Junction คืออะไร (CPU Junction Temperature)

CPU

ความหมายของ CPU Junction Temperature


สำหรับใครที่ใช้งาน CPU ของคอมพิวเตอร์ อาจจะเคยดูสเปคของ CPU แล้วไปสดุดกับข้อความของสเปค CPU ตรงคำว่า  “TJUNCTION 100°C” หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วไอ้คำว่า Junction มันคืออะไร และมีความหมายอย่างไร จำเป็นอย่างไร

CPU Mainboard RAM

CPU Junction Temperature คืออะไร

คำจำกัดความสั้นๆของ Junction Temperature ก็คือ อุณหภูมิสูงสุดที่ยอมรับได้ของโปรเซสเซอร์ กล่าวคือมันคือ อุณหภูมิสูงสุดที่ ผู้ผลิตกำหนดเอาไว้ว่ามันจะทำงานได้สูงสุดได้ที่ Junction Temperature กำหนด หากเกินไปกว่านี้ อาจจะลดความสามารถของ CPU ลง ทำให้ CPU ทำงานน้อยลง เพื่อลดความร้อนของ CPU ลง หรืออธิบายง่ายๆว่า เมื่อไหร่ที่อุณหภูมิมาถึงจุดที่กำหนด ของ CPU รุ่นนั้นๆ มันจะทำงานได้น้อยลง พอมันทำงานน้อยลงก็จะเย็นลง เพื่อปกกันการทำงานหนักของ CPU จนอาจสร้างความเสียหายได้ พอมันเย็นลงมาถึงจุดที่ต่ำกว่า Junction ถึงจะกลับมาทำงานด้วยความสามารถปกติ

หากใครสามารถอยากทราบว่า CPU รุ่นนั้นๆมี Junction Temperature อยู่ที่เท่าไหร่ ก็สามารถดูที่สเปคของ CPU ได้ยกตัวอย่างเช่น CPU i7 8700K สามารถเข้าไปดูได้คุณจะเจอ “T JUNCTION 100°C” 

JUNCTION

แต่โดยปกติแล้วเรื่องของ Temperature หรือ อุณหภูมิ จะมีจุดที่เมื่อถึงความร้อยที่กำหนดเครื่องจะหยุดทำงานหรือเครื่องดับไป จะมากกว่า Junction Temperature ช่วงหนึ่ง อาจอยู่ที่ประมาณ 105°C – 115°C อันนี้จะแตกต่างจาก Junction เพราะถ้าเป็นแค่ Junction จะแค่ลดการทำงานลด แต่หากเป็นความร้อนที่เกิดขีดจำกัด เครื่องจะดับไปทันทีแทนการลดความสามารถ (แต่เมนบอร์ดและ CPU บางรุ่นก็ไม่ดับอันนี้ต้องระวังให้ดี)

เรื่องความร้อนของ CPU มีความสำคัญเป็นอย่างมากของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ควรตรวจสอบความร้อนของเครื่องอยู่เสมอ หากเครื่องมีอาการผิดปกติ เช่น เครื่องรีสตาร์ทเองบ่อยๆ หรือเครื่องค้างกระตุก เมื่อทำงานหนักไปได้สักระยะ อาจต้องเช็คอุปกรณ์ที่ช่วยระบายความร้อนของ CPU ไม่ว่าจะเป็นเรื่องซิงค์ระบายความร้อน พัดลมระบายความร้อนของ CPU ซิลิโคน หรือตำแหน่งที่ตั้งของเคส พวกนี้ล้วนช่วยเรื่องความร้อนของเครื่องได้ดี

About modify 4840 Articles
สามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้อย่างอิสระ โดยกล่าวถึงแหล่งที่มา เป็นลิงค์กลับมายังบทความนั้นๆ บทความอาจมีการพิมพ์ตกเรื่องภาษาไปบ้าง ต้องขออภัย พยามจะพิมพ์ผิดให้น้อยที่สุด (ทำเว็บคนเดียวไม่มีคนตรวจทาน) บทความที่สอนเรื่องต่างๆ กรุณาอ่านบทความให้เข้าใจก่อนโพสต์ถาม ติดตรงไหนสามารถถามได้ที่โพสต์นั้นๆ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.