[PR] เดลล์ อีเอ็มซี เผยผลวิจัยใหม่ ชี้มีเพียง 5% ขององค์กรขนาดใหญ่ที่เตรียมพร้อมไอที เพื่อรองรับการทำธุรกิจรูปแบบใหม่บนดิจิทัล

DELL EMC มุ่งช่วยองค์กรธุรกิจเปลี่ยนโฉมดาต้าเซ็นเตอร์ไปสู่ความทันสมัย ในระบบอัตโนมัติ


ประเด็นหลัก

  • 71 เปอร์เซ็นต์ ขององค์กรเห็นพ้องว่าหากไม่ปฏิรูปไอที ก็จะไม่สามารถแข่งขันได้
  • 95 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจถูกทิ้งอยู่หลังคู่แข่งที่รุดหน้าสู่เป้าหมายในการทำธุรกิจบนดิจิทัล ด้วยการปฏิรูปไอที
  • องค์กรที่เติบโตมากขึ้น มีแนวโน้มถึง 7 เท่าในการให้ความสำคัญกับไอทีในฐานะที่เป็นสิ่งสร้างความแตกต่างในด้านการแข่งขันและเป็นศูนย์กำไร
  • 96 เปอร์เซ็นต์ ขององค์กรที่เติบโตมากขึ้นมีรายได้ทะลุเป้าในปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มถึงสองเท่าว่าจะบรรลุเป้ารายได้ที่ตั้งไว้

เดลล์ อีเอ็มซี ประกาศผลการศึกษาชิ้นใหม่ที่จัดทำโดย Enterprise Strategy Group (ESG) โดยเผยว่าผู้นำด้านไอทีระดับอาวุโสและผู้จัดการที่มีอำนาจตัดสินใจในองค์กรขนาดใหญ่ที่เข้าร่วมการสำรวจทั่วโลกโดยส่วนใหญ่ ระบุว่าองค์กรของตนยังไม่ได้ก้าวสู่การปฏิรูปไอทีอย่างเต็มรูปแบบในทุกแง่มุมที่จำเป็นต่อการสร้างความสามารถในการแข่งขันได้

แม้ว่าการปฏิรูประบบไอทีแบบดั้งเดิม ถือได้ว่าเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับบริษัทต่างๆ  การปฏิรูปไปสู่ดิจิทัล ก็กลายเป็นแรงผลักดันที่ทำให้การปฏิรูปไอทีเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำเป็นอันดับแรก  อย่างไรก็ตามการศึกษากราฟแสดงการเติบโตของการปฏิรูปไอที (ESC 2017 IT Transformation Maturity Curve) ที่สนับสนุนการจัดทำโดย เดลล์ อีเอ็มซี แสดงให้เห็นว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจ ชี้ว่าองค์กรตัวเองอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกทิ้งให้ตามหลังกลุ่มบริษัทเล็กๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันที่กำลังปฏิรูประบบโครงสร้างไอที รวมถึงกระบวนการและวิธีการในการเร่งไปสู่เป้าหมายของการเปลี่ยนไปสู่องค์กรธุรกิจบนดิจิทัล

หลายองค์กรยังคงวัดอายุการทำงานของแอปพลิเคชันหากไม่ใช่หลายปี ก็หลายเดือน ซึ่งมีระบบโครงสร้างแบบไซโล และยังคงยึดมั่นในสถาปัตยกรรมแบบเดิมที่ไม่ยืดหยุ่น  ทั้งหมดนี้คืออุปสรรคขัดขวางความสำเร็จในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล

“ผลการศึกษาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่ามีลูกค้าจำนวนมหาศาลกำลังบอกเราว่าต้องการนำระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่มาใช้ให้ได้ประโยชน์จากโอกาสในยุคดิจิทัล” เดวิด โกลเดน ประธานบริษัท เดลล์ อีเอ็มซี กล่าว “อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบส่วนใหญ่กำลังถูกคู่แข่งกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์จากการที่สามารถถอดรหัสการปฏิรูปไอทีได้  และก็สามารถแข่งขันได้อย่างจริงจังมากขึ้นจากความสำเร็จในเรื่องนี้  และเมื่อองค์กรมีความคืบหน้าในการลงทุนปฏิรูปไอที ก็สามารถก้าวข้ามความขัดแย้งระหว่างระบบไอทีแบบเดิมกับความริเริ่มด้านธุรกิจบนดิจิทัล เพื่อตระหนักถึงเป้าหมาย เร่งเวลาออกสู่ตลอดได้อย่างรวดเร็วรวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน”

การศึกษากราฟแสดงการเติบโตของการปฏิรูปไอทีของ ESG 2017 ออกแบบมาเพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทของการปฏิรูปไอที ที่มีต่อการก้าวสู่ธุรกิจบนดิจิทัล  ทั้งนี้ ESG ได้นำโมเดลเรื่องการเติบโตที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจากงานวิจัยมาใช้ในการระบุความคืบหน้าเรื่องการปฏิรูปไอทีในขั้นตอนที่ต่างกัน พร้อมประเมินว่าองค์กรระดับโลกแห่งไหนบ้างที่ผ่านการปฏิรูปในขั้นตอนใด จากการตอบคำถามในเรื่องระบบโครงสร้างไอทีที่อยู่ภายในองค์กร รวมถึงกระบวนการทำงานและการวางแนวทางในองค์กร

จากการตอบการสำรวจทั่วโลก องค์กรที่เข้าร่วมจำนวน 1,000 แห่งจะถูกจัดกลุ่มตามขั้นตอนในการพัฒนาสู่การปฏิรูปไอที 4 ขั้นตอน ได้แก่

  • ขั้นตอนที่ 1 Legacy ระบบดั้งเดิม  (12%) ซึ่งยังขาดอยู่หลายสิ่ง หากไม่ใช่ทุกแง่มุมของการปฏิรูปไอทีตามการศึกษาจาก ESG
  • ขั้นตอนที่ 2 Emerging เพิ่งเริ่ม (42%) โดยแสดงให้เห็นความก้าวหน้าในเรื่องการปฏิรูปไอที แต่มีการนำเทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์ที่ทันสมัยมาใช้น้อยมาก
  • ขั้นตอนที่ 3 – Evolving มีพัฒนาการที่ดี (41%) โดยแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมันในการปฏิรูปไอที และมีการนำเทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์ที่ทันสมัย พร้อมวิธีการในการส่งมอบไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพมาใช้ในระดับกลางๆ
  • ขั้นตอนที่ 4 Transformed ปฏิรูปแล้ว โดยทำควบคู่ไปพร้อมกับความริเริ่มด้านการปฏิรูปไอที

ผู้ตอบสำรวจส่วนใหญ่ (71 เปอร์เซ็นต์) เห็นพ้องว่าการปฏิรูปไอทีเป็นสิ่งจำเป็นต่อการแข่งขันทางธุรกิจได้ต่อไป  85 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่มีการ “ปฏิรูป” เชื่อว่าองค์กรของตนอยู่ในจุดที่มีความ “แข็งแกร่ง” หรือ “แข็งแกร่งมาก” ในการแข่งขันและประสบความสำเร็จในตลาดได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อเทียบกับอีก 43 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่มีการเติบโตเรื่องนี้น้อยที่สุด

องค์กรที่ “ปฏิรูป” แล้วได้รายงานความคืบหน้าในการนำทรัพยากรไอทีมาใช้เพื่อเร่งออกนวัตกรรมผลิตภัณฑ์พร้อมออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น เปลี่ยนงานและกระบวนการที่ต้องทำเองให้เป็นระบบอัตโนมัติ และใช้ไอทีเป็นศูนย์กำไรแทนที่จะเป็นศูนย์ต้นทุน บริษัทเหล่านี้จะได้ประโยชน์ในประเด็นต่อไปนี้

  • (96 เปอร์เซ็นต์) ทำรายได้ทะลุเป้าปีที่มาผ่าน มากกว่าบริษัทที่เติบโตน้อยสุดถึงสองเท่า
  • น่าจะมีโอกาสรายงานถึงสัมพันธภาพความร่วมมือที่ดีมากระหว่างฝ่ายไอทีและฝ่ายธุรกิจ มากกว่าองค์กรที่เติบโตน้อยสุดได้มากถึง 8 เท่า
  • มีความก้าวหน้าที่ยอดเยี่ยมในการนำไอทีมาใช้เป็นศูนย์กำไรแทนที่จะเป็นศูนย์ต้นทุน (มีโอกาสมากกว่าบริษัทที่เติบโตน้อยสุดถึงเกือบ 7เท่า)
  • มีความเป็นไปได้ว่าฝ่ายธุรกิจมองว่าไอทีเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความแตกต่างในการแข่งขัน มากกว่าองค์กรที่เติบโตน้อยสุดถึง 7เท่า
  • นำทรัพยากรด้านไอทีมาใช้เร่งความเร็วในการออกนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และส่งผลิตภัณฑ์สู่ตลาดได้เร็วขึ้น (มีความเป็นไปได้ว่าจะทำได้เร็วกว่าองค์กรที่มีการเติบโตน้อยที่สุดถึง 6 เท่า)

 

สอดคล้องตามรายงานของ ESG การนำเทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์ที่ทันสมัยมาใช้ เช่น ระบบสตอเรจที่รองรับการขยายงานได้ และระบบโครงสร้างแบบควบรวม (converged) และไฮเปอร์-คอนเวิร์จ (hyper-converged) เหล่านี้ช่วยเพิ่มความคล่องตัวและรองรับการจัดสรรทรัพยากรในระบบโครงสร้างพื้นฐานได้ล่วงหน้า รวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชันและนำเสนอโครงการด้านไอที ทั้งนี้การศึกษายังพบประเด็นต่อไปนี้

  • 54 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจใช้ระบบโครงสร้างแบบควบรวมหรือแบบไฮเปอร์-คอนเวิร์จ เพื่อรองรับการใช้งานแอปพลิเคชัน
  • 58 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจนำระบบสตอเรจที่ขยายขอบเขตแบบ scale-out มาใช้ในบางความสามารถ
  • ราว 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจมุ่งมั่นที่จะนำ Software-defined มาใช้เป็นกลยุทธ์ในระยะยาว และเริ่มติดตั้ง ประเมินหรือวางแผนในการนำเทคโนโลยี Software-defined มาใช้บ้างแล้ว

สอดคล้องตาม ESG การนำกระบวนการด้านไอทีสมัยใหม่มาใช้ เช่น ความสามารถเรื่องการจัดสรรทรัพยากรล่วงหน้าได้ด้วยตัวเอง (Self-service provisioning) รวมถึงการใช้ไอทีเช่นพับบลิคคลาวด์ รวมถึงการนำวิธีการของ DevOps มาใช้ อาจเป็นหนึ่งในคุณสมบัติของบริษัทที่ปฏิรูปได้สำเร็จ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบประเด็นต่อไปนี้

  • 26 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจ มีความสามารถเรื่องการบริการด้วยตัวเอง (self-service) ครอบคลุม “หลายแง่มุม” หรือ “มีอยู่แล้ว”
  • 65 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจมีความคืบหน้าเรื่องการให้บริการผู้ใช้ในระดับที่ “ยอดเยี่ยม” หรือในระดับที่ “ยอมรับได้” ที่สามารถจัดสรรการใช้ทรัพยากรจากผู้ให้บริการพับบลิคคลาวด์ได้ล่วงหน้า
  • 43 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบ อ้างว่ามีการนำหลักการที่เป็นทางการ และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดของ DevOps มาใช้ “มากมาย” หรือในระดับที่ “ดี”

การวิจัยได้พิสูจน์ให้เห็นว่า บ่อยครั้งที่การปฏิรูปไอที จะสัมพันธ์กับความร่วมมือและสัมพันธภาพการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างฝ่ายไอทีและฝ่ายธุรกิจ การศึกษายังพบในประเด็นต่อไปนี้

  • 36 เปอร์เซ็นต์ ขององค์กรไอทีและผลลัพธ์จะถูกประเมินจากผู้บริหารระดับสูง หรือกรรมการบริหารในทุกเดือน และ 38 เปอร์เซ็นต์ มีการประเมินเป็นรายไตรมาส
  • 39 เปอร์เซ็นต์ ที่ผู้บริหารระดับอาวุโสด้านไอทีส่วนใหญ่จะขึ้นตรงกับซีอีโอ
  • 61 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่เติบโตน้อยที่สุด ชี้ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องในสายธุรกิจ มองไอทีว่าเป็น “ผู้ให้บริการที่มั่นคง แต่ก็ยังเป็นศูนย์กลางต้นทุนอยู่ดี”

ในงาน Dell EMC World ที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ปี 2017 ผู้เชี่ยวชาญจะสำรวจเกี่ยวกับการปฏิรูปไอทีและดูว่าการปฏิรูปช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายในการปฏิรูปสู่ดิจิทัลได้อย่างไร

 

จอห์น แมคไนจท์  รองประธาน ฝ่ายบริการด้านการวิเคราะห์และวิจัย Enterprise Strategy Group กล่าวว่า “บริษัทในปัจจุบันต่างวางใจกันมากยิ่งขึ้น ในการนำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างการเติบโตและปรับปรุงธุรกิจได้ครอบคลุมทุกแง่มุม  อย่างไรตาม ผลการวิจัยของ ESG พบว่าองค์กรที่ “ปฏิรูป” ไอทีได้อย่างเต็มรูปแบบนับว่ายังหาได้ยากเต็มทีในช่วงเวลานี้  แต่ข่าวดีก็คือยังมีประโยชน์อีกมากมายที่จะได้รับจากความคืบหน้าในการเติบโตไปในแนวทางเดียวกับกราฟดังกล่าว โดยสามารถก้าวสู่จุดนั้นได้ด้วยการทำตามพฤติกรรมขององค์กรที่ “ปฏิรูป” แล้วเหล่านี้

เกี่ยวกับผลการศึกษากราฟแสดงการเติบโตของการปฏิรูปไอที โดยเดลล์ อีเอ็มซี (Dell EMC IT Transformation Maturity Curve Study)

งานวิจัยนี้สนับสนุนการจัดทำโดยเดลล์ อีเอ็มซี โดยมี Enterprise Strategy Group เป็นผู้จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2016 และ 5 มกราคม 2017 โดยเป็นการจัดทำสำรวจผ่านเว็บ กับกลุ่มผู้บริหารด้านไอทีอาวุโส จำนวน 1,000 ราย รวมถึงผู้จัดการที่มีอำนาจตัดสินใจ และพนักงานที่มีความคุ้นเคยกับการวางงบประมาณและวางแผนงานด้านไอทีในอนาคต ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสั่งซื้อระบบโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา บราซิล สหราชอาณาจักร เยอรมัน ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ทั้งนี้ ผู้ตอบการสำรวจเหล่านี้ถือเป็นตัวแทนองค์กรระดับเอ็นเตอร์ไพร์ซในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย

About modify 4842 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.