพูชา (เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๒) ตามล าดับ
จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ท าให้อาเซียนมีสมาชิกครบ ๑๐ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียง
ใต้ ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ ๕๐๐ ล้านคน
อาเซียนต่อก่อตั้งเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมสันติภาพ
และความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ
นโยบายการด าเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับ
รัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ทั้งนี้ การประชุมสุดยอด ( ASEAN Summit) หรือ การประชุมของ
ผู้น าประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นการประชุมระดับสูงสุดเพื่อก าหนดแนวนโยบายในภาพรวม และเป็น
โอกาส ที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว ซึ่งจะปรากฏ
Page 2
เป็นเอกสาร ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ แผนปฏิบัติการ ( Action Plan) แถลงการณ์รวม ( Joint Declaration)
ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรือ อนุสัญญา (Convention) ส่วน การประชุม ในระดับ
รัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโส จะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวมและนโยบายเฉพาะ
ด้าน การเมืองและความมั่นคง อาเซียนได้จัดท าปฏิญญาก าหนดให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขต
สันติภาพ เสรีภาพความเป็นกลาง ( Zone of Peace, Freedom and Neutrality-TAC) ในปี ๒๕๑๙ และ จัดท า
สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ( Treaty on the Southeast Asian
Nuclear Weapon-Free Zone-SEANWFZ) ในปี ๒๕๓๘ รวมทั้ง ได้ริเริ่ม การประชุม อาเซียน ว่าด้วยความ
ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ( ASEAN Regional Forum-ARF) ซึ่งไทย
เป็นเจ้าภาพ จัดการประชุม ระดับรัฐมนตรี ครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๓๗
ด้านเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area-AFTA) ใน
ปี ๒๕๓๕ เพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกัน เพื่อช่วยส่งเสริมการค้าภายในอาเซียนให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น ลด
ต้นทุน การผลิตสินค้า และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ กับทั้งได้ขยาย ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
เพิ่มเติม เพื่อให้ การรวมตัวทางเศรษฐกิจสมบรูณ์แบบและมีทิศทางชัดเจน ด้วยการจัดตั้งเขตลงทุนอาเซียน
(ASEAN Investment Area-AIA)
ด้านสังคม อาเซียนมีความร่วมมือเฉพาะด้าน เพื่อให้ประชาชนมีความสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และมี
การพัฒนา ในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
“ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community) เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิก
อาเซียน ภายในปี ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) โดยมีวิสัยทัศน์ร่วมของผู้น าอาเซียน คือ “การสร้างประชาคม
อาเซียนที่มี ขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง”
ทั้งนี้ เพื่อสร้าง ประชาคมที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้างโอกาสและรับมือสิ่งท้าทายทั้งด้านการเมือง
ความมั่นคง เศรษฐกิจ และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เพิ่มอ านาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของ
อาเซียนในเวทีระหว่าง ประเทศทุกด้าน โดยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี สามารถประกอบกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจได้สะดวกมากขึ้น และประชาชนในอาเซียนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมี
การเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง กันในอาเซียน ใน ๓ มิติ คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบ
และความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน
จากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๙ ที่อินโดนีเซีย เมื่อ ๗ ต.ค. ๒๕๔๖ ผู้น าประเทศสมาชิก
อาเซียน ได้ตกลง กันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย ๓ เสาหลัก คือี
๑. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community : AEC)
๒. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
๓. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)

ค าขวัญของอาเซียน คือ “ One Vision, One Identity, One Community.”
หนึ่งวิสัยทัศน์หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม
เดิมก าหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี ๒๕๖๓ แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนก าหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี
๒๕๕๘ และก้าวส าคัญต่อมาคือ การจัดท าปฏิญญาอาเซียน ( ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่
เดือน ธันวาคม ปี ๒๕๕๒ นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้าง
ประชาคม โดยมี พื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการด าเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าว
ภายในปี ๒๕๕๘
ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม ๑๐ ประเทศได้แก่ ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน
ส าหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community หรือ AEC
ภายในปี ๒๕๕๘ เพื่อให้อาเซียน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และ
เงินทุนที่เสรีขึ้น ต่อมาในปี ๒๕๕๐ อาเซียนได้จัดท าพิมพ์เขียว เพื่อจัดตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วย
แผนงาน เศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการด าเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุ
เป้าหมายในปี ๒๕๕๘ รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า
ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน +๓ โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และ ต่อไปก็
จะมี การเจรจา อาเซียน +๖ จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดียต่อไป
หน่วยงานที่ท าหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการด าเนินงานในกรอบอาเซียนประกอบด้วย
๑.๑. ส านักเลขาธิการอาเซียน ( ASEAN Secretariat) ที่กรุงการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียน เป็น
ศูนย์กลาง ในการติดต่อ ระหว่างประเทศสมาชิก โดย มีเลขาธิการ อาเซียน ( Secretary-General of ASEAN)
เป็นหัวหน้าส านักงาน ที่ผ่านมา ผู้แทนจากประเทศไทยด ารง ต าแหน่งเลขาธิการอาเซียนแล้ว ท่าน คือ
ฯพณฯ นายแผน วรรณเมธี ระหว่างปี ๒๕๒๗ – ๒๕๒๙ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ระหว่างปี ๒๕๕๑ –
๒๕๕๕
๒. ส านักงานเลขาธิการแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรม ใน
กระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนและติดตาม ผลการ
ด าเนินงานในประเทศนั้น
๓. ส าหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และ
คณะกรรมการผู้แทนถาวร ประจ าอาเซียน ( Committee of Permanent Representatives-CPR) ซึ่ง
ประกอบด้วยผู้แทนระดับเอกอัครราชทูต ที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากประเทศสมาชิก มีภารกิจ ในการ

สนับสนุน การท างานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนและ องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
รวมทั้งประสานงาน กับส านักเลขาธิการอาเซียน และ ส านักเลขาธิการ อาเซียนแห่งชาติ ตลอดจนดูแล
ความร่วมมือของอาเซียน กับหุ้นส่วนภายนอก
ในโลกที่เต็มไปด้วยความท้าทายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ประเทศสมาชิก เห็นพ้องต้องกัน ที่จะให้ความส าคัญของการ มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิด เพื่อประโยชน์ใน
การพัฒนาศักยภาพในการร่วมมือกันปัญหาและความท้าท้าย ตลอดจนเพื่อความสร้างความแข็งแกร่งและ
อ านาจ ต่อรองให้แก่ประเทศสมาชิกผู้น าอาเซียนได้ ลงนามร่วมกันในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือใน
อาเซียน ฉบับที่ ๒ (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Ball Concord II) เพื่อประกาศจัดตั้งประชาคม
อาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี ๑๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐) โดยสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมือ
อย่างรอบด้าน โดยใน ด้านการเมืองให้จัดตั้ง “ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ” หรือ ASEAN
Political-Security Community (APSC) ด้านเศรษฐกิจให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ ASEAN
Economic Community (AEC) และด้านสังคมและวัฒนธรรมให้จัดตั้ง “ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
อาเซียน” หรือ ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) ซึ่งต่อมา ผู้น าอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัด
การรวมตัวเป็น ประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้น กว่าเดิม อีก ๕ ปี คือภายในปี ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) โดย
เล็งเห็นว่าสถานการณ์โลก เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาเซียนจะเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้สามารถคงบทบาท
น าในการด าเนินความสัมพันธ์ ในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

คงจะพอทราบแล้วนะครับว่าประวัติและที่มาของ ACE คืออะไร

ที่มา – dtn.go.th และ acc.tapee.ac.th