ใครจะไปยกมือขึ้น “ดาวอังคาร” NASA เป็นให้ลงชื่อร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศ InSight

“ดาวอังคาร” NASA


อ่านไม่ผิดหรอกครับ มาชวนไปเที่ยวดาวอังคารจริงๆ โดยจะเดินทางไปกับยานสำรวจอวกาศที่ชื่อว่า “InSight”  ซึ่งเริ่มออกเดินทางจากโลกในเดือนพฤษภาคม2018 และจะลงจอดที่ดาวอังคารในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน

NASA (องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา) ได้เปิดเผยโปรเจค “InSight” โดยมีชื่อย่อจากชื่อโครงการสำรวจอวกาศที่ยาวเหยียดว่า “Interior Exploration using Seismic Investigations Geodesy and Heat Transport-INSIGHT”  (การสำรวจภายในโดยใช้การตรวจสอบความเคลื่อนไหวเชิงธรณีวิทยาและการส่งผ่านความร้อน)  ถูกออกแบบมาเพื่อศึกษาและสร้างความเข้าใจถึงการก่อตัวขึ้นมาและวิวัฒนาการของดาวเคราะห์ ซึ่งเป็นองค์ความรู้เป้าหมายที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์พยายามศึกษาทำความเข้าใจมานานหลายทศวรรษแล้ว

ปีนี้นี้ NASA ได้ส่งสัญญานถึงความพร้อมในการส่งยานอวกาศ  “InSight” ขึ้นสู่อวกาศเพื่อการสำรวจ และยังได้สร้างความฮือฮาให้แก่ประชาชนทั่วทั้งโลกโดยเปิดให้ลงชื่อเพื่อให้ชื่อร่วมเดินทางไปดาวอังคารกับยานในการนี้ด้วย อ่ะ!!!อย่างพึ่งงงครับ เค้าเปิดให้ลงชื่อและ NASA

จะนำรายชื่อของคนที่ลงทะเบียนไว้ทั้งหมดร่วมเดินทางไปกับยานด้วย อ่ะน่ะ อย่างน้อยชื่อเราก็ได้ไปถึงดาวอังคารเชียวนา

สนใจแล้วใช่ป่ะล่ะ สองมือล้วงกระเป๋า สองเท้าก้าวเข้ามา ไม่ต้องรีบแต่ให้ไว เดี๋ยวที่นั่งจะเต็มกันซะก่อน……NASA ได้สร้างเว็บไซต์  Send Your Name ขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนได้ร่วมลงชื่อในเหตุการประวัติศาสตร์ครั้งนี้  (Interior Exploration using Seismic Investigations, Geodesy and Heat Transport) หมดเขต 1 พฤศจิกายน 2017 ซึ่งขณะที่ผู้เขียนกำลังเขียนบทความอยู่นี้มีจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วจำนวน 964,719 ชื่อ (05-10-2017)

ลิ้งค์สมัคร

https://mars.nasa.gov/participate/send-your-name/insight/ 

 

และมีพี่น้องชาวไทยลงชื่อพร้อมเดินทางกันแล้วถึง 2,492ชื่อ (05-10-2017) เมื่อคุณลงทะเบียนเสร็จแล้วคุณก็สามารถกรอกอีเมล์ของเพื่อนๆของคุณลงไป เพื่อชวนให้เพื่อนๆมาลงชื่อเดินทางไปกับคุณด้วย

อ่ะ!!!ช้าก่อนอย่างพึ่งรีบร้อนออกไปไหน  ภายในเว็บยังมีข้อมูลดีๆเนื้อหาสาระมากมายที่เกี่ยวข้องกับยานอวกาศ “InSigh”  “ภารกิจพิชิตอวกาศ” “องค์การนาซ่า”  และ “ดาวอังคาร” เอาไว้คุณได้ศึกษาหาความรู้อีกด้วยนะครับ

หมายเหตุ :

กำหนดการเดินทางของอินไซท์ต้องล่าช้าออกไปหลายปี เนื่องจากในการทดสอบเมื่อเดือนธันวาคม 2015 พบว่าอุปกรณ์เก็บข้อมูลการสั่นสะเทือนของพื้นดินหรือ ซิสโมมิเตอร์ (ซิส) จัดสร้างโดย CNES ที่จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพสุญญากาศเกิดข้อบกพร่องขึ้น สุญญากาศรั่วไหลเข้ามาในระบบ แม้ว่าตัวอุปกรณ์จะยังสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ภายใต้สภาพพื้นผิวดาวอังคารซิสจำเป็นต้องมีห้องสุญญากาศป้องกัน เมื่อวิศวกรไม่สามารถค้นหาสาเหตุการรั่วไหลและแก้ไขได้ทันจึงจำเป็นต้องเลื่อนการเดินทางออกไป

 

เครดิต

https://mars.nasa.gov/participate/send-your-name/insight/

https://www.matichon.co.th/news/73865

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.