สรุปคลื่นความถี่มือถือในประเทศไทย หลังจบการประมูลไป แต่ละค่ายคือครองเอาไว้เท่าไหร่ อะไรบ้าง

เคลือข่ายมือถือไทย


จบการประมูลคลื่นความถี่ 900 Mhz. ไปได้สักระยะแล้ว (แบบดุเดือดมาก) หลายคนตอนนี้คงอยากจะรู้ว่า สรุปแล้วตอนนี้แต่ละค่ายมือถือ บ้านเราถือรองคลื่นเอาไว้เท่าไหร่ และมีความกว้างเท่าไหร่ รวมถึงหมดสัมปทานเมื่อไหร่ด้วย วันนี้วางๆเลยทำเป็นตารางมาให้ชมกันครับ

สรุปคลื่นความถี่ในประเทศไทย

คนที่ถือครองคลื่นมีความกว้างมากสุดคงหนีไม่พ้น TOT แต่คลื่นที่ถือครองมากนั้นเป็นคลื่น  2300 Mhz จะบอกว่าเยอะแต่เป็นคลื่นที่ไม่ค่อยได้รับความนิยม มือถือบ้านเราไม่รองรับ ฉนั้นการจะทำเป็นคลื่นมือถือตอนนี้ก็ยังถือว่าเร็วไป

คนที่ได้เปรียบที่สุดคงหนีไม่พ้น True เพราะถือครองคลื่นความถี่ยอดนิยมเอาไว้ครบทุกคลื่นเลยทีเดียว แถบเวลาสัมปทานยังอยู่อีกนานเลยทีเดียว

AIS แม้จะถือหุ้นไว้เพียง 30Mhz แต่ก็เป็นคลื่นที่มีคุณภาพ และยังอยู่ช่วงสัมปทานนาน และมารอลุ้นเอาคลื่นจาก Dtac เมื่อตอนหมดสัมปทานปี 2561 คือคลื่น 850 Mhz และ 1800 Mhz

Dtac แม้จะมีคลื่นเหลืออยู่เยอะ แต่ระยะเวลาสัมปทานนั้นจะหมดในปี 2561 (คลื่น 850 Mhz และ 1800 Mhz) ทำให้อยู่ในภาวะหวังน้ำบ่อหน้า ทำให้ในปี 2561 ต้องประมูลคลื่นตัวเองกลับมาให้ได้

JAS น้องใหม่ หน้าไม่ใหม่วงการเครือข่ายมือถือไทย แม้จะมีเพียง 10Mhz ในคลื่นความถี่ 900 Mhz ทีเพิ่งประมูลไปได้ แต่แผนธุระกิจของบริษัทก็ไม่เบา ไม่แน่ในปี 2561 อาจจะสอยมาอีกคลื่นความถี่ก็เป็นไปได้

เป็นอย่างไรกันบ้างกับสรุปคลื่นความถี่ ตอนนี้รักใครชอบใครก็จับจองเอาไว้ได้เลย

About modify 4842 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

4 Comments

  1. กสท. โทรคมนาคม กำลังเตรียมที่จะทำสัญญาร่วมทุนกับดีแทค ในการนำคลื่น 1800 MHz อีก 20 MHz ออกมาให้บริการ 4G โดยแผนการร่วมทุนที่วางไว้คร่าวๆ น่าจะเหมือนกับสัญญา TrueMove H 3G 850 MHz และ AIS 3G 2100 ของทีโอที

    ที่มา – blognone

    ถ้าเป็นงี้ Dtac ก็แข็งเกร่งนะ แต่จะจัดเต็มแค่ 3 ปี หลังจากนั้นค่อยว่ากันต่อไป

Leave a Reply

Your email address will not be published.