X
MODIFY: Technology News
Technology, Innovation, and Education เทคนิดการใช้งาน สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ เรื่องไอที

Hard Disk Drive (HDD) มีเสียงตอนทำงาน ปกติหรือไม่

HDD มีเสียงดังตอนเขียนอ่านข้อมูลปกติหรือไม่

เป็นที่ทราบกันว่าการใช้งานที่เก็บข้อมูลแบบ Hard Disk Drive (HDD) จะเป็นการเก็บข้อมูลแบบจานหมุนแม่เหล็ก ที่ต้องอ่านข้อมูลในขณะ Disk หมุนอยู่ ในบางครั้งเราใช้งาน HDD บางตัวมีเสียง บางตัวไม่มีเสียง และทำให้หลายคนเกิดความกังวลใจว่า ถ้าหาก HDD มีเสียงเกิดจากอะไร เสียหรือไม่ และปกติแล้ว HDD ต้องมีเสียงหรือไม่ เป็นเรื่องปกติหรือไม่อย่างไร

HDD แบบจานหมุน

Hard Disk Drive

Hard Disk Drive (HDD) มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน สารแม่เหล็กนี้จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก มีหัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการอ่าน เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ

  1. อัตราการส่งผ่านข้อมูล (Data rate) คือ จำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล
  2. เวลาค้นหา (Seek time) คือ หน่วงเวลาที่หัวอ่านต้องใช้ในการเข้าไปอ่านข้อมูลตำแหน่งต่าง ๆ ในจานแม่เหล็ก

Hard Disk Drive (HDD) มีเสียงเกิดจากอะไร

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า HDD ทำงานในรูปแบบที่ต้องมีการเคลื่อนไหว หรือหมุนอยู่ตลอดเวลา อะไรที่ใช้การเคลือนไหว แน่นอนว่าจะต้องเกิดเสียงขึ้นได้ ถือเป็นเรื่องปกติ โดยปกติแล้วเสียงที่เกิดจาก HDD จะเป็นเสียงหวีดๆ จีดเบาๆ เสียงเรียบๆ อาจมีดังขึ้นไต่ระดับหากมีการใช้งานในการอ่านเขียนข้อมูลมากขึ้น

ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีการปรับรูปแบบให้ HDD มีเสียงน้อยลงรวมถึงเรื่องระบบเก็บเสียง ทำให้ผู้ใช้อาจจะไม่ได้ยินเสียงการทำงานของ HDD ใน HDD บางรุ่นบางยี้ห้อ แต่หากได้ยินเสียงดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็ไม่ถือเป็นเรื่องแปลกอะไร

เสียง HDD แบบไหนที่ต้องกังวล

ถึงแม้ว่าการเกิดเสียงของ HDD จะมีบ้างก็ไม่ถือเป็นเรื่องแปลกอะไร แต่ก็ต้องคำนึงว่ามีเสียงที่ไม่ควรเกิดหรือหรือเสียงที่อาจส่งสัญญาณว่า HDD ของคุณอาจจะเริ่มมีปัญหา

เสียงที่เราคาดการณ์ว่า HDD ของเราเริ่มมีปัญหาจะเป็นเสียงที่เราไม่คุ้นเคยเกิดขึ้น หากใช้งานคอมพิวเตอร์เราจะทราบการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของเรา หากมีเสียงที่ผิดปกติ อาจคาดการณ์ว่าอาจเกิดจากเสียงของ HDD ที่ไม่ปกติ หรือเสียงที่ฟังดูแล้วจะเป็นลักษณะเสียงแบบเสียงโขก หรือดังแก็กๆ หรือ แต๊กๆ เสียงพวกนี้ส่วนใหญ่มักเกิดจากการพยามอ่านจุดที่ไม่สามารถอ่านได้ ซ้ำๆ ทำให้เกิดมีเสียงดังกล่าว หากมีเสียงที่ดังผิดปกติ ผู้ใช้ควรหยุดการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือปิดโปรแกรมหรือการกระทำใดๆที่ส่งผลต่อการอ่านข้อมูลนั้น เพราะการอ่านข้อมูลที่อ่านไม่ได้ อาจส่งผลทำให้จานแม่เหล็กเป็นรอยที่เกิดจากหัวอ่านไปข่วนจานเก็บข้อมูล และจะทำให้เกิดความเสียหายต่อที่เก็บข้อมูลหรือ HDD ได้

นั้นหมายความว่าเสียงที่เกิดขึ้นก็มีผลต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์ของเรา ถ้าเสียงที่เกิดขึ้นในลักษณะดังกล่าว ควรที่จะเริ่มสำรองข้อมูลที่สำคัญๆ และตรวจสอบโปรแกรมเช็ค HDD หากมีการเสียงหายหรือ bad sector อาจต้องทำการเปลี่ยน HDD ที่ใช้งานใหม่ม

Automatic Acoustic ManageMent (AAM)

Automatic Acoustic ManageMent (AAM) เป็นฟังก์ชันที่ช่วยให้คุณสามารถลดเสียงรบกวนจากฮาร์ดดิสก์ที่กำลังค้นหาข้อมูล โดยปกติแล้ว HDD รุ่นใหม่ๆจะมีฟีเจอร์ช่วยลดเสียงรบกวนในการอ่านข้อมูลของฮาร์ดีสก์ดังที่กล่าวไปแล้ว ซึ่งเราสามารถปรับการตั้ค่าในโปรแกรมจัดการ HDD เช่น HD Tune เราสามารถปรับการตั้งค่าได้ตั้งแต่ 128 – 254 ซึ่งตัวเลขยิ่งน้อยเสียงจะเบา แต่การทำงานก็ด่อยลงเล็กน้อย ตัวเลขยิ่งมากก็จะทำให้มีเสียงที่ดังขึ้น เราสามารถปรับและทดสอบความดังของเสียงได้ ซึ่งปกติแล้วก็จะไม่ค่อยรู้สึกถึงความแตกต่างเรื่องเสียงเท่าไหร่นัก

ใน HDD บางรุ่นหรือบางตัวที่อาจจะตัดฟีเจอร์ดังกล่าวออกไป อาจทำให้มีเสียงดังของ HDD ตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้งาน ซึ่งหากเป็นดังข้อนี้ก็ถือเป็นเรื่องปกติที่อาจมีเสียงดังบ้างในการใช้งาน