วิธีตั้งค่าค้นหาด้วยเสียง Google Search ภาษาไทย

Speak Now Listening Google Search Voice

สำหรับผู้ที่ต้องการให้ Google Search สามารถค้นหาด้วยเสียงเป็นภาษาไทยได้


สำหรับผู้ใช้งานเว็บค้นหาอย่าง Google Search ในบางครั้งเราต้องการใช้งานคำสั่งเสียงในการค้นหา ซึ่ง google มีรูปแบบให้เราสั่งการด้วยเสียงในการค้นหาได้ โดยที่ไม่ต้องพิมพ์ แต่หลายคนอาจติดปัญหาที่ว่าเราพูดเป็นภาษาไทย แต่เวลาคำค้นหาที่ได้จากเสียงออกไปไม่เป็นคำไทย บทความนี้จะสอนเทคนิคเล็กๆน้อยในการใช้งานค้นหาด้วยเสียงของ Google Search ตั้งค่ากันได้ง่ายๆดังต่อไปนี้

Google Search Voice

ปกติแล้วหากต้องการใช้งานค้นหาด้วยเสียง สามารถเลือกที่เมนูรูปไมโครโฟนข้างๆช่องค้นหาได้ดังภาพด้านล่าง

ค้นหาด้วยเสียง Google เลือกไมโครโฟน

ก็จะปรากฏให้เราพูดเพื่อเป็นคำค้นหาที่เราต้องการจะค้นหา แต่หากใครกดไปแล้วข้อความไม่ได้ขึ้นเป็นภาษาไทยว่า “กำลังฟัง” คำพูดที่เราพูดไปอาจจะไม่เป็นภาษาไทยก็ได้ ดังภาพด้านล่าง

Speak Now Listening Google Search Voiceหากข้อความขึ้นแบบภาพด้านบนคือ “Speak Now” หรือ “Listening…” แสดงว่าสถานะตอนนี้กำลังรองรับการพูดภาษาอังกฤษอยู่ ภาษาของคำพูดนี้จะเป็นตัวบ่งบอกว่ากำลังรองรับภาษาไหนอยู่ ซึ่งหากเราพูดเป็นภาษาไทยลงไป ระบบก็จะคิดว่าเรากำลังพูดภาษานั้นๆ มันก็จะเอาคำพูดของเราไปหาคำในภาษานั้นมาแทน อย่างในตัวอย่างเป็นภาษาอังกฤษ แน่นอนว่ามันจะไม่เป็นคำไทย ทั้งๆทีเราพูดไทยก็ตาม

ปัญหาข้อนี้แก้ไขไม่ยากเพียงแค่เข้าไปเปลี่ยนภาษาของการค้นหาให้เป็นภาษาไทยก็จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้โดยการตั้งค่าดังต่อไปนี้

หน้าแรกของ Google > Settings (การตั้งค่า) > Search settings (การตั้งค่าการค้นหา) > Region settings (การตั้งค่าภูมิภาค)

Google languages setting

ด้านซ้ายมือคุณจะเจอเมนูที่เขียนว่า languages (ภาษา) ให้เลือกภาษาที่คุณต้องการให้แสดงในเมนูต่างๆในหน้าการค้นหา

ปกติแล้วหากเราเข้าสู่ระบบด้วยบัญชี Google แล้วระบบจะจดจำกันตั้งค่าของเราทั้งหมดในบัญชี แม้ว่าจะใช้กับอุปกรณ์ใดๆ ก็ตามใช้การตั้งค่านี้เป็นค่าเริ่มต้นเสมอ ในรูปแบบมือถือก็เหมือนกัน ให้ตั้งค่าในระบบด้วยการเปลี่ยนภาษา หรือเข้าจากเบราว์เซอร์ Chrome หรืออื่นๆแแล้วลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชี Google การตั้งค่าก็จะทำได้ในลักษณะเดียวกัน

setting google search mobile

About modify 4850 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.