พัดลม CPU 4 pin กับ 3 pin ต่างกันอย่างไร CPU Cooler

พัดลม CPU 4 พิน และ 3 พิน

CPU Cooler ตัว Jumper 4 พินกับ 3 พินต่างกันอย่างไร สายไฟสามเส้นกับสี่เส้น


สำหรับผู้ที่ประกอบคอมพิวเตอร์และเกิดพบปัญหา Jumper เสียบพัดลม CPU มี PIN ไม่เท่ากัน บางรุ่นบอร์ดมี 3 pin บางรุ่นบอร์ดมี 4 pin คำถามคือมันต่างกันอย่างไรระหว่าง 3 pin กับ 4 pin และมันใช้แทนกันได้หรือไม่ เรามาหาคำตอบกัน

CPU FAN

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า Pin แต่ละตัวทำหน้าที่อะไร และทำไมถึงมี 3 และ 4 PIN ที่ต่างกัน

ความหมาย PIN แต่ละ PIN ของพัดลม CPU

ช่องเสียบพัดลม CPU 3 ขา กับ 4 ขา

  1. Ground ดิน
  2. +12 V จ่ายไฟ
  3. Sensor วัดรอบ
  4. Control วัดรอบ และ ปรับรอบ

สำหรับข้อสงสัยที่หลายคนสงสัยก็น่าจะเป็นตัวที่มี 3 ขา กับ 4 ขาต่างกันอย่างไร ถ้าจะให้อธิบายก็ตามภาพและข้อมูลด้านบนก็คือตัวที่เป็นแบบ 3 ขา จะมีแค่ตัววัดความเร็วรอบ ไม่สามารถปรับปรุงหรือปรับความเร็วของพัดลมได้ เพราะมีแค่ตัววัดความเร็วเท่านั้นไม่มีขาที่ 4 ที่ทำหน้าที่ทั้งวัดรอบและปรับปรุงความเร็วได้ แต่ตัวที่มีสามขาเมนบอร์ดบางรุ่นสามารถลดความเร็วของปรับลมได้โดยผ่านการปรับกระแสจ่ายไฟ Volt แทน

แล้วบอร์ดและพัดลมที่มีช่องพัดลม CPU ต่างกันสามารถใช้งานด้วยกันได้หรือไม่

โดยปกติแล้วสามารถใช้งานเข้ากันได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบ 3 Pin ไปใช้บอร์ด 4 Ping หรือบอร์ด 4 Pin ไปใช้บอร์ด 3 Pin และอาจมีการลดความสามารถลงตามขาที่ใส่ลงไป อาทิเช่น

  • หากใส่ในเมนบอร์ดที่มี 3 ขา แต่พัดลมมี 4 PIN จะปรับรอบพัดลมโดยตรงไม่ได้ แต่อาจปรับได้ผ่านการปรับกระแสไฟแทน
  • หากใส่ในเมนบอร์ดที่มี 4 ขา แต่พัดลมเป็น 3 PIN อาจจะไม่สามารถปรับรอบพัดลมได้ เพราะเมนบอร์ดที่มี 4 ขาจะไม่ค่อยมีตัวปรับกระแฟ
  • แต่การใส่ 4 PIN to 4 PIN จะเป็นการที่ที่สุดเพราะเราสามารถปรับความเร็วพัดลม CPU ได้ตามต้องการ

พัดลม CPU 4 พิน และ 3 พิน

ส่วนใหญ่แล้วการใส่พัดลม CPU ที่มีจำนวน PIN ที่ต่างกัน มัดจะเว้น PIN ที่ 4 เอาไว้ โดยตรงเสียบให้ตรงสาย (หากไม่ตรงพัดลมอาจมีปัญหาได้)

พัดลม CPU 4 พิน และ 3 พิน

ปกติแล้วจะมีตัวล็อคของพัดลม CPU อยู่แล้วแค่หัดหน้าให้ถูกก็น่าจะสามารถใส่ได้ไม่มีปัญหา

About modify 4848 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.