ตั้งค่าความปลอดภัย Gmail จะทำอย่างไรให้จีเมลของคุณปลอดภัยขึ้น

รักษาความปลอดภัย Gmail

ทำอย่างไรให้ Gmail อีเมลของเราปลอดภัยจากการถูกแฮคเกอร์โจมตี


อีเมลถือเป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่งสำหรับการก้าวเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต เพราะอีเมลจะถูกผูกกับบัญชีในสังคมออนไลน์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดีย เกม บัญชีทางการ บัญชีการเงิน และอื่นๆ ฉนั้นมันจึงค่อนข้างมีความสำคัญมากๆ หากบัญชีดังกล่าวเป็นบัญชีที่มีค่า ที่เราต้องการความปลอดภัยสูง การจะเข้าสู่ระบบของบัญชีสำคัญๆของเรา แฮคเกอร์ส่วนใหญ่จะเลือกที่จะเข้ายึดบัญชีอีเมลของเราก่อนเป็นอันดับต้นๆ ฉนั้นความปลอดภัยของอีเมล จึงมีความสำคัญมาก ที่เราต้องรักษาให้ดี

วันนี้เราจะมาถึงเรื่องของการรักษาความปลอดภัยของจีเมล ระบบฟรี E-mail จาก Google ที่ถือว่าเป็นอีเมลที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี และเป็นที่นิยมเป็นอันดับต้นๆของโลก ว่าหากเราต้องการจัดการระบบด้านความปลอดภัยของ Gmail เราควรเริ่มต้นจากอะไร มีอะไร และขั้นตอนการตั้งค่ามีอะไร เรามาทำความเข้าใจกัน

securitychec gmail

สำหรับใครที่ใช้งานบัยชี Gmail คุณสามารถเข้าสู่ระบบการใช้งาน Gmail ได้ผ่าน Google Account ได้โดยตรงหรือจะเข้าผ่าน Gmial.com ก็ได้ เมื่อทำการเข้าสู่ระบบจีเมลเรียบร้อยแล้วให้เข้าไปยังหัวข้อ “บัญชี Google” ส่วนใหญ่หัวข้อนี้จะอยู่ที่รูปโปรไฟล์บริเวณด้านบนขวามือในเกือบทุกบริการของ Google แต่หากหาไม่เจอให้คลิกที่ลิงค์ myaccount.google.com จะเป็นหน้าของการตัดการบริหารบัญชี Google ของคุณ

my account google

เมื่อคุณเข้าสู่หน้าของ My Account ของ Google คุณจะได้หน้าตาดังภาพด้านบน ด้านซ้ายมือจะเจอเมนูต่างที่เกี่ยวกับการจัดการบริหารบัญชี Google ของคุณ จะมีส่วนที่คุณต้องศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยก็คือเมนู “ความปลอดภัย” ดังลูกศรชี้ด้านบน หรือสามารถเข้าที่ลิงค์ตรงๆหลังจากเข้าสู่ระบบแล้วได้ที่ myaccount.google.com/security ก็จะไปยังหน้า “ความปลอดภัย บัญชี Google” ทันที

เมนูความปลอดภัย Gmial มีอะไรบ้าง

หัวข้อหลักของเมนูความปลอดภัยมีดังต่อไปนี้

  • การตรวจสอบความปลอดภัย (จะเป็นเมนูที่เอาไว้ตรวจสอบว่า บัญชีของเรามีการตั้งค่าความปลอดภัยที่ดีพอหรือไม่)
  • การลงชื่อเข้าใช้ Google (หัวข้อนี้จะมีหัวข้อด้านความปลอดภัยย่อยออกมา)
    1. รหัสผ่าน (เมนูไว้เปลี่ยนรหัสผ่าน)
    2. การยืนยัน 2 ขั้นตอน (เป็นเมนูที่เราต้องศึกษา เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยโดยตรง)
    3. รหัสผ่านสำหรับแอพ (รหัสผ่านสำหรับแอปช่วยให้คุณลงชื่อเข้าใช้บัญชี Google ได้จากแอปในอุปกรณ์ที่ไม่รองรับการยืนยันแบบ 2 ขั้นตอน)
  • วิธีที่เรายืนยันตัวตนของคุณได้ (เป็นการผูกอีเมลกับสือที่สามารถยืนยันความเป็นเจ้าของบัญชีของเราได้ คือ เบอร์โทร และอีเมล)

  • กิจกรรมการรักษาความปลอดภัยล่าสุด (เป็นกิจกรรมที่เราทำล่าสุดเกี่ยวกับบัญชี)
  • อุปกรณ์ของคุณ (บอกว่ามีการลงชื่อเข้าใช้บัญชีนี้ ในอุปกรณ์ใดบ้าง)
  • แอปของบุคคลที่สามที่มีสิทธิ์เข้าถึงบัญชี (บอกว่าเรากำหนดให้แอพไหนมีสิทธิเข้าถึงบัญชีของเราได้ พวกเอาอีเมลไปสมัครเกม หรือแอพ เพื่อใช้บริการ)
  • การลงชื่อเข้าใช้เว็บไซต์อื่น (เป็นบริการการเชื่อมต่อบัญชีกับบัญชีอื่นและเครื่องมือจัดการรหัสผ่าน

หลักๆที่กล่าวมาด้านบน สิ่งที่เราต้องศึกษาและควรรู้คือ การตรวจสอบความปลอดภัย, การลงชื่อเข้าใช้ Google (ทั้ง 3 หัวข้อ), การยืนยัน 2 ขั้นตอน, วิธีที่เรายืนยันตัวตนของคุณได้, อุปกรณ์ของคุณ ซึ่งเราจะมาพูดกันในหัวข้อที่กล่าวมาทั้งหมด เกี่ยวกับวิธีการใช้งานและการตั้งค่าดังนี้

การตรวจสอบความปลอดภัย

การตรวจสอบความปลอดภัย security checkup google

เมนูการตรวจสอบความปลอดภัย จะปรากฏขึ้นเมื่อ Google พบว่าบัญชีของเรายังขาดมาตรการความปลอดภัยที่ดีพอ และจะขึ้นแจ้งเตือนว่า “พบปัญหาด้านความปลอดภัย” เพื่อให้เราแก้ไขให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยกดที่เมนู “รักษาความปลอดภัยให้บัญชี” คุณจะพบหน้าต่าง การตรวจสอบความปลอดภัย รายงานว่าคุณควรทำขั้นตอนอะไรบ้าง และขั้นตอนไหนที่ทำไว้แล้ว

จากภาพด้านบนจะเป็นเมนูการ list ของรายการที่ควรจะทำ หากรายการไหนมีเครื่องหมายถูกสีเขียวแสดงว่าคุณได้ทำขั้นตอนนั้นไปแล้ว แต่หากยังปรากฏว่ายังเป็นสีเหลืองพร้อมกับเครื่องหมายตกใจ แสดงว่า Google แนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนหรือแก้ไข ก็ให้คลิกที่เมนูดังกล่าว แล้วเริ่มทำตามคำแนะนำของ Google ได้ทันที ซึ่งถือว่าเป็นการ ป้องกันบัญชีเบื้องต้นที่ดีในระดับหนึ่ง ที่ Google แนะนำ

การลงชื่อเข้าใช้ Google

การลงชื่อเข้าใช้ Google

รหัสผ่าน

รหัสผ่านของบัญชีจะอยู่ในหมวกหมู่หลักของ การลงชื่อเข้าใช้ ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ เพราะมันเป็นรหัสของบัญชีของเรา หรือพูดง่ายๆว่า หากคุณต้องการจะเปลี่ยนรหัสผ่าน ก็ให้เข้ามาที่เมนูดังกล่าว หากคุณสังเกตเมนูรหัสผ่านจากภาพด้านบน จะเห็นเวลาแสดงอยู่ มันคือสถานะบอกว่า มีการเปลี่ยนแปลงรหัสผ่านล่าสุดเมื่อไหร่ โดยปกติจะบอกวันเดือน และปี แต่หากขึ้นแค่เวลานั้นหมายความคุณเพิ่งเปลี่ยนรหัสในวันที่เข้าใช้งาน หากต้องการเปลี่ยนรหัสผ่าน Gmail ให้คลิกที่เมนูดังกล่าว คุณจำเป็นต้องใส่รหัสผ่านปัจจุบันของคุณ  เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของบัญชี (ภาพด้านล่าง)

เปลี่ยนรหัสผ่าน Gmail

เมื่อยืนยันความเป็นเจ้าของบัญชีแล้ว จะเข้าสู่หน้า ของการกำหนดรหัสผ่านใหม่ 2 ช่องเหมือนกัน โดยกำหนดรหัสผ่านที่มีตัวเลขหรือตัวอักษร ใช้อย่างน้อย 8 อักขระ (ควรใช้ตัวเลขผสมตัวอักษร เพื่อความปลอดภัย สามารถใช้เครื่องหมายพิเศษได้เพื่อความยากในการคาดเดา เช่น * + . S s เป็นต้น)

การยืนยันแบบสองขั้นตอน ***

เมนูดังกล่าวถือว่าเป็นเมนูที่มีความสำคัญมาก สำหรับบัญชีที่ต้องการความปลอดภัยสูง เพราะเป็นการยืนยันตัวตนก่อนจะเข้าสู่ระบบ 2 ขั้นตอน กล่าวคือ หากเราแค่ใส่อีเมล และรหัสผ่าน ถือว่าเป็นการเข้าสู่ระบบแบบ 1 ขั้นตอน แต่หากคุณชื่องานฟีเจอร์ดังกล่าว หลังจากที่คุณใส่อีเมลและรหัสผ่านแล้ว คุณจำเป็นต้องยืนยันเพิ่มอีก 1 ขั้นตอน จึงเป็นที่มาของคำว่า การยืนยันแบบสองขั้นตอน

หากใครขึ้นลักษณะดังภาพด้านบน แสดงว่าคุณยังไม่ได้เปิดใช้งานยืนยันแบบสองขั้นตอน ให้คลิกที่ “การยืนยันแบบสองขั้นตอน”  กดต่อไป ใส่รหัสยืนยันความเป็นเจ้าของ ใส่เบอร์โทรเพื่อรอรับ SMS (ภาพด้านล่าง)

ยืนยันการใช้สองขั้นตอน Google

จะมี SMS ส่งมาให้เรา ให้เราใส่รหัส SMS ลงในช่องที่กำหนด หากเสร็จให้เลือก “เปิด” แบบภาพด้านล่าง

ยืนยันการใช้สองขั้นตอน Google

คุณจะทำการเปิดการยืนยันแบบสองขั้นตอนในขั้นตอนแรกสำเร็จแล้ว ทุกครั้งที่คุณเข้าสู่ระบบ (หากไม่ใช้จากอุปกรณ์เดิมๆ) คุณจำเป็นต้องยืนยันอีกหนึ่งขั้นตอนหลังใส่รหัสผ่านคือการรับ SMS จากมือถือมาใส่อีกขั้นตอนเสมอ

ดังที่กล่าวมาแล้วว่าการยืนยันแบบสองขั้นตอน ไม่ได้มีแค่การส่ง SMS เท่านั้น ยังมีในรูปแบบอื่นๆ อีก แต่การจะเปิดใช้งานยืนยันสองขั้นตอนอย่างแรกที่ต้องทำคือกำหนดเบอร์โทรเสียก่อน หลังจากเปิดกำหนดส่ง SMS แบบ 2 ขั้นตอนแล้ว คุณจะมีเมนูฟีเจอร์เสริมของการยืนยัน 2 ขั้นตอนเพิ่มขึ้นมาดังต่อไปนี้

  • รหัสสำรอง เป็นรหัสที่คุณสามารถนำไปใช้งานได้เหมือนรหัสจริงของคุณ แต่รหัสดังกล่าวจะสามารถใช้งานได้ ครั้งเดียวเท่านั้น ข้อดีของมันคือ เมื่อคุณไปเข้าสู่ระบบในเครื่องใดๆ ที่ไม่ใช้อุปกรณ์ของคุณ คุณอาจจะต้องใส่รหัสผ่านที่เป็นรหัสสำลองใช้งานไป เพื่อที่รักษารหัสจริงของคุณเอาไว้ ไม่ให้เกิดการดักรหัสผ่าน หากเครือ่งที่คุณใช้ มีความเสียงด้านความปลอดภัย
  • Google Prompt จะคล้ายกับการยืนยันด้วย SMS ในมือถือ แต่อันนี้จะสะดวกกว่าคือรับข้อความแจ้งของ Google บนโทรศัพท์ จากนั้น เพียงแค่แตะใช่ เพื่อลงชื่อเข้าใช้ ได้ทันที (ส่วนตัวก็ยังชอบยืนยันด้วยการกรอกตัวเลขมากกว่า)
  • แอป Authenticator เป็นอีกหนึ่งช่องทางของการยืนยันตัวตน หากคุณมีแอพ Authenticator แอพสร้างรหัสยืนยันตัวตน แบบสุ่มไปเลื่อยๆ เมื่อเราจะเข้าสู่ระบบให้เข้าแอพ เพื่อดูรหัสยืนยันสองขั้นตอน สามารถดาวน์โหลดแอพได้จาก
    Android
    iOS

    ขั้นตอนเพิ่มยืนยันสองขั้นตอนของแอพ Authenticator ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร แค่ดาวน์โหลดแอพมา เลือกตั้งค่าบัญชี > เลือกสแกนบาร์โค้ด มาแสกนโค้ด ที่ได้จากการเพิ่มในบัญชี
  • คีย์ความปลอดภัย เมนูดังกล่าวเป็นถือเป็นการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง ทีใช้อุปกร์เสริมเพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น คีย์ความปลอดภัยเป็นอุปกรณ์ทางกายภาพขนาดเล็กที่ใช้สำหรับการลงชื่อเข้าใช้ อุปกรณ์นี้จะเสียบเข้ากับพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์ (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ใช้คีย์ความปลอดภัยในการยืนยันแบบ 2 ขั้นตอน)

** หมายเหตุ ปกติแล้ว หากคุณเปิด การยืนยันแบบสองชั้นตอน ทั้งเบอร์โทรด้วย SMS และ แอพ Authenticator ค่าเริ่มต้นของคุณจะถูกถามด้วย แอพ Authenticator เสมอ **

วิธีที่เรายืนยันตัวตนของคุณได้

ส่วนนี้มีความสำคัญสำหรับการกู้คืนอีเมล หรือยืนยันความเป็นเจ้าของ ของบัญชี ถึงจะเป็นส่วนที่ไม่มีอะไรซับซ่อนมาก แต่ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญอีกหนึ่งส่วนที่หลายคนมองข้าม เพราะหากคุณจำรหัสผ่านไม่ได้ โดนแฮคหรืออื่นๆ เมนูนี้จะเป็นเมนูที่สำคัญมาก โดยเมนูดังกล่าวจะมี 2 ส่วนที่สำคัญๆได้แก่ เบอร์โทรศัพท์สำรอง และอีเมลสำรอง คุณสามารถแก้ไข และกำหนดได้ตรงนี้

อีเมลสำรอง และเบอร์โทรสำรอง Gmail

 

อุปกรณ์ของคุณ

หากคุณสงสัยว่าบัญชีของคุณถูกแอบใช้ หรือมีการเข้าสู่ระบบจากอุปกรณ์อื่น คุณสามารถตรวจสองหรือดูได้เลยจากเมนูดังกล่าว จะรายละเอียดรายละเอียดที่มีการลงชื่อเข้าใช้บัญชีของเราจากอุปกรณ์อะไรบ้าง

ในหัวข้อนี้จะบอกแค่ว่าบัญชีของเราถูกลงชื่อเข้าใช้ด้วยอุปกรณ์ใดบ้าง แต่หากต้องการดูว่ามีเครื่องใดลงชื่อใช้งานอยู่บ้าง ให้ไปตรวจสอบที่ การตรวจสอบความปลอดภัย ในหัวข้อด้านบนในส่วนของ อุปกรณ์ของคุณ

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นหัวข้อสำคัญๆ ที่จำเป็นต่อการตั้งค่าการรักษาความปลอดภัยของบัญชีของคุณ แต่จริงๆแล้ว ทุกหัวข้อล้วนแต่มีความสำคัญทั้งนั้น ให้ลองศึกษาและลองใช้งานดู เพราะเมนูเป็นภาษาไทยอ่านเข้าใจง่าย คงไม่อยากอะไรที่จะศึกษา หากคุณต้องการความปลอดภัยของบัญชี Gmail ของคุณ

บทความที่เกี่ยวข้อง

About modify 4848 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.