เทพนิยายกริมม์ มันคืออะไรหว้า Google หาคำใหม่ๆมาอีกแล้ว

thumbnail default

เทพนิยายกริมม์


grimm-fairy-talesวันนี้ Google มีลูกเล่นมาใหม่อีกแล้วกับคำว่า เทพนิยายกริมม์ บอกตรงๆไม่เคยได้ยินแต่วันนี้ Google เปลี่ยน Doodle มาใหม่เลยค้นหาข้อมูลกันต่อไปว่า เทพนิยายกริมม์ มันคืออะไร ทำไม Google ต้องให้ความสำคัญและวันที่ 20 ธันวาคมเกี่ยวอะไรกับคำว่า เทพนิยายกริมม์ มาดูกันเลยดีกว่า

เทพนิยายกริมม์
เทพนิยายกริมม์ Doodle by Google

เทพนิยายกริมม์ เกิดขึ้นจากความสนใจอย่างลึกซึ้งในด้านภาษา ไวยกรณ์
และประวัติศาสตร์ของสองพี่น้อง เจคอบ กริมม์ (Jacob Grimm) และวิลเฮล์ม กริมม์ (Wilhelm Grimm) ชาวเยอรมัน โดย นิทานของพวกเขารวบรวมขึ้น
จากคำบอกเล่าที่ได้ฟังมา และได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1812 ด้วยชื่อ 
Children’s and Household Tales (นิทานสำหรับเด็กและนิทาน
ประจำบ้าน)
 ซึ่งในภาษาอังกฤษมักเรียกกันว่า Grimm’s Fairy Tales
(เทพนิยายกริมม์)

ในช่วงแรกได้รับเสียงวิจารณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก ด้วยเรื่องราวที่มิได้สวยงามอ่อนหวาน ดังที่ได้อ่านกันในปัจจุบัน แต่ต่อมาภายหลังมีการขัดเกลา เนื้อเรื่องให้น่าอ่านมากขึ้น
และเมื่อได้รับการแปลเป็นภาษาอื่น ยังมีการตัดทอนเนื้อหาที่ล่อแหลม หรือรุนแรง บางส่วนออกไปด้วย

นิทานจากสองพี่น้องตระกูลกริมม์นั้น มีจินตนาการหลากหลาย ทั้งเวทมนตร์วิเศษ
ภูตเอลฟ์ตัวเล็ก ยักษ์ตัวใหญ่ สัตว์ที่กลายเป็นคน และคนที่แปลงร่างเป็นสัตว์ได้
รวมถึงนิยมขึ้นต้นด้วยวลีว่า “กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว” เรื่องที่รู้จักกันดี เช่น
สไนว์ไวท์, ซินเดอเรลลา, ราพันเซล, เจ้าหญิงนิทรา และหนูน้อยหมวกแดง เป็นต้น

ตลอดชีวิตพวกเขาทำงานอยู่ใกล้ชิดกัน แม้การลงนามในสัญญาต่างๆ ก็ยังใช้ชื่อร่วม
ว่า “พี่น้องตระกูลกริมม์” โดยนอกจากผลงานนิทานที่ได้รับความนิยมแล้ว ยังเป็น
ผู้ศึกษาภาษาเก่าแก่ ศาสตราจารย์ บรรณารักษ์ และผู้มีอิทธิพลในการเคลื่อนไหว
เพื่อประชาธิปไตยในเยอรมนีอีกด้วย แม้ปัจจุบันสองพี่น้องตระกูลกริมม์
จะจากโลกนี้ไปแล้ว แต่ผลงานยังคงมีชีวิตอยู่ตราบจนทุกวันนี้

ล่าสุด Google ได้ฉลองครบรอบ 200 ปีของ เทพนิยายกริมม์ ผลงานที่สำคัญๆของ เทพนิยายกริมม์ ก็คือ     เจ้าหญิงนิทรา    ซินเดอเรลล่า    สโนว์ไวต์   หนูน้อยหมวกแดง ไม่น่าเชื่อนะผ่านไปแล้ว 200 ปี

ข้อมูลบางส่วนจาก
http://www.lib.ru.ac.th

About modify 4845 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.