โฆษณามือถือ Android เด้งเอง วิธีปิดโฆษณาเด้งหน้าจอมือถือ แก้อย่างไร เกิดจากอะไร

Android LoGo

โฆษณากวนใจเด้งหน้ามือถือ Android หรือเวลาใช้งานเครื่องเปิดแอพมีโฆษณาเด้งขึ้นมา เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร


สำหรับผู้ใช้งานมือถือ Android แล้วมีปัญหามีป๊อปอัปโฆษณาเด้งกวนใจ ไม่รู้ว่าเปิดมาจากไหน และมาจากไหน แม้ไม่ได้เปิดหน้าจอใดๆ ใช้งานอยู่ดีๆ ก็มีโฆษณาเด้งขึ้นมาหน้าจอ เลยอยากทราบว่าโฆษณาดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะต้องทำอย่างไรหากมีโฆษณามากวนใจเรา

Android

ปัญหาที่มีโฆษณาเด้งขึ้นมาตอนเราใช้งานมือถือของระบบปฏิบัติการ Android จริงๆมีไม่กี่อย่าง แต่จำเป็นต้องไล่ดูและสาเหตุให้เจอ โดยสิ่งที่ต้องตรวจสอบว่าการโฆษณาเกิดขึ้มมาจากไหนบ้างมีอยู่ 3 จุดใหญ่ๆด้วยกันดังต่อไปนี้

  1. มีการติดตั้งแอปที่เป็นแอปโฆษณา
  2. ติดตั้งแอปควบคุมจัดการระบบอย่างเช่น แอปธีม จัดการไฟล์
  3. เปิดการแจ้งเตือนเบราว์เซอร์เอาไว้ และมีการกดการแจ้งเตือนจากเว็บไซต์

ตรวจสอบแอปต่างๆในเครื่องว่ามีแอพแปลกปลอมหรือไม่

ให้ไปที่การตั้งค่า > แอปพลิเคชันและการอนุญาต > ตัวจัดการแอป (เครื่องบางเครื่องอาจจะเข้าไม่เหมือนกัน บางเครื่องอาจจะต้องเข้าไปในส่วนของอื่นๆ หรือทั่วไปก่อน ถึงจะเจอเมนูจัดการแอป)

ตัวจัดการแอป Android

เมื่อเข้าไปยังหน้าแอปต่างๆภายในเครื่องแล้ว ให้ตรวจสอบแอปที่หน้าสงสัย แอปอาจเป็นชื่อแปลกๆ ภาษาที่ไม่คุ้นเคย หรือมีเป็นแอปที่เราไม่รู้จัก สามารถเลือกลบแอปดังกล่าวที่น่าสงสัยออกไปได้เลย ส่วนใหญ่เราจะสามารถได้หมดทุกแอปที่เราต้องการ ส่วนแอปไหนที่เป็นแอประบบ มันจะไม่สามารถลบได้อยู่แล้ว เต็มที่ก็ได้แค่ถอดถอนการอัปเดต ถ้าขึ้นว่า ถอดถอนการอัปเดตแอปไหนแสดงว่าแอปนั้นเป็นแอปของระบบไมม่สมควรลมหรือทำการใดๆ

จัดการแอปพลิเคชัน Android

uninstall app andnroid

การเลือกลบแอปที่น่าสงสัยอาจต้องใช้ความสังเกตสักหน่อยเพราะบอกเจาะจงแอปไม่ได้เพราะมันมีหลายแอปมากที่ทำตัวเป็นโฆษณาน่าลำคาญ บทความนี้คงได้แค่คำแนะนำให้สังเกตเท่านั้น

ตรวจสอบแอประบบ

แอประบบถือเป็นแอปทีได้สิทธิในควบคุมเครื่องเราได้มากสุด ถ้าตัวแอปเองมันตัวโฆษณามันจะสร้างความลำคาญให้เราได้ในทุกๆรูปแบบ ฉนั้นก่อนดาวน์โหลดและอนุญาตแอปอะไร ให้อ่านสิทธิที่แอปขอให้ดีก่อนติดตั้ง เราสามารถตรวจสอบหรือตั้งค่าแอประบบได้คือ ให้เข้าไปยังหน้า แอปพลิเคชันและการอนุญาต คุณจะเห็นเมนูที่เขียนว่า การตั้งค่าแอประบบ

แอปพลิเคชันและการอนุญาต

การตั้งค่าแอประบบ Android

การตั้งค่าแอประบบ Android

ตรวจแอปที่น่าสงสัย หากเป็นแอปที่แปลกปลอมให้ทดสอบลบแอปดังกล่าวออก หากลบไม่ได้คงต้องดูวิธีการลบแอประบบที่ไม่สามารถลบได้ออกไป

ปิดการแจ้งเตือนเบราวเซอร์ในมือถือ

การแจ้งเตือนก็มีส่วนทำให้เกิดโฆษณาขึ้นมาได้ในมือถือยกตัวอย่างเช่น Chrome ในมือถือให้เปิด Chrome ขึ้นมา ไปที่จุดสามจุดด้านบน > การตั้งค่า > การแจ้งเตือน หากมีการเปิดการแจ้งเตือนอยู่ ให้ทำการปิดการแจ้งเตือนดังกล่าว ออก หรือคุณจะเข้าไปดูว่ามีการแจ้งเตือนหน้าเว็บไซต์ไหนไว้บ้าง และเลือกปิดหรือปิดกั้นการแจ้งเตือนเฉพาะได้

การแจ้งเตือน chrome android

ถอดถอนการติดตั้ง Android System Webview และอัปเดตใหม่

ปัญหาอาจเกิดขึ้นจาก android system webview ถูกแก้ไขหรือมีปัญหาให้ทดสอบถอดถอนการติดตั้งแอปดังกล่าวออกจากระบบ (จะไม่ถอดถอนได้หมดแค่ถอดการอัปเดตล่าสุด) จากนั้นให้กดอัปเดตใหม่

Android System WebView ออกก่อน โดยให้เข้าไปที่ Settings > Apps >  Show system apps > ค้นหา Android System WebView > เลือก Force Stop หรือ Uninstall Updates

ในบางมือถืออาจเข้าไม่เหมือนกัน แต่ในลักษณะนี้คือ ตั้งค่า > ตั้งค่าเพิ่มเติม > ตัวจัดการแอพ > แตะที่ปุ่มเพิ่มเติมบนขวามือ > เลือก แสดงระบบ มองหา Android System WebView แล้วสั่ง บังคับหยุด หรือ ถอดการติดตั้งอัปเดต (หากใครไม่มีอย่างหลักก็กดแค่บังคับหยุด) ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

การตั้งค่าเพิ่มเติม Android

ตัวจัดการแอป Android

แสดงแอประบบ Androida

Android System WebView

Force Stop หรือ Uninstall Updates แอป Android

หรือวิธีง่ายๆสำหรับใครที่หาไม่เจอให้เข้า Google Play Store แล้วค้นหา Android System WebView ถอดการอัปเดตในหน้านั้นก็ได้

โดนเปลี่ยน DNS

หากใครกำลังเจอปัญหาในลักษณะดังกล่าวอยู่ มีความเป็นไปได้สูงว่าคุณกำลังโดนเปลี่ยนทิศทางในการเข้าเว็บไซต์ หรือกำลังโดนเปลี่ยน DNS ซึ่งทำให้ทิศทางการเข้าเว็บไซต์ผิดแปลกไปจากที่ควรจะเป็น (อ่านรายละเอียดเรื่อง DNS)  

เรื่องการถูกเปลี่ยน DNS ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเก่าที่มีมานานมากแล้ว ส่วนใหญ่ผู้ใช้งานที่โดนเปลี่ยน DNS มักโดนผ่านช่องทางการโจมตีจากเร้าเตอร์ เพราะเป็นจุดที่โจมตีได้ง่าย หากผู้ใช้งานไม่เข้าใจและป้องกันไม่ดีพอ (อ่านข่าวเก่าเกียวกับการโจมตีเร้าเตอร์โดยการเปลี่ยน DNS)

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้านเรา มักตังรหัสผ่านการเข้าใช้งานเร้าเตอร์แบบง่ายๆ ประมาณว่า user:admin password:admin หรือตัวเลข 4-6 หลัก การโจมตีเร้าเตอร์เลยเป็นการสุ่มรหัสผ่านสิทธิ์ในการเข้าไปแก้ไข หรือแม้แต่การตั้งรหัส wifi แบบง่ายๆ อาจทำให้ผู้ไม่หวังดีเข้าสู่เร้าเตอร์เราได้ผ่านวงแลนเดียวกัน และเข้าไปแก้ไขเร้าเตอร์ได้ในที่สุด

นี้เป็นสาเหตุหลักๆ ที่เวลาเราใช้งานเว็บไซต์อ่านข่าว อาจเกิดอาการ redirect ไปยังเว็บไซต์หรือหน้าที่ผู้ไม่หวังดีกำหนดเอาไว้

หากใครกำลังเจอปัญหาดังกล่าว แล้วเกิดความลำคาญใจ จนไล่ลบแอปเพื่อตัดปัญหา หากปัญหาเป็นดังที่กล่าวมาข้างต้น ปัญหาจริงๆ ไม่ได้มีแค่ความลำคาญอย่างเดียวแน่นอน ปัญหานี้รวมไปถึงเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคุณด้วย เพราะการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง DNS ไม่ใช้เรื่องเล็ก ผู้ไม่หวังดีสามารถแก้ไขเว็บไซต์ เปลี่ยนทิศทางไปยังเว็บปลอม เพื่อหลอกล่อ เราต่างๆนาๆได้ อย่างง่ายดาย เพราะสามารถชี้ไปที่ไหนก็ได้ตามต้องการ เช่นเราเข้าเว็บไซต์หนึ่งที่ได้รับความนิยม แต่จริงๆแล้วอาจชี้ไปยัง host อื่น แค่หน้าตาเหมือนกัน คุณอาจโดน Phishing  โดยไม่รู้ตัว

หากคุณเจอปัญหาดังกล่าว ให้รีบตรวจสอบการตั้งค่า DNS ของเร้าเตอร์ของคุณว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หากไม่รู้วิธีเข้าเร้าเตอร์จำเป็นต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของคุณ เปลี่ยนรหัส wifi เปลี่ยนรหัสเข้าเร้าเตอร์ใหม่ให้ยากต่อการคาดเดา ทุกอย่างที่กล่าวมาสำคัญมาก หากไม่มีความรู้ให้ติดต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของคุณให้ช่วยในการตั้งค่า

 

นี้เป็นเพียงการตรวจสอบพื้นฐานหากมือถือ Android ของคุณมีหน้าต่างเด้งโฆษณากวนใจ ซึ่งสรุปสาเหตุและการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเอาไว้ ให้ลองนำไปตรวจสอบและแก้ไขกันดู

About modify 4842 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.