พายุสุริยะ (solar storm) คืออะไร

thumbnail default

พายุสุริยะ


ช่วงนี้คงเป็นกระแสดังไปทั่วโลกแล้วสำหรับวันสิ้นโลก ที่หลายประเทศตื่นตัวกันอย่างมาก หนึ่งในมหาพิบัติครั้งนี้ี่ที่หลายคนคาดการณ์เอาไว้ คงหนีไม่พ้นการเกิด พายุสุริยะ หรือ solar storm ซึ้งหลายคนอยากทราบว่า พายุสุริยะ มันคืออะไร แล้วทำไมต้องมีผลกระทบต่อโลก แล้วทำไมต้องเป็นวันสิ้นโลก มันจะจริงจะแท้อย่างไร มาค่อยๆศึกษารายละเอียดกันดีกว่า

พายุสุริยะ
พายุสุริยะ ภาพจาก
http://www.vcharkarn.com/varticle/40405

พายุสุริยะ หรือ ลมสุริยะ ภาษาอังกฤษว่า solar storm กระแสของอนุภาคประจุไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาจากชั้นบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์สู่อวกาศ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอิเล็กตรอนและโปรตอน ซึ่งมีพลังงานเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10-100 eV กระแสอนุภาคเหล่านี้มีอุณหภูมิและความเร็วที่แตกต่างกันออกไปตามช่วงเวลา กระแสอนุภาคจะหลุดออกพ้นจากแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ได้เนื่องจากมีพลังงานจลน์และอุณหภูมิโคโรนาที่สูงมาก

ลมสุริยะทำให้เกิดเฮลิโอสเฟียร์ คือฟองอากาศขนาดใหญ่ในมวลสารระหว่างดาวที่ครอบคลุมระบบสุริยะเอาไว้ ลมสุริยะยังทำให้เกิดปรากฏการณ์อื่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ พายุแม่เหล็กโลก (geomagnetic storm) ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ไฟฟ้าบนโลกใช้การไม่ได้บางครั้งบางคราว, ออโรรา (หรือปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้) และหางพลาสมาของดาวหางที่จะชี้ออกไปจากดวงอาทิตย์เสมอ

ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา

โดยทาง  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา นักวิทยาศาสตร์ไทย กล่าวว่า พายุสุริยะ ที่จะเกิดคร้งนี้ อาจทำให้ระบบการสือสารผิดพลาด เช่นการชัดข้องของการบิน โทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมไปถึงอาจทำให้ไฟฟ้าดับ ซึ้ง พายุสุริยะ จะเกิดทุก 11 ปีโดย 11 ปีที่แล้วทำให้ไฟฟ้าใน ประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกาเกิดไฟฟ้าดับมาแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา กล่าวว่า หากเกิดปรากฏการณ์พายุสุริยะขึ้นจะรู้ล่วงหน้าไม่เกิน 48 ชั่วโมง ทำให้เราเตรียมความพร้อมป้องกันได้หากเกิดเหตุการณ์ไฟดับหรืิออื่นๆที่คาดการณ์ไม่ถึง

คลิป ความรู้เรื่อง พายุสุริยะ

อย่างไรก็ตามอย่าตื่นตระหนกกับเรื่องที่ยังไม่เกิดมากนักเพราะมีนักวิชาการหลายท่านออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับ พายุสุริยะ แ้ล้ว ว่าไม่ได้มีผลกระทบอะไรมากมาย แต่ที่หลายคนให้ความสำคัญมากเพราะไปตรงกับปฏิทินชาวมายา ที่ทำนายถึงวันโลกแตก คงต้องติดตามข่าวสารกันต่อไป

 

About modify 4842 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.