X
MODIFY: Technology News
Technology, Innovation, and Education เทคนิดการใช้งาน สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ เรื่องไอที

ประวัติโทรศัพท์มือถือ ประวัติโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย

ประวัติโทรศัพท์มือถือ

โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (และมีการเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของ โทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าว ถึงในชื่อสมาร์ตโฟน

โทรศัพท์มือถือ

โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส

โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงในปี พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน มาเป็น 4,600 ล้านคน

วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ

  • 1G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ analog ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น NMT, AMPS, DataTac
  • 2G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GSM, cdmaOne, PDC
  • 2.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่เริ่มนำระบบ packet switching มาใช้ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GPRS
  • 2.75G ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น CDMA2000 1xRTT, EDGE
  • 3G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลรวมถึงวิดีโอ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น W-CDMA, TD-SCDMA, CDMA2000 1x-EVDO
  • 3.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้นกว่า 3G เช่น HSDPA ใน W-CDMA
  • 4G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ Real-Digital สามารถเชื่อมต่อข้อมูล 3 แบบ ภาคพื้นดิน CDMA PA-H และการเชื่อมต่อ ewifi และ Wi-Max เพื่อการเชื่อมภาพและเสียงเป็นข้อมูลเดียวกัน

ระบบปฏิบัติการมือถือ

  • ซิมเบียน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในค่ายโนเกีย
  • วินโดวส์โมบาย จะใช้กับโทรศัพท์มือถือที่เป็น PDA (Personal digital assistants)
  • ไอโอเอส (ios) ใช้เฉพาะใน ไอโฟน ไอแพด และ ไอพอดทัช
  • BlackBerry OS (BB)
  • แอนดรอยด์ จากทาง google
  • เว็บโอเอส (webOS)
  • มีโก (MeeGo) จากทางโนเกีย(nokia)

ประวัติโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย

  • ปี พ.ศ. 2529 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้เริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยนำระบบ NMT (Nordic Mobile Telephone System) ซึ่งมีให้บริการในประเทศแถบสแกนดิเนเวียน แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องความถี่ในการนำมาให้บริการจาก ความถี่ 450MHz เป็น 470MHz จึงเป็นที่มาของชื่อระบบ NMT470 ซึ่งนับเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบแรกของประเทศไทย ระยะแรกให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ปริมลฑลและจังหวัดชายฝั่งด้านตะวันออก ก่อนขยายบริการไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา ลักษณะของเครื่องลูกข่ายของระบบ NMT470 จะมีลักษณะเป็นกระเป๋าหิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 1-5 กิโลกรัม ยังไม่ได้มีลักษณะเป็นแบบมือถือเช่นปัจจุบัน บางครั้งผู้ใช้จึงเรียกว่าโทรศัพท์กระเป๋าหิ้ว
  • ปี พ.ศ. 2530 การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้นำระบบ AMPS (Advance Mobile Phone System) ความถี่ 800MHz มาให้บริการ โดยคุณลักษณะเด่นของระบบ AMPS800 คือเครื่องลูกข่ายที่มีขนาดเล็ก สามารถถือไปมาได้โดยสะดวก จึงได้รับความนิยมมากและเป็นที่มาของโทรศัพท์มือถือ ระบบ ANPS800 เริ่มให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ก่อนขยายไปตามหัวเมืองใหญ่ แต่การให้บริการระยะแรกไม่ได้เรียกผ่านรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ (รหัส 01) แต่ต้องทำการเรียกผ่านหมวดเลขหมายของพื้นที่กรุงเทพฯ จึงทำให้ผู้ใช้บริการต้องเสียค่าโทรทั้งการโทรออกและรับสาย

การกำหนดรหัสเรียกเข้าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย

  • ในปี พ.ศ. 2529 ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้เริ่มให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ NMT470 เป็นครั้งแรกในประเทศไทยนั้น ได้กำหนดรหัสสำหรับการเรียกเข้าสู่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นการเฉพาะขึ้น นอกเหนือจากรหัสทางไกลสำหรับโทรไปยังภูมิภาคต่างๆ รหัสที่กำหนดคือ 01 ซึ่งผู้ที่ต้องการติดต่อหรือโทรเข้ายังระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องใส่รหัส 01 หน้าเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 7 หลัก ซึ่งใช้สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขององค์การโทรศัพท์และบริษัทผู้รับ สัมปทานของทศท. แต่ผู้ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยและบริษัทที่รับ สัมปทานของกสท.จะต้องเรียกเลขหมายซึ่งขึ้นต้นด้วย 02 เหมือนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐาน ต่อมาจึงได้ปรับให้มีการใช้เลขหมาย 01 เช่นกัน
  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2544มี การขยายตัวของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นจำนวนมาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้มีการปรับระบบเลขหมายโทรศัพท์ (Numbering Plan) ใหม่ทั้งระบบทั่วประเทศ จากการเรียกเลขหมายในกลุ่มเดียวกันที่ไม่ต้องใช้เลขหมายทางไกล(กลุ่ม)มาเป็น ใส่เลขหมายทางไกลนำหน้าของโทรศัพท์พื้นฐาน และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ เขตนครหลวง รหัสทางไกล 02 และเลขหมาย 7 หลักจาก (02) xxx-xxxx เป็น 0-2XXX-XXXX กลุ่มภาคกลางเขต 1 รหัสทางไกล 032 และเลขหมาย 6 หลักจาก (032) XXX-XXX เป็น 0-32XX-XXXX เป็นต้น และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ 01 มาเป็นการเรียก 01นำหน้าเลขหมาย 7 หลัก มาเป็น 0-1XXX-XXXX

พร้อมกันนี้ก็ได้เพิ่มกลุ่มเลขหมายเคลื่อนที่อีกหนึ่งกลุ่มคือ 09 ซึ่งเลขหมายเป็น 0-9XXX-XXXX แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการเปิดใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงได้มีการเพิ่มกลุ่มเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่ม 06 ซึ่งมีเลขหมายเป็น 0-6XXX-XXXX

  • หลังจากมีการต้องคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ การกำหนดเลขหมายจึงอยู่ในอำนาจของกทช. กทช.จึงได้นำเลขหมายที่ยังไม่เปิดใช้บริการในกลุ่มโทรศัพท์พื้นฐานจาก องค์การโทรศัพท์มาจัดสรรให้กับผู้ให้บริการเพื่อออกเลขหมายแก่ผู้ใช้บริการ ในหลักที่ 3 ของเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานในส่วนภูมิภาค เป็น 0, 1, 3 เช่น 0-30XX-XXXX, 0-33XX-XXXX,0-40XX-XXXX, 0-41XX-XXXX,0-46XX-XXXX,0-47XX-XXXX, 0-48XX-XXXX, 0-49XX-XXXX, 0-50XX-XXXX, 0-51XX-XXXX, 0-70XX-XXXX, 0-71XX-XXXX, 0-72XX-XXXX, 0-78XX-XXXX,0-79XX-XXXX ซึ่งเป็นเลขหมายที่ยังไม่ได้เปิดใช้ในขณะนั้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้เลขหมายในกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่
  • พ.ศ. 2547 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จึงได้มีการจัดทำแผนการปรับระบบเลขหมายโทรศัพท์ (Numbering Plan) โดยมีนโยบายเพิ่มหลักในเลขหมาย 1 หลักในเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโทรศัพท์ประจำที่(พื้นฐาน) โดยเพิ่มหลักหลังเลข 0 ด้วย เลข 8 ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งจะได้เป็น 08-XXXX-XXXX และเพิ่มเลข 8 ก่อนเลข 0 ของเลขหมายประจำที่ ซึ่งจะได้เป็น 80-XXXX-XXXX ซึ่งหลักที่ 2-10 ก็จะเป็นเลขหมายเดิมของโทรศัพท์พื้นฐาน ในขณะเดียวกันองค์การโทรศัพท์ (บริษัททีโอที จำกัด มหาชน)จึงได้นำเลขหมายในกลุ่มพื้นฐานที่ยังไม่เปิดใช้ให้แก่ สกทช.ไปจัดสรรเพิ่มเติม ได้แก่ 0-20XX-XXXX, 0-320X-XXXX, 0-328X-XXXX, 0-329X-XXXX, 0-340X-XXXX เป็นต้น ซึ่งก็เป็นการบรรเทาการขาดแคลนเลขหมายโทรคมนาคมเป็นการชั่วคราว
  • พ.ศ. 2549 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติจึง ได้มีการประกาศขยายเลขหมาย โดยเพิ่มหลักจำนวน 1 หลัก ด้วยเลข 8 หลังเลข 0 จาก 0-XXXX-XXXX เป็น 08-XXXX-XXXX แต่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติก็ไม่ได้เพิ่มหลักในเลขหมายโทรศัพท์ ประจำที่ ที่ใช้ระบบชุมสาย (โทรศัพท์พื้นฐาน)ซึ่งไม่มีการเพิ่มหลักในหลักแรกด้วยเลข 8 (80-XXXX-XXXX)แต่อย่างใดตามที่เคยมีประกาศแผนในปี พ.ศ. 2547 จึงมีเลขหมายแหมือนเดิมป็น 0-XXXX-XXXX โดย 0-2XXX-XXXX เป็นเลขหมายในเขตนครหลวง (กรุงเทพมหานคร,จังหวัดสมุทรปราการ, จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดปทุมธานี ) 0-32XX-XXXX ภาคกลางเขต 1 (จังหวัดราชบุรี, จังหวัดเพชรบุรี, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เป็นต้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
http://th.wikipedia.org/