X
MODIFY: Technology News
Technology, Innovation, and Education เทคนิดการใช้งาน สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ เรื่องไอที

UEFI คืออะไร Unified Extensible Firmware Interface

ความหมายของ Unified Extensible Firmware Interface หรือ UEFI

สำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ และอาจมีการตั้งค่าหรือติดตั้ง Windows อาจจะไปได้ยินคำว่า UEFI หรือคำว่า Bios กันมาบ้าง จึงอาจเกิดคำถามว่า UEFI คืออะไร ทำหน้าที่อะไร และมีความแตกต่างอย่างไรกับ Bios เรามาหาคำตอบของ UEFI กัน

ก่อนจะทำความรู้จักกับ UEFI เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Bios กันก่อน

BIOS คือเฟิร์มแวร์ที่ติดตั้งไว้ในแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์หรือฝังไว้ในเมนบอร์ด ซึ่ง Firmware จะถูกเก็บไว้ในชิปที่เรียกว่า bios ที่ติดกับเมนบอร์ดรูปแบบการเก็บจะเป็นการเก็บข้อมูลไว้แบบถาวรหรือที่เรียกว่า ROM มันจะไม่หายไปแม้จะไม่มีไฟสำรองก็ตาม (โดยจะใช้ชิปอีกตัวที่เรียกว่า CMOS ในการเก็บค่าการตั้งค่าแทน) มันทำหน้าที่ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆที่เชื่อมมาเมนบอร์ด เมื่อเริ่มต้นคอมพิวเตอร์จะเริ่มตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆที่ต่อเข้ามา รวมถึงการตั้งค่าฮาร์ดแวร์ต่างๆเช่น CPU, RAM, การ์ดจอ รวมไปถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อให้เราสามารถเลือกอุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆเพื่อเริ่มต้นใช้งานระบบปฏิบัติการต่อไป หรือการตั้งค่าอื่นๆ

UEFI คืออะไร

UEFI ย่อมาจาก Unified Extensible Firmware Interface คือ bios ที่ถูกอัปเกรดการทำงานของ bios ต่างๆที่ล่าสมัย ในเรื่องต่างๆ เพราะ bios มีข้อจำกัดหลายอย่างยกตัวอย่างเช่น มองไม่เห็นพื้นที่เก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ๆ รวมไปถึงไม่สามารถใช้งานเม้าส์ในหน้าต่าง bios ได้และความสามารถอื่นๆเพิ่มมาอีกมากมาย รวมไปถึงเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆเข้ามา  ซึ่งการมาของเจ้าตัว UEFI ไม่เพียงจะเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถใช้งานได้หลากหลายแล้ว ยังปรับเปลี่ยน UI หรือ Interface ให้ดูสวยงามเข้าใจง่าย สามารถใช้งานได้ง่าย

ในส่วนของ UEFI อาจมีให้ตั้งค่า Legacy Boot ที่เป็น Firmware ของ Bios และ UEFI Boot ที่ใช้ Firmware ของมันเอง หากตั้งค่าให้บูตแบบ Legacy Mode จำเป็นต้องใช้รูปแบบ Disk แบบ MBR แต่หากเป็น UEFI จะใช้รูปแบบ Disk แบบ GPT อ่านรายละเอียดของ Legacy Mode และ UEFI ได้ที่นี่

สรุปให้เข้าใจง่ายๆ UEFI ก็คือ Bios ที่เราเข้าใจนั้นเอง แต่จริงๆมันสมควรจะเรียกว่า UEFI ไม่สมควรที่จะใช้คำว่า Bios แต่คนติดปากเรียกเฟิร์มแวร์ของคอมพิวเตอร์ว่า Bios ไปแล้วมันก็เลยเป็นเหมือนคำเฉพาะไปแล้วจึงกลายเป็นคำสามัญที่อาจเรียกว่า Bios Mode UEFI หากจะเรียกว่า Bios แบบ UEFI ก็ไม่ถือว่าแปลกอะไร ถึงแม้ว่าความตั้งใจเดิมจะให้ใช้ชื่อเรียก UEFI แทนที่ Bios ก็ตาม