X
MODIFY: Technology News
Technology, Innovation, and Education เทคนิดการใช้งาน สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ เรื่องไอที

RAM แบบ Dual Channel, Single, Triple และ Quad คืออะไร

ทำความรํู้จักกับ Channel ของ RAM กัน

สำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์และมีความรู้บ้างเกี่ยวกับสเปคฯ หรือการประกอบคอมพิวเตอร์น่าจะเคยได้ยินเรื่องสเปคเกี่ยวกับ RAM มาบ้างว่าเป็น RAM แบบไหน ความจุเท่าไหร่ เร็วแบบไหน และอาจจะเคยได้ยินคำว่า RAM Dual Channel, RAM Single Channel หรืออื่นๆกันมาบ้าง บทความนี้จะมาขยายความของเรื่อง Channel ของ RAM กันว่ามีความหมายและความจำเป็นอย่างไรบ้างในการใช้งาน

Channel ของ RAM คืออะไร

Channel ของ RAM คือช่องทางในการสือสารระหว่าง CPU กับ RAM ที่มีการนำข้อมูลต่างๆมาเก็บไว้ที่ RAM เพราะ RAM เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ก็จะมีการรับและส่งข้อมูลกันระหว่าง CPU กับ RAM และ Channel ของ RAM ก็คือช่องทางที่เชื่อมต่อกันเปรียบเหมือนถนนที่เดินทางหากัน

ดังภาพด้านบนที่ Single Channel  ก็คือมี 1 เส้นทางต่างจาก Dual Channel ที่มี 2 ช่องทาง และในความเป็นจริงแล้วใน Channel  ก็จะมีช่องทางเล็กๆจำนวนมาก อยู่ภายใน Channel  อีกทีหนึ่ง รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ CPU และ RAM ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรจะอธิบายให้เป็นภาษาเข้าใจง่ายๆดังต่อไปนี้

สเปคของ CPU จะเป็นตัวกำหนด RAM ว่าต้องใช้ RAM ประเภทไหน, ขนาดความจุสูงสุดได้เท่าไหร่, แบนด์วิดธ์หน่วยความจำสูงสุด รวมถึงเรื่องของประเภทของ RAM เพราะหน้าที่ของแรมคือการเก็บความจำชั่วคราวที่เกิดจากการประมวลผลของ CPU หรือการรับค่ามาจาก CPU ฉนั้น CPU จึงมีความสัมพันธ์กับ RAM อยู่มาก และมีการติดต่อสือสารในการรับและส่งข้อมูลให้กันอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ทำงาน ยกตัวอย่างเช่น สเปคของ CPU ของ i7 8700K ที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับ RAM

จากภาพด้านบนจะบอกรายละเอียดว่า CPU นี้สามารถใส่แรมได้สูงสุด 128GB เป็นประเภท DDR4 bus 2666 (แบบยังไม่ oc) มีช่องทาง 2 ช่องทาง แบนวิชสูงสุดอยู่ที่ 41.6GB/s  ไม่รองรับแรมแบบ ECC จากข้อมูลนี้จะเห็นได้วา CPU ตัวนี้รองรับ Channel ของ RAM ได้สูงสุดอยู่ที่ 2 ช่องทางหรือก็คือ Dual Channel

ด้วยเหตุผลที่มันมีการติดต่อกันนี้เอง มันถึงมีเส้นทางหรือช่องทางที่เอาไว้สือสารรับส่งข้อมูลกัน นี้แหละที่เรียกว่า Channel ของ RAM โดยเราอาจจะเคยได้ยินช่องทางดังที่กล่าวมาแล้วคือ

  • Single Channel – 1 ช่องทาง
  • Dual Channel – 2 ช่องทาง
  • Triple Channel – 3 ช่องทาง
  • Quad Channel – 4 ช่องทาง

ในแต่ละ Channel จะมีช่องทางเล็กๆอยู่ใน Channel อีกที ขึ้นอยู่กับว่า CPU รองรับแบบไหน (ปัจจุบันเป็นแบบ 64bit)

การเพิ่มจำนวนของ Channel สามารถรองรับคำสั่งต่างๆในการรับหรือส่งข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น เปรียบเหมือนรถที่วิ่งอยู่บนถนน ถ้ามีช่องทางในการวิ่งเยอะขึ้นก็จะทำให้การเดินทางสะดวกยิ่งขึ้น ส่วนเรื่องของความเร็วหรือความจุ ก็ขึ้นอยู่กับ Bus และ ความจุของ RAM อีกทีหนึ่ง พวกนี้ล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Channel ช่วยเรื่องความเร็ว?

หลายคนเข้าใจว่า Channel ของ RAM ยิ่งมีมากยิ่งเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพของการทำงานคอมพิวเตอร์ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจริงๆแล้วมันก็ถูก แต่ไม่ทั้งหมด เพราะจำนวน Channel เป็นเหมือนถนนที่มากขึ้น ดังที่กล่าวไปแล้ว แต่หากช่องทางหรือถนนมันว่างอยู่ก่อนแล้ว ต่อให้มีถนนมากขึ้น มันก็ไม่ได้ช่วยให้เครื่องทำงานเร็วขึ้น แต่หากลักษณะการใช้งานมีคำสั่งหรือต้องติดต่อกับระหว่าง RAM กับ CPU ทีละหลายๆคำสั่งพร้อมๆกัน จำนวนของ Channel ก็จะช่วยเรื่องพวกนี้ได้ และยิ่งถ้ามีความเร็วที่ดีและความจุที่รองรับกัน ก็จะยิ่งช่วยให้ประสิทธิภาพของเครื่องทำงานได้ดียิ่งขึ้นนั้นเอง

การใส่แรมลงใน Slot ไม่ได้บอกจำนวน Channel ของ RAM

หลายคนมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Channel ของ RAM เช่น

  • หากใส่ RAM 1 ตัวจะเป็นแบบ Single Channel – ถูก
  • หากใส่ RAM 2 ตัวจะเป็นแบบ Dual Channel – ผิด
  • หากใส่ RAM 3 ตัวจะเป็นแบบ Triple Channel – ผิด
  • หากใส่ RAN 4 ตัวจะเป็นแบบ Quad Channel – ผิด

อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า CPU จะเป็นตัวกำหนดสเปค RAM ว่ามีสเปคเป็นอย่างไร ว่ารองรับ Channel ของ RAM  ได้แบบไหน CPU ทั่วไปที่เราใช้งานกันเช่นอย่าง Intel Core จะเป็น CPU ที่รองรับ RAM แบบ Dual Channel (ในสเปค CPU จะบอกจำนวน Channels)

ซึ่งในกรณีที่มันรองรับได้ 2 Channels นั้นหมายความว่ามันรองรับได้สูงสุดที่ 2 ช่องทาง ถ้าเราใส่ RAM ไป 1 ตัวจะเป็นการใช้งาน RAM แบบ Single Channel ถูกแล้ว แต่หากเราใส่ไป 2 ตัวก็จะเป็น 2 ช่องทางหรือที่เรียกกว่า Dual Channel แต่ต้องใส่ให้ถูกวิธี เช่น หากเมนบอร์ดมีช่องให้เสียบ 2 slot ใส่ไป 2 ตัวแรมก็จะทำงานแบบ Dual Channel แต่หากมี 4 slot จำเป็นต้องใส่ให้ถูกช่องทาง ถึงจะทำงานแบบ Dual Channel ดังภาพด้านล่าง

การใส่ RAM ที่มี 4 Slot จำเป็นต้องใส่ในช่องที่ทำให้ RAM ทำงานได้แบบ Dual Channel หากต้องการใช้งานแบบ Dual Channel ในกรณีที่ CPU รองรับแบบ 2 ช่องทาง โดยทั่วไปแล้วจะต้องใส่ในลักษณะช่องที่คู่กัน ดังภาพด้านล่าง

ปกติแล้วแรมที่มี 2 ช่องมักจะใส่ลักษณะ A1 คู่ กับ B1 และ A2 คู่กับ B2 (การใส่ RAM มักจะเลือกใส่ที่ A2 และ B2 ก่อน เพราะถือว่าเป็นช่องหลัก)

ในกรณีที่ RAM มีช่อง 4 slot และใส่ RAM ไป 4 ตัว ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นแบบ Quad Channel

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าสเปคของ CPU จำเป็นตัวกำหนดรุปแบบของ RAM และเมนบอร์ดก็ทำสร้างมาเพื่อให้รองรับกับที่ CPU รองรับ ในกรณีที่ CPU รองรับ Channel ได้แบบ 2 ช่องทาง (โดยทั่วไป) ถึงแม้เราใส่ RAM ไป 4 ตัวมันก็ไม่ได้ใช้งานแบบ 4 ช่องทาง แต่ยังคงใช้งานแค่ 2 ช่องทางเหมือนเดิม เพียงแต่ slot ที่เพิ่มเข้ามาเป็นเพียงการเพิ่มความจุให้กับ RAM เท่านั้น อย่างที่กล่าวไปแล้วเมนบอร์ดแบบ 4 slot มักจะมีช่องหลักที่ใช้งานอยู่ ยกตัวอย่างจากภาพด้านบน ช่องหลักอาจจะเป็น A2 และ B2 เวลาเราใส่ RAM เพิ่มเข้าไปในช่อง A1 และ B1 มันจะเป็นเหมือนเพิ่มความจุให้กับ A2 และ B2 แต่แลกมากับค่าดีเลย์ในการอ่านและเขียนเล็กน้อยในการติดต่อระหว่างช่องหลักและช่องรอง นั้นหมายความว่าการใส่ RAM แบบ 4 Slot ก็ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นแบบ Quad Channel แต่อย่างใด

ส่วนการทำงานของ Triple Channel และ Quad Channel ก็จะใช้หลักการเดียวกันกับ Dual Channel ที่เพิ่มช่องทางเพิ่มเข้ามาจาก Single Channel แต่ CPU ที่รองรับทั้ง 2 แบบนี้ก็จะเป็น CPU ที่ออกแบบมาทำงานแบบเฉพาะ อันนี้ก็ต้องไปอ่านรายละเอียดของ CPU ที่รองรับ และสเปคของเมนบอร์ดที่ทำออกมารองรับ CPU ได้หมดหรือเปล่าด้วย ทั้งหมดล้วนสัมพันธ์กัน

นี้เป็นรายละเอียดเล็กๆน้อยเกี่ยวกับเรื่องของ Channel ของ RAM หวังว่าคงทำให้มองภาพของการทำงานของแรมออก และช่วยให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น