ราชบัณฑิต เล็งเพิ่มคำว่า “กดไลค์” และอื่นๆลงในฐานข้อมูลเพิ่ม

thumbnail default

ราชบัณฑิต


เชื่อว่าหลายคนคงไม่มีใครไม่รู้จักคำว่า กดไลค์ หรือ Like เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราชื่นชอบสิ่งนั้นๆในโลก Social Network ต่างๆ โดยตอนนี้ ราชบัณฑิต ปรับระบบฐานข้อมูลใหม่ เพิ่มคำทันสมัย ศัพท์วัยรุ่น และคำสแลง ใส่ในฐานข้อมูลเตรียมไว้ก่อนทำพจนานุกรม สามารถนำมาอ้างอิงได้แม้ยังไม่ตีพิมพ์

กดไลค์

โดยมีคำที่นอกเหนือจากคำว่า “กดไลค์” อาทิเช่น

  •  เกรียน หมายถึง พฤติกรรมก่อกวนและชอบละเมิดกฎระเบียบ
  •  การเมืองบนถนน หมายถึง การเล่นการเมืองนอกสภา
  • กดไลค์ หมายถึง ไอคอน like หรือชอบ เป็นรูปชูหัวแม่มือหนึ่งข้าง
  • ขั้นเทพ หมายถึง ดียิ่ง เก่งอย่างยิ่ง
  • ซุปตาร์ หมายถึง นักแสดงหรือนักร้องที่มีคนชื่นชอบจำนวนมาก
  • มังกรการเมือง หมายถึง นักการเมืองที่มีประสบการณ์การเมืองยาวนาน
  • มาคุ หมายถึง อึมครึม วังเวง
  • เว้นวรรค หมายถึง ลาออกจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่หรือยุติบทบาทชั่วคราว
  • สุดซอย จากความหมายเดิมคือ ถึงที่สุดจนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่ช่วงปลายปี 2556 ที่ผ่านมาคำว่า สุดซอย ถูกนำมาใช้ในทางการเมือง เป็นต้น

วันนี้ (3 มกราคม 2557) นายอุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ ประธานคณะกรรมการการจัดทำฐานข้อมูลคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เปิดเผยว่า คลังคำและแหล่งข้อมูลจากตำราหรือหนังสือสาขาวิชาต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน เพื่อนำมาจัดทำพจนานุกรมหรือสารานุกรมสาขาต่าง ๆ มีจำนวนน้อยมาก โดยมีประมาณ 3.7 หมื่นคำเท่านั้น ที่บรรจุไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ทั้ง ๆ ที่มีคำที่ใช้ในภาษาไทยจำนวนหลายแสนคำ

นาย อุดม กล่าวว่า ที่ผ่านมาการจัดทำพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานล่าช้ามาก ตลอดระยะเวลาเกือบ 80 ปี มีการปรับปรุงครั้งใหญ่เพียง 4 ครั้งเท่านั้น อีกทั้งการปรับปรุงแต่ละครั้งก็ใช้เวลานาน เนื่องจากต้องระดมนักวรรณศิลป์ทุกคนในราชบัณฑิตยสถาน ให้ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องและพิสูจน์อักษรคำต่าง ๆ ในพจนานุกรม และงานต่าง ๆ ในส่วนที่แต่ละคนต้องรับผิดชอบก็ต้องหยุดลงทันที จึงได้ลงมติว่า จะจัดทำโครงการจัดทำฐานข้อมูลในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

นอกจากนี้ นายอุดม ยังกล่าวอีกว่า การจัดทำฐานข้อมูลคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนั้น จะเป็นการรวบรวมเอาคำศัพท์ใหม่ ศัพท์วัยรุ่น และคำสแลง ที่นำเสนอผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ และสื่อต่าง ๆ  ที่ยังไม่ได้บรรจุอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน นำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลเอาไว้ก่อน เพื่อให้สะดวกในการนำคำศัพท์มาใช้ในการชำระพจนานุกรมและจัดทำพจนานุกรมคำ ใหม่ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2557

นายอุดม กล่าวต่อไปว่า ก่อนที่จะนำคำศัพท์มาบรรจุในฐานข้อมูลก็จะมีการปรับเปลี่ยนความหมายและคัด เลือกคำที่ทันสมัยรวมถึงคำที่กำลังนิยม ซึ่งหากจัดทำระบบฐานข้อมูลก็จะทำให้การชำระพจนานุกรมสามารถทำได้เร็วขึ้น เพราะมีคำศัพท์ที่คัดเลือกไว้แล้ว ส่วนคำศัพท์ใหม่ก็จะมีความหลากหลายและคัดเลือกตรงตามหลักเกณฑ์มากขึ้น ที่สำคัญคำไหนที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ แต่ก็สามารถค้นหาความหมาย เพื่อนำไปอ้างอิงได้

ที่มา – Kapook

About modify 4848 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.