
หลายคนคงคุ้นเคยกับการวัดความด้น ในขณะที่หลายคนไม่เคยวัดเลย แต่เคยเห็นพบเจอมาบ้าง เพราะไม่ว่าจะเราป่วย หรือเป็นอะไรมา เข้าโรงพยาบาล อย่างแรกที่คุณพยาบาลจะทำคือการวัดความดัน ฉนั้นมันต้องมีความหมาย และสำคัญ และมันมีความสำคัญอย่างไร วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ ความดันโลหิตหรือความดันเลือด กัน
ความดันเลือดหรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า blood pressure เป็นความดันที่เกิดจากเลือดหมุนเวียนกระทำต่อผนังหลอดเลือด และเป็นหนึ่งในอาการแสดงชีพที่ สำคัญ คำว่า “ความดันเลือด” โดยไม่เจาะจงปกติหมายถึง ความดันเลือดแดงของการไหลเวียนเลือดทั่วกาย ระหว่างหัวใจเต้นแต่ละครั้ง ความดันเลือดแปรผันระหว่างความดันสูงสุด (ช่วงการบีบตัวของหัวใจ) และความดันต่ำสุด (ช่วงหัวใจคลายตัว) ความดันเลือดในการไหลเวียนเลือดเกิดจากการสูบของหัวใจเป็นหลัก ผลต่างของความดันเลือดเฉลี่ยเป็นผลให้เลือดไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ในการไหลเวียนเลือด อัตราการไหลของเลือดเฉลี่ยขึ้นอยู่กับทั้งความดันเลือดและความต้านทานต่อการ ไหลของหลอดเลือด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงเมื่อเลือดไหลเวียนเคลื่อนห่างจากหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดฝอย เนื่องจากการสูญเสียพลังงานกับความหนืด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงตลอดทั้งการไหลเวียนเลือด แม้ส่วนมากจะตกลงในหลอดเลือดแดงเล็กและหลอดเลือดแดงจิ๋ว (arteriole) ความโน้มถ่วงมีผลต่อความดันเลือดผ่านแรงอุทกสถิต (คือ ระหว่างยืน) และลิ้นในหลอดเลือดดำ การหายใจและการสูบจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อลายยังผลต่อความดันในหลอดเลือดดำ
อธิบายง่ายๆ เรามักมองความดันแค่ตัวเลขเดียวคือ ช่วงการบีบตัวของหัวใจ แต่จริงๆแล้วตัวล่างอย่าง ช่วงหัวใจคลายตัว ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ตัวเลขการวัดความดันจะเป็นประมาณว่า 110/70 (ตัวบนและตัวล่าง)
ระดับของความดันเลือด
หมวดหมู่ | ความดันช่วงหัวใจบีบ, mm Hg | ความดันช่วงหัวใจคลาย, mm Hg |
---|---|---|
ฉนั้นการวัดความดันโลหิตถึงมีความสำคัญอย่างมากในการตรวจต่างๆ เพราะจะทราบพื้นฐานของผู้ป่วยได้ว่า เกิดจากความดันหรือไม่ และความดัน อาจบ่งบอกได้ว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรค ความดันโลหิต, เบาหวาน, โรคไต และอื่นๆได้อีกด้วย
เนื้องหาบางส่วนจาก – วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ภาพจาก en.wikipedia