Fake News คืออะไร ข่าวปลอมที่มีผลกระทบ กับสังคมออนไลน์

social network
social network

ทำความรู้จักกับ Fake News บนสังคมออนไลน์


ยุคที่สังคมออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของใครหลายคน อีกทั้งสือสังคมออนไลน์เป็นการติดต่อสือสารที่รวดเร็ว เข้าถึงง่าย การรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นไปอย่างง่ายดาย ผู้รับสือสามารถรับข่าวต่างที่มา ต่างผู้เผยแพร่ ได้หลายทีในเวลาเดียวกัน ต้นทุนในการผลิตสือ และกระจายสือถูกลง เพียงแต่โพสต์ลงบนหน้า Feed, กลุ่ม หรือเพจ ก็ถือเป็นการกระจายสือ ที่แทบไม่มีต้นทุนใดๆ ใครก็สามารถเป็นผู้ผลิตสือได้

Fake News

ใครก็เป็นผู้ผลิตสือได้? ทุกวันนี้หากใครใช้งานสือสังคมออนไลน์ โพสต์สือแบบสาธารณะ ก็ถือเป็นการเผยแพร่สือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยิ่งมีเพื่อนหรือผู้ติดตามเยอะ สือที่เสนอน่าสนใจ การแพร่กระจายสือจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ใครก็ได้ สามารถเป็นเจ้าของสือได้ ซึ่งที่มาของสือนี้เอง ที่มีผู้ผลิตสือที่หลากหลาย จึงเกิดสือที่ ไม่มีคุณภาพ ข้อมูลผิด ทั้งตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ จึงเกิดเป็นที่มาของคำว่า Fake News

Fake News คืออะไร

Fake News แปลตรงๆจากภาษาอังกฤษแปลว่า ข่าวปลอม ข่าวลวง  คำว่า Fake News เป็นคำที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตามยุคตามสมัย หากนิยามตามความหมายของ “Fake News” มันก็คือข่าวปลอม ข่าวไม่จริง  โดยนิยามความหมายของ Fake News มีหลากหลาย ทั้งยังมีการแบ่งประเภทของ Fake News ออกเป็นประเภทๆ เพื่อให้เกิดการแบ่งเป็นหมวดหมู่ของ Fake News โดยองกรค์ First Draft News ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านข่าวปลอมให้คำจำกัดความของ Fake News ไว้เป็นข้อๆดังต่อไปนี้

  • False connection การโย่งมั่ว – การโยงข่าวหรือข้อมูล เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ เพื่อเหตุผลทางการค้า หรือให้เกิดความเข้าใจแบบผิดๆ อาทิเช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา อ้างสรรพคุณ อ้างผลวิจัย โยงไปโยงมา แต่หาที่มาที่ไปหรือข้อมูลเชิงวิชาการไม่ได้
  • Misleading ทำให้เข้าใจผิด – ข่าวลวงแบบ Misleading ถือว่าเป็นข่าวที่เกิดจากการตั้งใจให้ข่าวผิด ตั้งใจบิดเบือดข่าว ให้เกิดความเข้าใจผิด โดยใช้ช่องโหว่ของคำพูดบางอย่าง มาบิดเบือดข้อความ เพื่อหวังผลทางด้านสังคมหรือการเมือง เช่น เพื่อนต้องการแกล้งเพื่อน อาจปล่อยข่าวว่าเพื่อนคนนี้ เป็นผีปอบ ทำให้เพื่อนหลายคนเกลียดหรือไม่กล้าเข้าใกล้  หรือ ฝ่ายค้านจงใจปล่อยข่าว การขึ้นภาษี เพื่อให้ประชาชนแตกตื่น ออกมาด่ารัฐบาล
  • False Context ต่างกรรมต่างวาระ – เรื่องนี้เราน่าจะเคยเห็นบ่อยๆ คือการนำคำพูดเก่า เรื่องเก่าๆมาเล่าให้เป็นเรื่องใหม่ อาจหมายรวมถึงการนำภาพเก่า มาปะปนกับเรื่องใหม่ สร้างเรื่องหวังผลให้เป็นไปยังทิศทางที่ผู้เผยแพร่ต้องการ ซึ่งอาจเกิดจากการเข้าใจผิดหรือจงใจก็ได้
  • Satire Or Parody เสียดสีหรือตลก – การเสียดสีเป็นการนำข่าวหรือบุคล มาล้อเลียนทำเรื่องให้ตลก ซึ่งสารที่สือออกมา อาจจะไม่ใช้ข้อมูลที่จริงหรือไม่จริงก็ได้ หากคิดภาพไม่ออกลองเข้าเพจ “ข่าวปด” น่าจะนึกภาพออก

The Different Types Of Mis And Disinformation

  • Impostor Content เนื้อหาหลอกลวง – ข่าวที่ถูกสร้างขึ้นมาจากสถานที่ปลอมๆ เผยแพร่เนื้อหาแบบปลอมๆ เราจะเห็นข่าวแบบนี้ได้จากสือออนไลน์ มักเป็นสือที่ไม่เป็นที่รู้จัก แต่อาจถูกแชร์กันมาเป็นทอดๆ จากผู้ขาดความรู้ในการรับสือ
  • Manipulated Content เนื้อหาตัดต่อ – เนื้อหาที่มีการตัดต่อ ภาพหรือเสียง หรือสือต่างๆ เพื่อให้เกิดการเข้าใจผิด
  • Fabricated  Content – ปลอม หลอก 100% – ฉันนี้แหละผู้ร้ายตัวจริง สร้างมาเพื่อปล่อยข่าวปลอม กระจายข่าว เนื้อหาทุกอย่างปลอมหมด

การรับมือกับ Fake News

หากจะกล่าวเรื่องการป้องกันและรับมือข่าวปลอม ก็คงต้องบอกคำเดิมๆที่หลายสือเสนอไปแล้วคือการรับสืออย่างมีสติ โดยมีหลักการการเป็นผู้รับสือดังต่อไปนี้

  1. รับข่าวจากสือที่น่าเชื่อถือได้
  2. ไม่อ่านข่าวหรือรับข่าวจากสือใดสือหนึ่งเพียงด้านเดียว
  3. หากเป็นสรรพคุณ ยารักษาโรค สมุนไพร ควรหาแหล่งที่มา หรือข้อมูลเชิงวิชาการมาหักล้าง
  4. อย่ากดแชร์ข้อมูลที่เราไม่รู้แหล่งที่มา หรือไม่รู้ว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวจริงหรือเปล่า เพราะคุณอาจเป็นต้นเหตุของการสร้างความเสียหายที่เกิดจาก Fake News ได้โดยไม่รู้ตัว

ข้อเสียของ Fake News

ด้วยความที่สือสังคมออตไลน์มันง่าย เอานิ้วแตะ กดไลน์ กดแชร์ ไม่ใช่เรื่องยากอะไร จึงมีคนที่คิดว่าจริงไม่จริงไม่รู้ แชร์ไปก่อน ก็แค่กดแชร์ แต่ความเสียหายของมัน อาจส่งผลกับชีวิต ทรัพย์สิน ของใครหลายนก็เป็นได้ ดังตัวอย่างการสร้างความเสียหายของ Fake News คร่าวๆไว้ดังนี้

  1. สร้างความแตกตื่น
  2. สร้างความขัดแย้ง
  3. อาจส่งผลต่อชีวิต กรณีข่าวสรรพคุณยา สมุนไพร
  4. บิดเบือนให้คนเข้าใจแบบผิดๆ

Fake News ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ เพียงแต่เป็นคำใหม่เท่านั้น ข่าวลือ ข่าวปลอม ข่าวลวง มีมาตั้งแต่มนุษย์มีการติดต่อสือสารกัน การจะหยุด Fake News นั้นคงเป็นเรื่องยาก แต่หากข่าวปลอมถูกสร้างมาแล้ว ผู้รับข่าวสารมีสติในการรับ Fake News ไม่ส่งผลอย่างที่ผู้ปล่อยข่าวคาดหวังไว้ ในอนาคตก็อาจจะเกิดการลดของ Fake News อาจเป็นไปได้

About modify 4850 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.