ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร ป้องกันอย่างไร อันตรายหรือไม่

PM 2.5

ทำความรู้จักกับฝุ่นละออง PM 2.5 ให้มากขึ้น


ช่วง 1-2 อาทิตย์ที่ผ่านมาเราคงได้ยินข่าวหมอกฝุ่นละอองในเขตกรุงเทพมหานคร ที่หลายฝ่ายให้ความเห็นตรงกันว่าเกิดมาตรฐานและมีคำว่า PM 2.5 เกิดขึ้นมา ทำให้หลายคนอยากรู้จักกับฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ว่านี้่ให้มากขึ้นกว่าเดิม ว่ามันคืออะไร จะป้องกันได้อย่างไร และมีอันตรายมากหรือไม่หากสูบดมเข้าไปเยอะๆ ค่าแค่ไหนถึงปลอดภัยหรืออันตราย วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ PM 2.5 กันให้มากขึ้นครับ

PM 2.5

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ามันคือฝุ่น แต่ที่มีชื่อเฉพาะเจาะจงว่า PM 2.5 เพราะ PM ย่อมาจาก Particulate Matters ซึ่งแปลงความหมายได้ตรงตัวคือฝุ่นละอองนั้นเอง ส่วนตัวเลข 2.5  เป็นค่าที่แสดงขนาดของฝุ่นโดยมีหน่วยเป็นไมครอน ซึ่งจะเล็กแค่ไหน ให้เทียบกับเส้นผมกันดู ภาพด้านล่าง

2.5 PM

ด้วยความที่ขนาดของฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กมาก ทำให้ระยะเวลาที่ลอยอยู่บนอากาศนานกว่าฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่ และยิ่งสภาพอากาศส่งด้วยแล้ว เราอาจเห็นฝุ่นดังกล่ารวมตัวกันเป็นหมอกได้เลย

ฝุ่น PM 2.5 มีอันตรายหรือไม่

ขึ้นชื่อว่าฝุ่นละอองแล้ว ไม่ว่าจะมีขนาดเท่าไหร่ ล้วนแล้วแต่มีอัตรายต่อร่างกันทั้งหมดหากสูบเข้าไปมากเกินไป แต่ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนลงมา ด้วยว่ามันมีขนาดที่เล็กมาก ทำให้สามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ แม้จมูกของเราจะมีการป้องกันในระดับหนึ่งไม่ว่าจะเป็นขนจมูกหรือเมือกในโพรงจมูก ก็ไม่อาจป้องกันได้เพราะมันมีขนาดเล็กนั้นเอง หากรับฝุ่นละอองมากเกิดไปอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคทางเดินหายใจได้

ค่าเท่าไหร่ถึงเรียกกว่าปลอดภัย

แต่ละประเทศกำหนดค่าฝุ่น PM2.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรถึงเกิดมาตรฐานไม่เท่ากัน โดยประเทศไทยกำหนดค่าไว้ที่ไม่เกิด 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรจากค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง โดยภาพด้านล่างเป็นค่าของฝุ่น PM 2.5 ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 ในเขตกรุงเทพมหานคร

PM 2.5

ดัชนีคุณภาพอากาศ เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ซึ่งดัชนีคุณภาพอากาศเป็นรูปแบบสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และประเทศไทย เป็นต้น

ดัชนีคุณภาพอากาศที่ใช้อยู่ในประเทศไทย คำนวณโดยเทียบจากมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไปของสารมลพิษทางอากาศ 5 ประเภท ได้แก่ ก๊าซโอโซน (O3) เฉลี่ย 1 ชั่วโมง ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เฉลี่ย 1 ชั่วโมง ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เฉลี่ย 8 ชั่วโมง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง และฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ดัชนีคุณภาพอากาศที่คำนวณได้ของสารมลพิษทางอากาศประเภทใดมีค่าสูงสุด จะใช้เป็นดัชนีคุณภาพอากาศของวันนั้น

ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง มากกว่า 300 ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย โดยดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนั้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย

AQI ความหมาย สีที่ใช้ แนวทางการป้องกันผลกระทบ
0-50 คุณภาพดี ฟ้า ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
51-100 คุณภาพปานกลาง เขียว ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
101-200 มีผลกระทบต่อสุขภาพ เหลือง ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังภายนอกอาคาร
บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ไม่ควรทำกิจกรรมภายนอกอาคารเป็นเวลานาน
201-300 มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก ส้ม ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมภายนอกอาคาร
บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ควรจำกัดการออกกำลังภายนอกอาคาร
มากกว่า 300 อันตราย แดง บุคคลทั่วไป ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังภายนอกอาคาร
สำหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรอยู่ภายในอาคาร

การคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศรายวันของสารมลพิษทางอากาศแต่ละประเภท (i)

จะคำนวณจากค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศจากข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ โดยแต่ละระดับของค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศเทียบเท่ากับค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่ระดับต่างๆ  และมีสูตรการคำนวณดังนี้

กำหนดให้

Xi = ความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศจากผลการตรวจวัด
Xij = ความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่เป็นค่าต่ำสุดของช่วงพิสัยที่มีค่า Xi นั้น
Xij+1 = ความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่เป็นค่าสูงสุดของช่วงพิสัยที่มีค่า Xi นั้น
Ii = ค่าดัชนีย่อยคุณภาพอากาศ
Iij = ค่าดัชนีย่อยคุณภาพอากาศที่เป็นค่าต่ำสุดของช่วงพิสัยที่มีค่า Ii นั้น
Iij+1 = ค่าดัชนีย่อยคุณภาพอากาศที่เป็นค่าสูงสุดของช่วงพิสัยที่มีค่า Ii นั้น
AQI = ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ

ค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่เทียบเท่ากับค่าดัชนีคุณภาพอากาศ

AQI PM10 (24 hr.) O3 (1 hr.) SO2 (24 hr.) NO2 (1 hr.) mg/m3
µg/m3 µg/m3 ppb µg/m3 ppb µg/m3 ppb µg/m3 ppm
50 40 100 51 65 25 160 85 5.13 4.48
100 120 200 100 300 120 320 170 10.26 9.00
200 350 400 203 800 305 1,130 600 17.00 14.84
300 420 800 405 1,600 610 2,260 1,202 34.00 29.69
400 500 1,000 509 2,100 802 3,000 1,594 46.00 40.17
500 600 1,200 611 2,620 1,000 3,750 1,993 57.50 50.21

ที่มา – Brochure: Air Quality Index (AQI) 

ก่อนหน้ามีมีการรายงานข่าว ที่โด่งดังเกี่ยวกับค่าของฝุ่นดังกล่าวเกิดค่ามาตรฐานไปมาก บ้างก็ว่าเกิดว่าค่ามาตรฐานไป 2-3 เท่าตัว ซึ่งเอาเข้าจริงๆแล้ว เว็บไซต์ที่คำนวณแบบผิดวิธี ซึ่งทาง “กรมควบคุมมลพิษ” ชี้แจงไว้ดังต่อไปนี้

เนื่องจากมีการนำข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครจากเว็บไซด์ของ Worldwide Air Quality ไปใช้อ้างอิงและสื่อสารสู่สาธารณะ ดังเช่นการรายงานข่าวประจำวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีการนำเสนอหัวข้อข่าว “กรุงเทพฯ ฝุ่นละออง PM2.5 เกินมาตรฐาน 3 เท่า สจล.จี้ภาครัฐควรเร่งแก้ไข” โดยอ้างอิงข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) จากเว็บไซด์ Worldwide Air Quality และระบุว่ากรุงเทพมหานครมีค่า PM2.5 อยู่ที่ระดับ 151 มคก./ลบ.ม. ในเขตพื้นที่ฝั่งธนถือว่าเกินค่ามาตรฐานถึง 3 เท่า นั้น

ทางกรมควบคุมมลพิษขอชี้แจงว่า ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศที่แสดงในเว็บไซด์ Worldwide Air Quality เกิดจากทางเว็บไซด์ดังกล่าวนำข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศรายชั่วโมงของกรมควบคุมมลพิษที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซด์ ‭‭aqmthai.com‬‬ ไปคำนวณและเปรียบเทียบโดยใช้เกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของ US.EPA ซึ่งจากข้อเท็จจริงผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 พบปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกพื้นที่ โดยตรวจวัดได้อยู่ในช่วง 38-49 มคก./ลบ.ม. (มาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง 50 มคก./ลบ.ม.) สำหรับข่าวที่อ้างอิงค่าจากเว็บไซด์ Worldwide Air Quality และระบุว่าค่า 151 มคก./ลบ.ม. ความจริงแล้วค่าดังกล่าวเป็นค่าดัชนีคุณภาพอากาศ โดยเป็นการนำค่า PM2.5 ชั่วโมงล่าสุดไปคำนวณเพื่อเปลี่ยนเป็นค่าดัชนีคุณภาพอากาศตามเกณฑ์ของค่าดัชนีคุณภาพอากาศของ U.S. EPA ทำให้ค่าที่แสดงคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากค่าดัชนีคุณภาพอากาศเป็นค่าที่ไม่มีหน่วย และระดับการแบ่งช่วงค่าและความหมายของสีที่ใช้ระหว่างดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยและของ U.S. EPA มีความแตกต่างกัน เนื่องจาก ระดับ AQI ที่ 100 โดยทั่วไปจะมีความสัมพันธ์กับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศที่แต่ละประเทศกำหนด ซึ่งค่ามาตรฐานระหว่างประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกายังมีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้

ในขณะนี้ กรมควบคุมมลพิษอยู่ระหว่างการปรับปรุงการคำนวณค่าดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย โดยจะนำค่า PM2.5 มาใช้ร่วมในการคำนวณ ควบคู่ไปกับการเร่งติดตั้งเครื่องตรวจวัด PM2.5 ให้ครบทุกสถานีตรวจวัด รวมถึงการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลคุณภาพอากาศสำหรับใช้ในการคำนวณพร้อมทั้งการสื่อสารทำความเข้าใจค่าดัชนีคุณภาพอากาศต่อสาธารณชน
ทั้งนี้ หากท่านใดประสงค์จะขอข้อมูลคุณภาพอากาศเพื่อการรายงานข้อมูลคุณภาพสู่สาธารณะที่ถูกต้อง หรือประสงค์จะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากแหล่งอื่น รวมถึงหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลหรือสถานการณ์คุณภาพอากาศสามารถเข้าไปดูที่เว็บไซด์ ‭air4thai.pcd.go.th‬ และ ‭aqmthai.com‬ หรือติดต่อและสอบถามได้ที่สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ

หน้ากากป้องกันฝุ่น

Face Mask

เราคงจะคุ้นตากับหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากกันฝุ่นแบบธรรมดา ซึ่งหน้ากากแบบนั้นสามารถป้องกันฝุ่นที่มีขนาดใหญ่แบบทั่วๆไปได้เท่านั้น ไม่สามารถป้องกันฝุ่นที่มีขนาดแบบ PM 10 และยิ่งเล็กลงไปอย่าง PM 2.5 แล้ว ไม่ต้องพูดถึงเพราะหน้ากากอนามัยแบบธรรมดาไม่สามารถป้องกันฝุ่นที่เล็กขนาดนั้นได้เราจำเป็นต้องใช้หน้ากากแบบมาตรฐาน KN 95 ที่สามารถ กรองฝุ่นละออง และฟูมโลหะต่างๆ 0.3 ไมครอน ได้ไม่น้อยกว่า 95 %

3M Nexcare Respirator KN95

ติดตามสภาพอากาศของประเทศไทยได้ที่

สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
เฟสบุ๊คกรมควบคุมมลพิษ
– กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

About modify 4842 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.