ทำไมต้องเรียก “ส้มตำ” ไม่เห็นมีส้มสักลูก?

ข้าวเหนียวส้มตำ
ข้าวเหนียวส้มตำ


หลายคนคงเคยกินส้มตำ และอาจจะเกิดคำถามมาหลายครั้งแล้วว่า “ส้มตำ” ทำไมต้องชื่อส้มตำ บ้างก็ได้คำถามไปแล้ว บ้างก็เกิดเป็นคำถามในการสนทนาในเรื่องตลกๆไป แต่วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันครับว่า ทำไมต้องเรียกว่า “ส้มตำ” ทั้งๆที่เวลากินก็ไม่เห็นจะมีส้มสักลูก เอามาตำตอนไหน มาหาคำตอบกันครับ

ข้าวเหนียวส้มตำ
ข้าวเหนียวส้มตำ

ส้มตำ

ส้มตำ เมื่อได้ยินคำนี้ต้องคิดถึงคนอีสาน เพราะคนอีสานนิยมกินส้มตำกันอย่างมาก และแต่นอนว่าถิ่นกำเนิดของมันก็มาจากทางฝังนั้น นั้นแหละ คำว่าส้มตำชื่อของมันก็มาจากตรงนี้ นี้เอง “ส้มตำ” เป็นภาษาท้องถิ่นของชาวอีสาน ที่จริงๆแล้วคำว่า “ส้ม” ภาษาอีสานแปลว่า “เปรี้ยว” ส่วนคำว่า “ตำ” ก็เป็นเป็นกริยา ที่แปลว่าการทำให้แตกละเอียด ด้วยการกระแทกลงไปในภาชนะอะไรสักอย่าง ในที่นี่คือครก ฉนั้นเมื่อเอาสองคำนี้มารวมกันแล้ว มันถึงแปลว่า ตำอาหารที่เปรี้ยว แน่นอนว่าเมื่อได้ยินคำว่าส้มตำ ก็ต้องเปรี้ยวปากกันอย่างแน่นอน เพราะมันก็เปรี้ยวส้มชื่อมันจริงไหม

ประวัติส้มตำ

ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีการนำมะละกอดิบมาปรุงเป็นส้มตำเป็นครั้ง แรกเมื่อใด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงที่มาของส่วนประกอบต่าง ๆ ของส้มตำ อาจได้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการสันนิษฐานถึงที่มาของส้มตำได้

มะละกอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ชาวสเปนและโปรตุเกสนำมาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคต้นกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่ชาวฮอลันดาอาจนำพริกเข้ามาเผยแพร่ในเวลาต่อมา

ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีทูตชาวฝรั่งเศสผู้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา คือ นีกอลา แฌร์แวซ (Nicolas Gervaise) และซีมง เดอ ลา ลูแบร์ พรรณนาว่าในเวลานั้นมะละกอได้กลายเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้ว และได้กล่าวถึงกระเทียม มะนาว มะม่วง กุ้งแห้ง ปลาร้า ปลากรอบ กล้วย น้ำตาล แตงกวา พริกไทย ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่ล้วนสามารถใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงส้มตำได้ ขณะเดียวกันได้เขียนว่า ในขณะนั้นสยามไม่มีกะหล่ำปลี และชาวสยามนิยมบริโภคข้าวสวย แต่ไม่มีการกล่าวถึงมะเขือเทศและพริกสด

ในภาษาลาวเรียก ส้มตำว่า ตำหมากหุ่ง (หมากหุ่งหมายถึงมะละกอ) หรือตำบักหุ่ง บางครั้งเรียกว่า ตำส้ม คำว่า ส้ม ในภาษาไทยแปลว่า เปรี้ยว คำว่า ส้มตำ จึงเป็นคำในภาษาไทยที่ถูกนำมาเรียกโดยคนลาว เครื่องปรุงทั่วไปของส้มตำลาวประกอบด้วยมะละกอสับเป็นเส้น เกลือ แป้งนัวหรือผงนัว (ผงชูรส) หมากเผ็ด (พริก) กระเทียม น้ำตาล น้ำปลา น้ำปลาแดกหรือน้ำปลาร้า หมากนาว (มะนาว) หมากถั่ว (ถั่วฝักยาว) และอื่น ๆ บางแห่งยังพบว่านิยมใส่เม็ดกระถินและใช้กะปิแทนปาแดกด้วย บางแห่งยังพบว่ามีการใส่ปูดิบที่ยังไม่ตาย และใส่น้ำปูลงไปด้วย ชาวลาวถือว่าการทำส้มตำแบบโบราณที่โรยถั่วลิสงคั่วลงไปด้วยหรือทำรสให้หวาน นำถือว่า “ขะลำสูตร” หรือผิดสูตรดั้งเดิม และผู้ตำมักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไร้ฝีมือ

About modify 4850 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.