RAM คืออะไร มีหน้าที่อะไร (Random Access Memory)

RAM

ความหมายของหน่วยความจำ RAM


วันนี้จะมาพูดถึงอุปกรณ์ ที่ใกล้ตัวของเชื่อใช้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ , สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ที่หากใครต้องการพูดสเปค หลายคนคงจะไม่พลาดที่จะพูด ram หรือ Random Access Memory โดยหากเครื่องมี ram เยอะนั้นหมายความว่าสเปคดี และ ram คืออะไร มีหน้าที่อะไร เรามาทำความรู้จักกับ Random Access Memory กันดีกว่าครับ

ram

RAM  (Random Access Memory) คืออะไร

อย่างที่หัวข้อเลยครับ RAM ย่อมาจาก Random Access Memory โดย ram เป็นหน่วยความจำ โดยการบันทึกหน่วยความจำใน ram จะกระทำแบบสุ่ม อิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยทำหน้าที่เขียนและอ่านข้อมูล

สำหรับแรม ข้อมูลที่อยู่ใน ram ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่กำลังทำงาน เช่นโปรแกรม , ข้อมูลที่ใช้ประกอบการประมวลผล โดยข้อมูลดังกล่าวจะหายไปเมื่อปิดคอมพิวเตอร์ เพราะความสามารถของ ram คือ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น

หลายคนคงพอจะทราบแล้วว่าแรมทำงานอะไร อธิบายให้เห็นภาพอีกที ram จะคล้ายๆ กระดาษดำ ที่ครูเขียนตัวหนังสือลงไปในกระดาษดำ หากมีกระดาษดำเยอะๆ เมื่อครูเขียนจนหมดกระดาษแล้วก็จะไล่ลบ ในส่วนที่เริ่มแรก ที่เขียน (เพราะนักเรียนจดตามเสร็จแล้ว) อธิบายให้เห็นภาพ ก็จะคล้ายๆแบบนี้แหละครับ หน้าที่ของ ram แต่หากแรมน้อย ข้อมูลก็ต้องรอพื้นที่ว่างของ ram จึงเกิดอาการเครื่องค้างบ้าง

ram กับ สมาร์ทโฟน

หลายคนสงสัยว่า ram ในสมาร์ทโฟนมีหน้าที่อะไร พิมพ์อะไรก็ไม่เยอะ โปรแกรมก็ไม่มี สำหรับ ram บนสมาร์ทโฟนแล้ว จะมีหน้าที่เก็บหน่วยความจำของ แอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่เปิดใช้งานอยู่ หรือรันอยู่ (แม้จะไม่ได้เปิดแอพนั้นอยู่) จะเป็นแอพเบื้องหลัง เช่น Facebook , LINE เป็นต้น

ram android

ประวัติ ram

เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้แรมในการเก็บโปรแกรมและข้อมูลระหว่างการประมวลผล คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของแรมคือความเร็วที่ใช้เข้าหนึ่งตำแหน่งต่างๆ ในหน่วยความจำมีค่าเท่าๆ กัน ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีอื่นบางอย่างซึ่งต้องใช้เวลารอกว่าที่บิตหรือไบต์จะมาถึง

ระบบแรกๆ ที่ใช้หลอดสุญญากาศทำงานคล้ายกับแรมในสมัยปัจจุบันถึงแม้ว่าอุปกรณ์จะเสียบ่อยกว่ามาก หน่วยความจำแบบแกนเฟอร์ไรต์ (core memory) ก็มีคุณสมบัติในการเข้าถึงข้อมูลแบบเดียวกัน แนวความคิดของหน่วยความจำที่ทำจากหลอดและแกนเฟอร์ไรต์ก็ยังใช้ในแรมสมัยใหม่ที่ทำจากวงจรรวม

หน่วยความจำหลักแบบอื่นมักเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่มีเวลาเข้าถึงข้อมูลไม่เท่ากัน เช่น หน่วยความจำแบบดีเลย์ไลน์ (delay line memory) ที่ใช้คลื่นเสียงในท่อบรรจุปรอทในการเก็บข้อมูลบิต หน่วยความจำแบบดรัม ซึ่งทำงานใกล้เคียงฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน เป็นข้อมูลในรูปของแม่เหล็กในแถบแม่เหล็กรูปวงกลม

แรมหลายชนิดมีคุณสมบัติ volatile หมายถึงข้อมูลที่เก็บจะสูญหายไปถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แรมสมัยใหม่มักเก็บข้อมูลบิตในรูปของประจุไฟฟ้าในตัวเก็บประจุ ดังเช่นกรณี ไดนามิคแรม หรือในรูปสถานะของฟลิปฟล็อป ดังเช่นของ สแตติกแรม

ปัจจุบันมีการพัฒนาแรมแบบ non-volatile ซึ่งยังเก็บรักษาข้อมูลถึงแม้ว่าไม่มีไฟเลี้ยงก็ตาม เทคโนโลยีที่ใช้ ก็เช่น เทคโนโลยีนาโนทิวจากคาร์บอน (carbon nanotube) และ ปรากฏการณ์ magnetic tunnel

ในฤดูร้อนปี พ.ศ. 2546 มีการเปิดตัวแรมแบบแม่เหล็ก (Magnetic RAM, MRAM) ขนาด 128 Kib ซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยีระดับ 0.18 ไมครอน หัวใจของแรมแบบนี้มาจากปรากฏการณ์ magnetic tunnel ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 บริษัท อินฟินิออน (Infineon) เปิดตัวต้นแบบขนาด 16 Mib อาศัยเทคโนโลยี 0.18 ไมครอนเช่นเดียวกัน

สำหรับหน่วยความจำจากคอร์บอนนาโนทิว บริษัท แนนเทโร (Nantero) ได้สร้างต้นแบบขนาน 10 GiB ในปี พ.ศ. 2547

ในเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถจองแรมบางส่วนเป็นพาร์ติชัน ทำให้ทำงานได้เหมือนฮาร์ดดิสก์แต่เร็วกว่ามาก มักเรียกว่า แรมดิสค์ (ramdisk)

คงจะพอเห็นภาพและทำความเข้าใจกับ ram บ้างแล้วใช้ไหมครับว่า ram คืออะไร

เรียบเรียงโดย modify.in.th
ประวัติโดย วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

About modify 4840 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.