ขั้นตอนการจด โดเมนเนม (Domain Name) มีอะไรบ้าง และลำดับการเป็นของเจ้ามีอะไรบ้างมาดูกัน

thumbnail default

ขั้นตอนการจด โดเมนเนม


วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องใกล้ตัวสักหน่อยดีกว่า (ใกล้ตัวคนทำเว็บไซต์) สำหรับคนที่อยากมี Website เป็นของตัวเอง อย่างแน่ที่ควรคิดถึงก่อนนั้นก็คือ Doamain Name หรือชื่อของเว็บไซต์นั้นเอง หลายคนมีความเข้าใจการทำเว็บไซต์น้อยมาก จะให้คนอื่นทำให้สะส่วนใหญ่ บทความนี้จะมาบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการถือครอง domain ของเรา และขั้นตอนต่างๆในการเป็นเจ้าของ ลำดับขั้น ของการเป็นเจ้าของนั้นเอง (เดียวแจงให้ดูอีกที) อาจจะงงกันตอนเกิ้นนำ ค่อยๆอ่านไปเลื่อยๆนะครับ

ก่อนจะพูดถึงเรื่องอื่นๆเรามารู้จักกันก่อนว่า Domain Name นั้นคืออะไรแล้วเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

Domain Name คืออะไร

(ส่วนนี้ผมอธิบายแบบบ้านๆหน่อยนะครับ จะได้เข้าใจกันง่ายขึ้นไม่อยากยกตัวอย่างวิชาการ มาอธิบาย เดียวจะไม่เข้าใจกันเปล่าๆ) โดเมนเนม ก็คือตรงๆ คือชื่อของที่ตั้งของเว็บไซต์ โดนปกติแล้วการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ เรามักจะใช้ IP ในการติดต่อ เช่นหากในวง Lan เราจะติดกันแบบ \\192.168.1.2 ประมาณนี้ แต่หากติดต่อผ่านชื่อคอมพิวเตอร์ นั้นก็จะคล้ายๆกัน คือเราก็จะติดต่อแบบ \\modify นั้นคือระบบ network ภายใน แต่หากเป็น ระบบ Internet แล้วละก็ จาก \\ จะถูกเปลี่ยนเป็น http:// เช่น https://www.modify.in.th เป็นต้น นั้นก็จะคล้ายๆชื่อคอมพิวเตอร์อีกเครื่องในองกรณ์ แต่อันนี้คือองกรณ์ในระดับโลก แน่นอนว่าชื่อมันจะซ้ำกันไม่ได้ (หากเป็นในวง lan เช่นร้านเน็ต จะใช้ชื่อซ้ำกันไม่ได้) นั้นเอง แล้วระบบเว็บไซต์มี IP เหมือนกันไหม คำตอบก็คือมี คล้ายๆกัน เราสามารถเข้าเว็บไซต์ได้จาก IP ได้ด้วยเช่นเดียวกัน (ในกรณีเปิดให้เข้าแบบ IP ได้) ยกตัวอย่างเช่น google.co.th สามารถเข้าได้แบบ http://218.100.66.242 ได้เช่นกัน อ้าว แล้วจะมีคำถามมาอีกว่าแล้วถ้าเข้าแบบ IP ได้ แล้วจะมี โดเมนเนมเอาไว้ทำอะไร คำตอบก็แบบเดียวกันคือ แล้วเรามีชื่อคอมพิวเตอร์เอาไว้ทำอะไร?? นั้นก็เพราะเพื่อให้ง่ายแต่การจดจำ แต่!! โดเมนเนม ไม่ได้มีความสำคัญแค่นั้น IP 1 IP สำหรับอินเตอร์เน็ต นั้นอาจมีมากกว่า 1 domain ก็เป็นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น IP 192.168.54.15 อาจจะมีโดเมนอยู่ 10 โดเมนใน IP เดียวกัน สามารถทำได้เช่นเดียวกัน โดเมนเนมจึงมีบทบาทอย่างมาก ที่เอาไว้บริหารและจัดการให้เป็นระเบียบดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

คงจะพอทราบกันคร่าวๆแล้วใช้ไหมครับว่า Domain คืออะไร ทีนี้เรามารู้จัก โดเมนเนมกันให้มากกว่านี้ดีกว่า

ใครเป็นผู้บริหารและจัดการโดเมนเนม

แน่นอนว่าชื่อของ โดเมนเนม จะซ้ำกันไม่ได้ แล้วใครหละ จะเป็นผู้กำหนดสิ่งนี้และทำให้มันไม่ซ้ำกัน โลกเรามีองกรณ์อยู่องกรณ์หนึ่งที่ชื่อว่า ICANN หรือเต็มๆว่า Internet Cooperation for assigned names and number เป็นองกรณ์ระดับสูงสุดในการจัดการและบริหารโดเมนเนม พูดง่ายๆก็คือเป็นองกรณ์ที่ค่อยดูแลจัดการ Domain Name นั้นเอง โดยองกรณ์นี้ดำเนินงานภายในนโยบายแบบไม่หวังผลกำไร (non-profit organization) โดยอาศัยการร่วมมือจากนานาชาติ

โดยรายละเอียดอื่นๆบทบาทและหน้าที่ของ ICANN นั้นหลักๆก็เกี่ยวข้องกับ Domain Name ทั้งนั้นถ้าให้พูดมากคงยาว ลองไปอ่านกันได้ที่ http://thnic.or.th/icann/ ลิงค์นี้นะครับ เว็บ ThNic เขาอธิบายไว้ดีพอสมควร

เรารู้จัก ICANN ไปแล้ว เราก็ไปจดโดเมนกับ ICANN เลยซิรอช้าทำไม… แต่ช้าก่อน!! เราไม่สามารถจดโดเมนเนมกับ ICAN ได้โดยตรง เพราะหน้าที่ของ ICANN แค่บริหารและจัดการโดเมนเนมเท่านั้น แล้วเราจะจดผ่านใคร เราสามารถจดโดเมนผ่าน Registrar และ Registrar คือใคร?

Registrar คือใคร

Registrar คือบุคลที่รับอนุญาติจาก ICANN ให้เป็นผู้รับจดโดเมนเนมต่างๆ ตามกฏของ ICANNนั้นเอง ซึ้ง Registrar ที่ได้รับการอนุญาติจาก ICANN ทั่วโลกนั้น มีไม่กี่พันรายเท่านั้น (สามารถดู list ทั้งหมดจากทั่วโลกได้ที่ http://www.icann.org/registrar-reports/accredited-list.html) โดยการจดโดเมนเนมจะมีค่าใช้จ่าย โดยราคาจะเป็นแบบต่อปี จะอยู่ที่ประมาณ 1 โดเมนเนมไม่เกิน 500 บาท ต่อปี (แล้วแต่โดเมนและบริษัทที่รับจด) หากไม่ต่อโดเมนก็จะไม่มีสิทธิครอบครองโดเมนเนมนั้นอีกต่อไป  และในประเทศไทยเท่าที่ทราบก็เพียง 1 บริษัทเท่านั้น คำถามก็คือแล้วทำไมเห็นเว็บรับจดโดเมนมีมากมายเหลือเกิน นั้นก็คือบริษัทที่เป็น Reseller ต่อมาอีกทีจาก Registrar นั้นเอง

ร่ายมาสะยาวเพื่อให้หลายคนพอที่จะทราบมาได้ว่า ว่าเราเวลาจดโดเมนเนม เราอยู่ส่วนไหนของขั้นตอนต่างๆ เราจะอยู่ ICANN>Registrar>Reseller>Registant (ตัวเรา) หรือจะอยู่ ICANN>Registrar>Registant (ตัวเรา) ขึ้นอยู่ที่เราจะเลือก  นี้แค่ยกตัวอย่างการผ่านขึ้นตอนการจดโดเมนเนมเฉยๆนะเนี้ย ผมจะบอกให้ด้วยว่า หากคนไม่มีความรู้ บางท่าน โดเมนกว่าจะมาถึงมือท่านผ่านมาแล้วไม่รู้กี่บริษัท หรือ บางท่านไม่รู้ด้วยซ้ำว่า Doamin Name ชื่อเป็นของเรา หรือบางคนไม่รู้อีกด้วยซ้ำว่าใช้ชื่อเราจดได้ จากประสบการณ์คนใกล้ตัว เปิดบริษัทใหญ่โต จ้างคนทำเว็บไซต์ ให้เขาจัดการให้หมด จดโดเมนเนมให้พร้อม ชื่อเป็นของคนทำ เว็บไซต์เริ่มมีคนติดต่อ เริ่มไปได้ด้วยดี วันดีคนที่จ้างหายหัว โดเมนเนมหมดอายุ ต่อโดเมนเนมไม่ได้ เว็บไซต์ดับ จบกัน ^^  นั้นเลยกลายเป็นว่าเราต้องมีความรู้เรื่องโดเมนเนมนี้ให้มากๆ หากคิดจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ย้ำว่าจำเป็น

ทราบเหตุผลและที่มาของ โดเมนเนมกันไปบ้างแล้ว ทีนี่เรามาเริ่มเสียตังกันเลยดีกว่า ^^ นั้นคือการจดโดเมเนม เขาทำกันอย่างไร

การจด Doamin

การจดโดเมนขั้นตอนก็เหมือนคุณ Shoping ของจากอินเตอร์เน็ต เพียงแต่มีขั้นตอนที่แตกต่างกันเล็กน้อย นั้นก็คือ การค้นหาชื่อที่ยังว่างอยู่ในการจดโดเมนเนมนั้นเอง การค้นหาชื่อที่ยังว่างอยู่ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ชื่อโดเมนของเราไม่ซ้ำคนอื่น โดยท่านสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ เว็บไซต์ของ Registrar ต่างๆ (ดูลิงค์ด้านบนที่ให้ดู List ของ Registrar ไม่อยากเจาะจงเฉพาะบริษัทใดบริษัทหนึ่งเดียวจะหาว่าโฆษณา แต่อยากจะบอก สักหนึ่งบริษัทนั้นคือ Dotarai เป็น Registrar หนึ่งเดียวในประเทศไทย โดยสามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ dotarai.com ตรวจเช็คโดเมนที่ต้องการ

ตัวอย่างการค้นหาโดเมน
ตัวอย่างการค้นหาโดเมนเนม ชื่อไหนไม่ว่าง ก็ไม่สามารถจดได้ แต่หากชื่อไหนว่าง เราก็จะสามารถจดโดเมนเนมนั้นได้

ขั้นตอนต่อไปจะเป็นเรื่องของการลงทะเบียน

หากเราต้องการจดโดเมนเนม เราต้องลงทะเบียน ใส่รายละเอียดเกียวกับเราลงไป จะมีฟอร์มให้เรากรอก และใส่รายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล์ ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

ต้องใส่เป็นภาษาอังกฤษ
ต้องใส่เป็นภาษาอังกฤษ

เมื่อเรากรอกรายละเอียดครบก็เหมือนเราสมัครอะไรสักอย่าง เราก็จะมี user name และ password มาเอาไว้ให้เข้าสู่ระบบ เพื่อไปจดโดเมนเนมนั้นต่อไป หลังจากนั้นก็ถึงขั้นตอนจ่ายจัง ขั้นตอนนี้แล้วแต่บริษัทและสถานที่ตั้ง หากเป็นในประเทศไทย ก็จะสามารถโอนโดยผ่านบัญชีธนาคารได้เลย หากเป็น Registrar ที่อยู่ต่างประเทศอาจจ่ายทางบัตรเครดิต หรือไม่ก็ paypal หรือช่องทางอื่นๆเป็นต้น

ครั้งต่อไปหากเราต้องการจะจดโดเมนเนมเพิ่มก็สามารถใช้ user name และ password เข้าสู่ระบบ แล้วทำการค้นหาและจดโดเมนเนมได้เหมือนกัน แต่อย่าลืมเข้ามาตรวจสอบโดเมนของเรา เพราะจะหมดอายุตามที่เราได้ยืนขอจดโดเมนเนมเอาไว้แต่แรก

หลังๆมานี้ผมค่อยข้างจะจบเร็วหน่อยอาจอธิบายได้ไม่ละเอียดพอแต่หลักๆก็มีประมาณนี้แหละครับ บอกตรงๆว่าเมื้อนิ้วมาก พิมพ์สะยาวเยียดเลย กลัวไม่เข้าใจ แต่มาตกม้าตายตอนจะจบรีบพิมพ์รีบจบไปหน่อย ขออภัยไว้ด้วยนะครับ หวังว่าคงจะพอเข้าใจ เอาเป็นว่าติดตรงไหนโพสถามกันไว้ได้นะครับ

**บทความนี้เป็นบทความที่เขียนแบบบ้านๆไม่เน้นวิชาการ ให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ ใครต้องการหลักการแม่นๆ สามารถนำหัวข้อของแต่หละส่วนไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้นะครับ **

About modify 4848 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.