[PR] เทคโนโลยีจัดการพลังงาน เปลี่ยนอาคารธรรมดาให้เป็นอาคารอัจฉริยะ

กุญแจสำคัญที่ทำให้อาคารมีความฉลาดขึ้น มี 3 สิ่ง เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ และนวัตกรรม


การพิสูจน์ว่าอาคารนั้นเป็นอัจฉริยะหรือไม่ สามารถดูได้ว่าอาคารสามารถปรับอุณหภูมิ และอากาศหมุนเวียนในแต่ละชั่วโมงได้โดยอัตโนมัติ ตามจำนวนผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นในแต่ละห้องหรือสำหรับอาคารทั้งหมดก็ตาม วิธีการนี้จะช่วยประหยัดพลังงานได้ และทำให้ทั้ง โรงเรียน อาคารสำนักงานและอาคารต่างๆ ไม่เพียงแต่ได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ผลลัพธ์ต่อมาที่ได้คือการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ บางครั้งลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก  โดยตามรายงานจากการสำรวจผู้พักอาศัยในอาคาร มีความพึงพอใจมากขึ้นถึง 27% จากประสิทธิภาพที่ได้รับจากการระบายอากาศ การควบคุมความร้อน และแสงสว่างของอาคารที่ช่วยให้ผู้อาศัยอยู่ในอาคารทำงานได้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น

สิ่งที่ทำให้อาคารมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น คือ ระบบจัดการพลังงานสำหรับอาคาร หรือ BEMS (Building energy management systems) โดยสถาบันวิจัย Navigant Research ได้ให้นิยามเรื่องดังกล่าวไว้ในรายงานว่า  “เป็นโซลูชันที่ใช้ฐานไอทีมาขยายความสามารถในเรื่องของการตรวจจับ (Sensing) การควบคุม รวมถึงฮาร์ดแวร์ในระบบอัตโนมัติ (Automation Hardware) มาควบคุมการดำเนินงานของระบบ และ/หรือปรับปรุงงานที่ต้องทำเองให้ดำเนินไปได้ในแบบอัตโนมัติด้วยการนำข้อมูลที่มาจากหลายทางมาช่วยในเรื่องดังกล่าว”

มีการคาดการณ์ถึงตลาดระบบจัดการอาคารในส่วนของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์และการบริการทั่วโลกว่า จะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จาก 2.7 พันล้านในปัจจุบันเป็น 12.8 พันล้าน ในปี 2025 คิดเป็นอัตราการเติบโตประจำปีที่ 18.2 เปอร์เซ็นต์  โดย Navigant Research กล่าวว่ารายได้กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ มาจากการขายซอฟต์แวร์ และบริการ ซึ่งเป็นเหตุเป็นผล เนื่องจากกิจกรรมทั้งหมด จะเป็นเรื่องของการปรับปรุงและอัพเกรดอาคารเดิม รวมถึงระบบการจัดการอาคาร ซึ่งถ้าตัวเซ็นเซอร์ แอคทูเอเตอร์ (actuator) และวาล์ว ยังคงใช้งานได้อยู่ ก็ไม่ต้องทำอะไรกับมันแค่เปลี่ยนซอฟต์แวร์อย่างเดียวก็พอ

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีการบริหารจัดการพลังงานสำหรับอาคาร หรือโซลูชัน BEMS ก็จะมีอยู่หลากหลายโซลูชัน แต่องค์ประกอบทั่วไปไม่ทิ้งห่างจากสิ่งเหล่านี้

  • การผสานรวมการทำงานผ่าน BACnet
  • การเก็บข้อมูลโดยอาศัยการสื่อสารผ่านระบบไร้สาย และโมบายอินเทอร์เน็ต
  • มีซอฟต์แวร์วิเคราะห์ที่ทำงานบนคลาวด์ ที่สามารถเข้าถึงผ่านเว็บหรืออุปกรณ์สื่อสารได้
  • มีศูนย์กลางปฏิบัติการเครือข่าย

ผู้ให้บริการรายใหญ่บางรายมีการนำเสนอโซลูชันครบวงจรที่สร้างขึ้นโดยใช้องค์ประกอบดังกล่าวเหล่านี้ ส่วนบางบริษัทที่มีขนาดเล็กกว่า อาจจับมือกับพาร์ทเนอร์ หรือซัพพลายเออร์ เพื่อสร้างโซลูชันครบวงจร หนึ่งในความท้าทายที่ผู้ผลิตต้องพบคือทั้งเทคโนโลยีและกรณีการใช้งานที่ต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอด

การใช้งานสิ่งเหล่านี้มีอะไรบ้าง ซึ่งโดยธรรมชาติสิ่งเหล่านี้จะรวมเรื่องของการจัดการพลังงานเข้ามาด้วย (ซึ่งก็คือระบบบริหารจัดการพลังงาน ที่อยู่ในโซลูชั่นการบริหารจัดการพลังงานในอาคาร) การลงทุนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านระบบสาธาณูปโภค เป็นการวัดที่เห็นได้ง่ายเรื่องประสิทธิภาพที่ดีขึ้น  กรณีการใช้งานอื่นๆ คือการเพิ่มความคล่องตัวในเรื่องการซ่อมและบำรุงรักษา รวมถึงการปรับปรุงด้านการจัดการสินทรัพย์ได้ดีขึ้น  ผลที่ตามมาคือการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและลดช่วงดาวน์ไทม์ลงได้

นอกจากนี้ อาจมีกรณีการใช้งานอื่นๆ ได้อย่างเช่น การเน้นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยดูจากข้อมูลติดตามเรื่องพื้นที่ว่าง เมื่อพบพื้นที่ซึ่งถูกปล่อยว่างและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เรื่องนี้จะเป็นประโยชน์โดยเฉพาะสำหรับพื้นที่ธุรกิจสำนักงาน และหน่วยงานรัฐบาลซึ่งอาจเป็นพื้นที่ที่มีราคาแพง

แนวโน้มสุดท้ายที่เป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และซอฟต์แวร์ จะเกี่ยวกับเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้เช่าในอาคาร  เนื่องจากกลุ่ม Gen M ปัจจุบันเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในบรรดาคนทำงาน คนเหล่านี้รู้สึกสะดวกสบายกับการใช้สมาร์ทโฟนและแอปพลิเคชันทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง คนเหล่านี้ คาดหวังพฤติกรรมบางอย่างจากระบบอัตโนมัติ รวมถึงระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคาร  การจะให้ความสามารถเหล่านี้แก่อาคารได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในการจัดการระบบบริหารจัดการอาคารนั่นเอง

และที่กล่าวมาทั้งหมด ก็คือภาพรวมของระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคารในวันนี้ ซึ่งเป็นตลาดที่มีการขยายตัวและมีพัฒนาการในเรื่องฟีเจอร์หลัก รวมถึงปัจจัยขับเคลื่อนทั่วไป โดยพื้นฐานแล้วอาคารจะมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นตามเหตุและผลในเชิงเศรษฐกิจ ทั้งในแง่ของการประหยัดเงินและเพิ่มผลิตผลในการทำงาน  #IoT together #SchneiderElectricThailand

About modify 4851 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.