X
MODIFY: Technology News
Technology, Innovation, and Education เทคนิดการใช้งาน สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ เรื่องไอที

ประกอบคอมพิวเตอร์เอง ต้องมีอะไร ต้องรู้อะไรบ้าง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบคอมพิวเตอร์ ใช้งานเอง

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบ PC หรือตั้งโต๊ะ จะอยู่ด้วยกันแล้ว 2 แบบด้วยกันคือ คอมพิวเตอร์ที่ประกอบมาแล้วแบบแบรนด์เมม และคอมพิวเตอร์ประกอบเอง (จริงๆ เราไม่ใช้เป็นประกอบ ให้ร้านประกอบให้ แค่เลือกอุปกรณเอง) และที่นิยมกันก็คืออย่างหลังคือคอมพิวเตอร์ประกอบเอง เพราะเราสามารถเลือกชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงงบประมาณได้เอง แต่มันจะมีปัญหานิดหน่อย สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ ที่ไม่รู้ว่าจะเอารุ่นไหนใส่รุ่นไหน หรือเข้ากันได้หรือไม่ได้ วันนี้เราจะมาเรียนนรู้วิธีการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ประกอบเองกันครับ

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะมีอะไรบ้าง

  • CPU (ซีพียู หรือ หน่วยประมวลผลกลาง) เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สำคัญมาก ถือเป็นตัวชี้วัดเรื่องราคา ความแรง ได้เลยทีเดียว
  • RAM (แรม) เป็นหน่วยความจำ ที่รองรับการใช้งาน หรือที่เรียกว่าหน่วยความจำชั่วคราว
  • HDD (ฮาร์ดดีส) เป็นหน่วยความจำถาวร หรือที่เก็บข้อมูล
  • graphic card (การ์ดจอ) เป็นการ์ดแสดงผล ที่มีผลกับความละเอียดของภาพ
  • Power supply (พาวเวอร์ซัพพลาย) ตัวจ่ายไฟ ไปยังเมนบอร์ด พัดลม และอุปกรณ์ต่างๆ
  • Mainboard (เมนบอร์ด) เป็นแผงวงจร ที่ทำหน้าที่รวมอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน รวมถึงชิปประมวลผลต่างๆ
  • Case (เคสคอมพิวเตอร์) ทำหน้าที่รวมทุกอย่างไว้ในกล่องสี่เหลี่ยม ที่เรียกว่าเคส
  • Monitor (หน้าจอ) จอคอมพิวเตอร์ ไว้แสดงผล

สีแดงคือสิ่งที่ขาดไม่ได้ หากจะประกอบคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ส่วนสีเขียว จะใส่หรือไม่ก็ได้

เมื่อเราเรียนรู้แล้วว่า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ต้องมีอะไรบ้าง คราวนี้เราจะมาเรียนรู้กันต่อว่า อุปกรณ์อะไรบ้าง ที่จำเป็นต้องมาพร้อมกัน หรือต้องมีสเปค ที่่เข้ากันได้บ้าง

CPU + Mainboard + RAM 3 สิ่งที่ต้องมาคู่กัน

อย่างแรกสำหรับการประกอบคอมพิวเตอร์ ที่ต้องรู้คือคำว่า Socket เพราะ Socket เป็นตัวกำหนดว่า ซีพียู และ บอร์ด จะเข้ากันได้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น เราใส่ใจอยากประกอบคอมพิวเตอร์ Intel Core i7 รุ่น 7700 ซึ่งเป็น Socket 1511 ก็ต้องหาเมนบอร์ดที่เป็น Socket 1511 มาใส่ เมื่อเราได้เมนบอร์ดมาแล้ว ก็ต้องดูว่า เมนบอร์ดังกล่าว รองรับ RAM แบบไหน BUS เท่าไหร่  ดูตัวอย่างด้านล่าง หากเราจะซื้อ CPU ที่เป็น Socket 1511

Asrock B250M-HDV

  • ASRock Super Alloy
  • Supports 7th and 6th Generation Intel® Core™ i7/i5/i3/Pentium®/Celeron®Processors (Socket 1151)
  • Supports DDR4 2400 (Intel® 7th Gen CPUs) / 2133 (Intel® 6th Gen CPUs)
  • 1 PCIe 3.0 x16, 2 PCIe 3.0 x1
  • Graphics Output Options: HDMI, DVI-D, D-Sub
  • Supports Triple Monitor
  • 7.1 CH HD Audio (Realtek ALC887 Audio Codec), ELNA Audio Caps
  • 6 SATA3, 1 Ultra M.2 (PCIe Gen3 x4 & SATA3)
  • 6 USB 3.0 (2 Front, 4 Rear)

ด้านบนเป็นสเปคของเมนบอร์ด ที่บอกว่าสามารถรองรับ CPU ของ Intel ที่สามารถใช้งานได้ทั้ง i7, i5, i3, Pentium และ Celeron ที่เป็น Socket 1151) ในสเปคของเมนบอร์ดยังบอกรายละเอียด ว่ารองรับ RAM แบบ DRR4 แบบ Bus 2400 ในกรณีใช้ 7th Gen หรือ bus 2133 กรณีใช้ 6th Gen (เราสามารถค้นหา gen หรือรุ่นของ CPU ของ Intel ได้จาก Intel เช่น https://ark.intel.com/th/products/family/95544/7th-Generation-Intel-Core-i7-Processors  เป็น list ของ Gen7 ของ i 7 ) นั้นหมายความว่า เราจะต้องซื้อแรมแบบ DDR 4 มาใส่ บัสเริ่นต้นที่ 2133

สำหรับเรื่อง Socket  เป็นสิ่งที่เราควรรู้ หรือติดตามข่าวบ้าง ว่าตอนนี้ Socket ไหนเป็น Socket ที่ใหม่ล่าสุด เพราะ Socket มีหลายรุ่น อาทิเช่น Socket 755, 1150, 1151, 2011 ของ Intel หรือ FM2, AM3, AM4 ของ AMD

หากเรามีความรู้เกี่ยวกับ 3 สิ่งนี้่ ก็สามารถประกอบคอมพิวเตอร์เองได้แล้ว ส่วนเรื่องส่วนประกอบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น HDD หน้าจอ การ์ดจอ เป็นอุปกรณ์ที่ต้องค่อยๆศึกษา เพราะนอกจาก 3 สิ่งที่กล่าวมาแล้ว อุปกรณ์อื่นๆ ส่วนใหญ่ สามารถใส่เข้ากันได้หมด