
มารู้จักกับ SSD ว่ามันคืออะไร ทำงานอย่างไร มีหน้าที่อะไร และมีความแตกต่างกันพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างอื่นยังไง มีความเร็วเท่าไหร่ มีแบบไหนบ้าง
เชื่อถึงยุคนี้แล้วสำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์คงมีน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกับ SSD อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นที่เก็บข้อมูลที่กำลังมาแรงในยุคนี้ หลายคนอยากจะทราบรายละเอียดของ SSD ให้มากกว่านี้ว่ามันคืออะไรกันแน่ และมีกี่แบบ การเลือกซื้อแบบที่ถูกและเข้ากับคอมพิวเตอร์ของเราได้ ต้องเลือกซื้อแบบไหน บทความนี้จะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ SSD กันให้มากยิ่งขึ้น
SSD คืออะไร
SSD ย่อมาจาก Solid State Drive ทำหน้าที่เป็นที่เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆชนิดหนึ่ง คล้ายกับ HDD แต่รูปแบบการทำงานของ SSD จะต่างกันออกไป SSD จะทำงานในรูปแบบ Flash Memory ที่ต่างจาก HDD ที่ทำงานอยู่บนจานแม่เหล็กที่ต้องหมุนตลอดเวลาในขณะที่ใช้งาน
SSD ถูกสร้างมาเพื่อทดแทนการใช้งาาน HDD ซึ่งใช้ชิปวงจรรวมที่ประกอบรวมเป็น หน่วยความจำ เพื่อจัดเก็บข้อมูลแบบถาวรเหมือนฮาร์ดดิสก์ เทคโนโลยีของโซลิดสเตตไดรฟ์ถูกสร้างมาเพื่อทดแทนฮาร์ดดิสก์จึงทำให้มีอินเทอร์เฟส อินพุต/เอ้าพุต เหมือนกันและสามารถใช้งานแทนกันได้ และเนื่องจาก SSD ถูกสร้างด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่มีชิ้นส่วนจักรกลใดๆที่มีการเคลื่อนที่ (หลักการของ ฮาร์ดดิสก์ และ ฟรอปปี้ดิสก์ คือใช้จานแม่เหล็กหมุน) ส่งผลให้ความเสียหายจากแรงกระแทกของ SSD นั้นน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ (หรือทนต่อการแรงสั่นสะเทือนได้ดี) โดยการเปรียบเทียบจากการที่ SSD ไม่ต้องหมุนจานแม่เหล็กในการอ่านข้อมูลทำให้อุปกรณ์กินไฟน้อยกว่า และใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูล (access time) และเวลาในการหน่วงข้อมูล (latency) น้อยกว่าเนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลในตำแหน่งต่างๆ ได้รวดเร็วและทันทีโดยไม่ต้องรอการหมุนจานแม่เหล็กให้ถึงตำแหน่งของข้อมูล
SSD แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆได้แก่
- NOR Flash คือ หน่วยความจำจะถูกเชื่อมต่อกันแบบขนาน ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างอิสระ อ่านข้อมูลเร็วมาก แต่ มีความจุต่ำ และราคาแพงมาก
- NAND Flash คือ หน่วยความจำแบบเข้าถึงข้อมูลทีละบล็อก ทำให้มีความจุสูง ราคาถูก) เป็นระบบเดียวกับ FlashDrive ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีราคาถูกกว่า ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท
– Single-Level Cell (SLC) ในแต่ละเซลเก็บข้อมูลได้ 1 บิต ทำงานเร็ว กินพลังน้อย และมีอายุการใช้งานนาน (เขียนได้ 1 แสนครั้งโดยประมาณ) แต่มีราคาสูง
– Multi-Level Cell (MLC) 1 เซลเก็บข้อมูลได้มากกว่า 1 บิต (ปัจจุบัน 1 เซลเก็บได้ 2 บิต และอยู่ในระหว่างการพัฒนาให้เก็บได้มากขึ้นเรื่อยๆความเร็วต่ำกว่า ใช้พลังงานมากกว่า SLC เขียนได้ ไม่เกิน 1 หมื่นครั้ง แต่มีราคาถูก)
การเชื่อมต่อ SSD
SSD ที่เราใช้งานและเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กันอยู่ ใหญ่ๆแล้วจะมีไมกี่ชนิด ที่นิยมกันในตอนนี้ได้แก่
SATA SSD
SATA จะเป็นรุปแบบเอา SSD มาไว้ในกล่องขนาด 2.5-inch Serial ATA โดยใช้การเชื่อมต่อผ่านสาย SATA III มีความเร็วในการอ่านเขียนน้อยกว่าการเชื่อมต่อแบบอื่นอยู่ที่ประมาณ 500-600/500-600 MB/s นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ไม่มีช่องให้เสียบ SSD แบบ M.2 สามารถใช้แทน HDD ได้เลย
SSD M.2
SSD M.2 เป็นการเชื่อมต่อที่มี Notched pins 12-66 ที่เสียบลงเข้ากับเมนบอร์ดที่มีช่องเสียบ M.2 หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่แปลงช่องเสียบไปยังช่องทางอื่นๆไม่ว่าจะเป็น USB, PCI, PCIe และอื่นๆ โดยการเชื่อมต่อแบบ M.2 จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆด้วยกันได้แก่
- M.2 SATA ถึงแม้จะเป็นการเชื่อมต่อแบบ M.2 แต่ยังคงใช้ module แบบ SATA3 ซึ่งความเร็วสูงสุดที่ 6.0 Gb/s ซึ่งจะมีความเร็วไม่ต่างจาก SATA SSD มากนัก โดยปกติแล้ว M.2 SATA จะใช้ type แบบ M Key
- M.2 NVMe การเชื่อมต่อ M.2 แบบ PCIe ใช้ module ของ PCI Express เข้ามาเพื่อช่วยในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลให้มากขึ้น เพราะ PCIe เป็น module ที่มีความเร็วมากกว่า SATA และ M.2 PCIe จะใช้ type แบบ B Key แต่ในบางครั้งเอาอาจเห็น type แบบ M Key แต่จะได้ความเร็วได้แก่ x2 ในขณะที่ B key ได้แบบ x4
SSD PCIe
SSD แบบ PCIe เป็นการเอา SSD มาในรูปแบบของ PCIe เสียบเข้าไปใน PCI Express โดยตรง ซึ่งความเร็วจะได้มากสุดตามแต่ Interface เวอร์ชันของ PCIe และ จำนวน X (PCIe lane) ของ slot ที่ใช้งาน
PCIe Version | Line Code | Bandwidth x1 | Bandwidth x16 |
---|---|---|---|
1.0 | 8b/10b | 2 GT/s | 32 GT/s |
2.0 | 8b/10b | 4 GT/s | 64 GT/s |
3.0 | 128b/130b | 8 GT/s | 126 GT/s |
4.0 | 128b/130b | 16 GT/s | 252 GT/s |
ทั้งนี้ทั้งนั้นต่อให้ความเร็วของช่องเสียบแบบ PCIe จะมีความเร็วแค่ไหน ก็ต้องขึ้นอยู่กับ SSD ที่ใช้งานด้วยแต่ช่องทางของ PCIe เป็นช่องทางที่ทำความเร็วได้สูงสุดของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพื้นฐาน