เมาส์ (Mouse) คืออะไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร

เมาส์ (Mouse)


วันนี้จะขอพูดถึงเรื่องใกล้ตัวกันบ้างดีกว่าครับ นั้นก็คือ “Mouse” เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่หลายคนขาดไม่ได้ ถึงแม้ยุคนี้จะเป็นยุคเริ่มต้นของหน้าจอแบบ ทัชสกรีน แล้วก็ตาม เรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่เราใช้เป็นจำกันดีกว่าครับ

เมาส์ (Mouse)

เม้าส์ คืออะไร

เม้าส์ในภาษาคอมพิวเตอร์แล้วถือเป็น Hardware อย่างหนึ่ง โดยเป็นอุปกรณ์ที่ควบคุมตัวชี้บนคอมพิวเตอร์ หรือ pointing device โดยเม้าส์มีการพัฒนามาหลายรูปแบบมากมายกว่าจะมาเป็นเม้าส์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยก่อนหน้านี้เคยใช้ในชื่อ “บัก” (bug) แต่เนื้องจากไม่ได้รับความนิยมในชื่อนี้ เพราะลักษณ์ของเม้าส์นั้นเหมือนหนู และมีสายที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ เหมือนหางหนู เลยเรียกติดกันมาว่า Mouse นั้นเอง

ประวัติ เมาส์ (Mouse)

เมาส์ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1963 โดยดักลัส เองเกลบาท (Douglas Engelbart) ที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford Research Institute) หลังจากการทดสอบการใช้งานอย่างละเอียด (เมาส์เคยมีอีกชื่อนึงว่า “บัก” (bug) แต่ภายหลังได้รับความนิยมน้อยกว่าคำว่า “เมาส์”) มันเป็นหนึ่งในการทดลองอุปกรณ์ชี้ (Pointing Device) สำหรับ Engelbart’s oN-Line System (NLS) ส่วนอุปกรณ์ชี้อื่นออกแบบมาเพื่อการเคลื่อนไหวในร่างกายส่วนอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ติดกับคางหรือจมูก แต่ท้ายที่สุดแล้วเมาส์ก็ได้รับการคัดเลือกเพราะง่ายต่อการใช้งาน

เมาส์ตัวแรกนั้นมีขนาดใหญ่ และใช้เฟือง 2 ตัววางในลักษณะตั้งฉากกัน การหมุนของแต่ละเฟืองจะถูกแปลไปเป็นการเคลื่อนที่บนแกนในปริภูมิ 2 มิติ เองเกลบาทได้รับสิทธิบัตรเลขที่ US3541541 ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ.1970 ชื่อ “X-Y Position Indicator For A Display System” (ตัวระบุตำแหน่ง X-Y สำหรับระบบแสดงผล) ในตอนนั้น เองเกลบาทตั้งใจจะพัฒนาจนสามารถใช้เมาส์ได้ด้วยมือเดียว

เมาส์แบบต่อมาถูกประดิษฐ์ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 โดย บิล อิงลิช (Bill English) ที่ศูนย์วิจัยของบริษัท ซีรอกส์ (Xerox PARC) โดยแทนที่ล้อหมุนด้วยลูกบอลซึ่งสามารถหมุนไปได้ทุกทิศทาง การเคลื่อนไหวของลูกบอลจะถูกตรวจจับโดยล้อเล็ก ๆ ภายในอีกทีหนึ่ง เมาส์ชนิดนี้คล้าย ๆ กับแทร็กบอล และนิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตลอดทศวรรษที่ 1980 และ 1990 ทำให้การใช้เมาส์และคีย์บอร์ดในเวลาเดียวกันสามารถเป็นจริงได้

เมาส์ในปัจจุบันได้รับรูปแบบมาจาก École polytechnique fédérale de Lausanne (EPFL) ภายใต้แรงบันดาลใจของ ศาสตราจารย์ Jean-Daniel Nicoud ร่วมกับวิศวกรและช่างนาฬิกาชื่อ André Guignard ซึ่งการดำเนินงานครั้งนี้ทำให้เกิดบริษัท โลจิเทค (Logitech) ผลิตเมาส์ที่ได้รับความนิยมสูงเป็นยี่ห้อแรก

ออปติคอลเมาส์

ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาเมาส์อีกรูปแบบนึงนั่นก็คือ ออปติคอลเมาส์ (optical mouse) ซึ่งใช้หลักการในการตรวจจับการเคลื่อนไหวโดยใช้เซนเซอร์แสงที่อยู่ใต้เมาส์ ร่วมกับแอลอีดี ออปติคอลเมาส์ในยุคแรก ๆ ประดิษฐ์โดย สตีฟ เคิร์ช (Steve Kirsch) ที่บริษัท Mouse Systems Corporation ซึ่งสามารถใช้ได้บนเมาส์แพด (mouse pad) ที่มีพิ้นผิวเป็นโลหะเฉพาะเท่านั้น และต้องใช้ CPU ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลตำแหน่งของตัวชี้ แต่เมื่อคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง ออปติคอลเมาส์จึงได้ถูกใส่ชิปสำหรับประมวลผลภาพ (ICP: Image processing chips) เข้าไป ซึ่งทำให้สามารถใช้ได้บนพื้นผิวหลายชนิดมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใช้เมาส์แพดอีกต่อไป

หลักการของเมาส์แบบที่ไม่ต้องใช้เมาส์แพด คือการใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจจับการเคลื่อนที่ของพื้นผิวที่เกิดจากการใช้แอล อีดีส่องไปที่พื้นผิว และจะถูกส่งต่อไปที่ส่วนประมวลผลภาพเพื่อที่จะแปลงไปเป็นการเคลื่อนไหวบนแกน X และ Y โดยจะประมวลผลถึง 1512 เฟรมต่อวินาที ซึ่งในแต่ละเฟรมเป็นมีขนาด 18×18 พิกเซล และแต่ละพิกเซลมีระดับความเข้มที่แตกต่างกันได้ถึง 64 เฉด เมาส์แบบนี้มักจะสับสนกับเลเซอร์เมาส์ (laser mouse) และกลายเป็นมาตรฐานในปัจจุบันเนื่องจากความแม่นยำที่มีมากกว่าเมาส์แบบลูก กลิ้ง

ปริมาณความต้องการออปติคอลเมาส์ ส่วนหนึ่งมาจากนักเล่นเกมแนว FPS ซึ่งต้องการความแม่นยำสูงในการเล็งโดยใช้เมาส์

      สรุปการพัฒนาที่เราๆได้ใช้กันทั่วไป ก็คือเม้าส์ชนิดแบบลูกกลิ้ง และ เม้าส์แบบ optical โดยหลังจากเกิด ก็ทำให้รูปแบบการใช้เม้าส์เปลี่ยนไป และในปี 2004 ก็มีการพัฒนาเม้าส์ที่เรียกว่า เลเซอร์เมาส์ Logitech ร่วมกับ Agilent Technologies ได้นำเลเซอร์เมาส์เข้าสู่ตลาด เมาส์ชนิดนี้ใช้แสงเลเซอร์แทนแอลอีดีแบบเก่า เทคโนโลยีแบบใหม่ซึ่งสามารถเพิ่มรายละเอียดของภาพที่ถูกประมวลผลในเมาส์ได้อีก ถึง 20 เท่าเลยทีเดียว

การเชื่อต่อของเม้าส์

สมัยก่อนจะเชื่อมเม้าส์แบบ RS-232C  , ADB  , PS/2 และหลังๆพัฒนามาเป็น USB เพื่อง่ายต่อการใช้งาน ( PS/2 ค่อยข้างได้รับความนิยมมายาวนาน) โดยในยุคหลังๆเราจะได้เห็นการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ของเม้าส์ เพื่อไม่ต้องมีสายเข้ามาเพื่อใข้งานได้สะดวกมากขึ้น นั้นเอง

อนาคตหลายคนคาดการณ์ไว้ว่าเม้าส์อาจจะค่อยๆได้รับความนิยมน้อยลงไปเลื่อยๆ เพราะเข้าสู่ยุคของหน้าจอแบบ Touch screen มากขึ้นเลื่อยๆ

อ่านรายละเอียดและประวัติเกียวกับเม้าส์ เพิ่มเติมได้ที่ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

About modify 4850 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.