X
MODIFY: Technology News
Technology, Innovation, and Education เทคนิดการใช้งาน สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ เรื่องไอที

วิธี Format ไดรฟ์ต่างๆหรือ Flash Drive เรียนรู้ FAT32, NTFS, และ exFAT คืออะไร

สอนวิธีการ Format ต้องทำอย่างไร และการเลือกการใช้งาน FAT32, NTFS, และ exFAT คืออะไร

สำหรับผู้ใช้งานอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น HDD, SSD หรือ Flash น่าจะเคยได้ยินรูปแบบการ Format กันมาบ้าง วันนี้จะมาสอนวิธีการ Format ไดรฟ์ต่างๆของอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงอธิบายความหมายและ Option ต่างๆที่เราจะตั้งค่าการ Format ของอุปกรณ์ต่างๆว่ามันคืออะไร และมีอะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไร อธิบายความหมายของรูปแบบ FAT32, NTFS, และ exFAT คืออะไร

Format คืออะไร

Format เป็นคำภาษาอังกฤษั่วไปที่สามารถแปลออกมาได้ตรงตัวว่า “รูปแบบ” และถ้าถูกนำมาใช้กับระบบคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับพื้นที่เก็บข้อมูล Format Drive มันคือการจัดรูปแบบของ Disk หรือ ไดรฟ์ต่างๆ เพราะรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ มีมากว่า 1 รูปแบบ เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า FAT32, NTFS, และ exFAT นี้ก็ถือเป็นรูปแบบของ Disk เช่นเดียวกัน ซึ่งรูปแบบพวกนี้จะเรียกว่า การจัดการแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์

วิธีการ Format Drive

โดยปกติแล้วหากเราเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยระบบปฏิบัติการ Windows เราสามารคลิกขวาที่ไดรฟ์นั้นๆเพื่อทำการ format ได้ทันที (จะมีเมนูให้ใช้ในการ format) ดังภาพด้านล่าง

จากหน้าต่างด้านบนจะอธิบายความหมายของเมนูต่างๆดังต่อไปนี้

  • Capacity คือ ความจุ ของไดรฟ์ที่เรากำลังจะ format
  • file system คือรูปแบบการ Format ซึ่งจะแบ่งรูปแบบออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆด้วยกันได้แก่
    1. FAT32 ย่อมาจาก File Allocation Table เป็นรูปแบบของไดรฟ์ในยุคแรกๆ ตั้งแต่ยุคที่ความจุของไดรฟ์ยังมีไม่มาก จึงมีการทำงานที่ไม่ซับซ้อน มักถูกนำมาใช้กับที่เก็บข้อมูลภายนอกเช่น Flash Drive, Card ต่างๆ หรือ External drives เนื้องจากรองรับการเชื่อมต่อได้หลากหลายกว่า แต่ก็มีข้อจำกัดด้านข้อมูล เช่นไม่สามารถเก็บไฟล์เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่กว่า 4GB รวมถึงการแบ่งพาติชันที่ได้ไม่เกิน 8TB ไปรูปแบบทั่วไปและแค่ 2TB ใน Windows
    2. NTFS ย่อมาจาก New Technology File System พัฒนาโดย Microsoft ถือเป็นรูปแบบหลักของไมโครซอฟท์ที่ใช้งานในไดรฟ์หลักๆของ Windows โดยเฉพาะที่เก็บ Windows อย่างไดรฟ์ C: จะถูกตั้งค่าให้เป็นรูปแบบพื้นฐานสำหรับ Disk อย่าง HDD และ SSD (หลังจะถูกบังคับให้ใช้งานรูปแบบนี้หมด) รูปแบบของ NTFS ออกมาแทนตัวตั้งเดิมอย่าง FAT32 ซึ่งกำจัดขีดจำกัดของ FAT32 ออกไปทั้งหมด แต่จะไม่รองรับระบบปฏิบัติการอื่นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น MacOS หรือ Linux
    3. exFAT คือรูปแบบไดรฟ์แบบใหม่ที่สร้างมาแทนที่ FAT32 ที่กำจัดขีดจำกัดของ FAT32 ออกไปโดยยังคงโครงสร้างเดิมของ FAT32 เอาไว้ รองรับอุปกรณ์และระบบปฏิบัติการได้หลากหลายเหมือน FAT32 รูปแบบการใช้งานเหมือนกันคือมักนำมาใช้กับ Flash Drive, Card ต่างๆ หรือ External drives แต่คุณสมบัติก็ยังด่อยกว่า NTFS อยู่ดี
  • Allocation unit size คือ ขนาดของ block ที่เอาไว้เก็บข้อมูล (เราอาจคิดภาพตามได้หากเคยใช้งาน defragment) ยกตัวอย่างเช่นหากคุณตั้งค่า Allocation unit size เป็น 4096 bytes ที่เก็บข้อมูลในแต่ละ block จะมีขนาดเท่านี้ หากเราใส่ไฟล์ที่มีขนาด 1 MB ลงไป ก็จะมีจำนวน block อยู่ที่ประมาณ 245 บล๊อค การกำหนดบล๊อคให้ใหญ่หรือเล็กจะมีผลต่อเรื่องความจุที่อาจหายไปกับการกำหนดรูปแบบขนาดของ บล๊อค หากเรากำหนดไว้ใหญ่เกินไปและใส่ข้อมูลที่มีขนาดเล็กลงไป อาจทำให้บล๊อคนั้นๆใช้พื้นที่ไม่เต็มทำให้พื้นที่หายไปกับการกำหนดบล๊อค แต่การกำหนดบล๊อคให้มีขนาดใหญ่ก็เหมาะสำหรับการที่เราเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ๆ ซึ่งจะช่วยเรื่องของความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลด้วยเช่นเดียวกัน โดยปกติแล้วจะตั้งค่าตามที่ Format แนะนำจะเป็นการดีที่สุด
  • restore device defaults เป็นการคืนค่าเดิมหากมีการตั้งค่าไปแล้วไม่แน่ใจ
  • Volume label เป็นชื่อไดรฟ์ที่เราทำการ format จะตั้งอะไรก็ได้
  • Quick Format คือรูปแบบการ Fatmat แบบเร็วซึ่งจะตัดฟีเจอร์ต่างออกไปจากการ format แบบ full หรือแบบปกติเช่นจะไม่สแกนหา bad sector หรือตรวจสอบพื้นที่ต่างๆให้จึงทำให้การ format เร็วกว่าขั้นตอนปกติ

Format โดยใช้คำสั่งใน Command Prompt

  1. พิมพ์ diskpart และกด Enter
  2. พิมพ์ list disk เพื่อดู disk ภายในเครื่อง
  3. select disk x (ค่า X คือตำแหน่งของ Disk แนะนำให้ดูความจุหากไม่แน่ใจ)
  4. พิมพ์ clean แล้วกด enter เป็นการลบการตั้งค่าต่างๆใน Disk รวมถึงข้อมูลด้วย
  5. พิมพ์ create partition primary แล้วกด enter สร้าง partition ขึ้นมา
  6. จะทำหรือไม่ก็ได้ ให้พิมพ์ select partition 1 เพื่อเลือก partition ที่ต้องการจะ Format ซึ่งปกติแล้วจะมีแค่อันเดียวอยู่แล้วจึงบอกว่าไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ให้ข้ามไปข้อ 7 ได้เลย
  7. พิมพ์ format fs=exFAT quick แล้วกด enter (เราสามารถเปลี่ยนได้เป็น FAT32 หรือ NTFS ได้ตามที่ต้องการ)
  8. รอจนกว่าจะขึ้นครบ 100 percent completed
  9. พิมพ์ assign letter=U แล้วกด enter เป็นการกำหนดไดรฟ์ ทำหรือไม่ก็ได้ เพราะมันจะกำหนดให้เองโดยอัตโนมัติ

นี้ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการใช้งานคำสั่ง Format ให้ลองนำไปปรับใช้กันดู ข้อควรระวังตรวจสอบให้ดีก่อนที่จะทำการ format เพราะคุณจะไม่สามารถกู้ข้อมูลของคุณแบบปกติได้ ข้อมูลของคุณจะหายหมดหากทำการ format