วันสตรีสากลปี 2023 Google Doodle ประจำปีในวันนี้ร่วมเฉลิมฉลองวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2566

วันสตรีสากลปี 2023

วันสตรีสากลปี 2023 Doodle ประจำปีในวันนี้ร่วมเฉลิมฉลองวันสตรีสากลปี 2023


วันนี้ (8 มีนาคม 2566) Google เปลี่ยน logo หรือ Google Doodle ฉลองวันสตรีสากล (International Women’s Day)

วันสตรีสากลปี 2023

วันสตรีสากลเป็นการเฉลิมฉลองในวันที่ 8 มีนาคมของทุกปีทั่วโลก และเป็นจุดสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี

หลังพรรคสังคมนิยมอเมริกันจัดงานวันสตรีขึ้นในนิวยอร์กซิตีเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 1909 ผู้แทนชาวเยอรมัน คลารา เซตคิน, เคท ดันเกอร์, พอลา เธียด และคนอื่น ๆ ได้เสนอแก่งานสัมมนาสตรีสังคมนิยมสากล ปี 1910 ให้มี “วันสตรีเป็นพิเศษ” จัดขึ้นในทุก ๆ ปี ภายหลังสตรีจำนวนมากทุกข์ทนภายใต้การปกครองของโซเวียตรัสเซียในปี 1917 วันที่ 8 มีนาคม ได้กลายเป็นวันหยุดทางการของที่นั่น นับแต่นั้นมา วันสตรีได้เป็นที่เฉลิมฉลองในบรรดากลุ่มเรียกร้องสังคมนิยมและประเทศคอมมิวนิสต์จนกระทั่งในราวปี 1967 ที่ซึ่งกลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรีได้เริ่มนำวันนี้มาใช้ สหประชาชาติได้เริ่มฉลองวันสตรีสากลครั้งแรกในปี 1977

สัญลักษณ์รูปกำปั้นและสัญลักษณ์วีนัส (“ผู้หญิง”) สัญลักษณ์ที่ปรากฏใช้ในสตรีนิยมระลอกสอง
สัญลักษณ์รูปกำปั้นและสัญลักษณ์วีนัส (“ผู้หญิง”) สัญลักษณ์ที่ปรากฏใช้ในสตรีนิยมระลอกสอง

 

ประวัติ วันสตรีสากล

ประวัติความเป็นมา ของ “วันสตรีสากล” เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400)

จากนั้นในปี ค.ศ.1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้คลารา เซทคิน นักการเมืองสตรีสังคมนิยมชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของคลารา เซทคิน และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า “ขนมปังกับดอกกุหลาบ” ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง

จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย

ที่มา – Google, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

About modify 4854 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.